Company registration

How to register a company for newbies !

ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่เริ่มมีความคิดที่อยากเป็นเจ้าของกิจการ จึงเริ่มหันมาทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้นและหากถึงจุดที่ธุรกิจมีการเติบโตหรือต้องการที่จะขยายธุรกิจ การจดทะเบียนบริษัทจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการขยายพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและมีความน่าเชื่อถือขึ้น วันนี้ทาง FDI Accounting  ขอแนะนำวิธีจดทะเบียนบริษัทง่ายๆมาเพื่อให้ทุกท่านเข้าใจกระบวนการกันค่ะ วิธีจดทะเบียนบริษัท 1. คิดชื่อบริษัทสำหรับการจดทะเบียน อีกหนึ่งวิธีจดทะเบียนบริษัทสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้คือ “การตั้งชื่อบริษัท” ควรจะตั้งชื่อที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่น เป็นที่จดจำสำหรับลูกค้า และก่อนจะตั้งชื่อบริษัท ควรค้นหาข้อมูลให้ชัดเจนก่อนว่า ชื่อบริษัทที่เรากำลังจะจดทะเบียนก่อตั้งอย่างถูกต้องนี้ มีความคล้ายคลึงหรือชื่อซ้ำกับบริษัทที่จดทะเบียนไว้ก่อนหน้านี้หรือไม่ 2. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ มีข้อมูลที่จำเป็นต้องรายงานในหนังสือบริคณห์สนธิมีดังนี้ ชื่อของบริษัทสำหรับการจดทะเบียนบริษัท ตำแหน่งที่ตั้งของบริษัทจำกัด วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัทจำกัด ทุนจดทะเบียนบริษัทจำกัด ข้อมูลผู้ก่อตั้งบริษัท โดยจำเป็นต้องมีอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป ข้อมูลผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด ข้อมูลของพยาน โดยต้องการอย่างน้อย 2 คน รายละเอียดการประชุมสำหรับการจัดตั้งบริษัทจำกัด เช่น กฎข้อบังคับของบริษัท, คณะกรรมการของบริษัท เป็นต้น 3. จัดให้มีการจองซื้อหุ้นบริษัทและนัดประชุมผู้ถือหุ้น ในวิธีจดทะเบียนบริษัทขั้นตอนนี้ ผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ก่อตั้งเท่านั้นโดยทุกคนต้องถือคนละ 1 หุ้นหรือมากกว่า จากนั้นเมื่อทำการขายหุ้นบริษัทจนครบแล้ว จะต้องออกหนังสือเพื่อทำการนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยกำหนดการประชุมจะจัดหลังออกหนังสืออย่างน้อย 7 วัน 4. เลือกคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ในวาระการประชุมควรเลือกคณะกรรมการเพื่อมาทำหน้าที่แทนผู้ก่อตั้งและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในนามบริษัท […]

Is the company registration service really good?

การเริ่มต้นธุรกิจอาจเป็นความพยายามที่น่าตื่นเต้นแต่ท้าทาย สิ่งสำคัญประการหนึ่งของการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จคือกระบวนการทางกฎหมายในการจดทะเบียนบริษัท แม้ว่าจะสามารถดำเนินการตามขั้นตอนการจดทะเบียนได้อย่างอิสระ แต่ผู้ประกอบการจำนวนมากเลือกที่จะใช้บริการรับจ้างจดทะเบียนบริษัทกับมืออาชีพ ในบทความนี้ เราจะสำรวจข้อดีของการใช้บริการรับจ้างจดทะเบียนบริษัทและวิธีที่สามารถปรับปรุงกระบวนการให้ไปเป็นอย่างราบรื่น การจดทะเบียนบริษัทคืออะไร ? การจดทะเบียนบริษัท คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาร่วมลงทุนจัดตั้งขึ้นมาเป็นองค์กร วัตถุประสงค์หลักในการร่วมจัดตั้งกัน คือ การแสวงหาผลกำไรโดยบริษัทจำกัดจะแบ่งทุนที่ลงออกมาเป็นหุ้นๆ ทำให้ผู้ลงทุนในบริษัทจะถูกเรียกว่า ผู้ถือหุ้น โดยที่ผู้ถือหุ้นจะรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนเองยังส่งใช้ไม่ครบของมูลค่าของหุ้นที่ตนเองถือแต่เมื่อจดทะเบียนบริษัทแล้ว จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยให้บริการรับจ้างจดทะเบียนบริษัทสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ 1. ประเภททะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) เป็นประเภทการจดบริษัทสำหรับผู้ที่ดำเนินกิจการเพียงคนเดียว จัดการงานต่างๆ ด้วยตัวเองทั้งหมด แน่นอนว่าเป็นเพียงผู้เดียวที่มีอำนาจสูงสุดในบริษัท และได้รับกำไรเพียงคนเดียว แต่หากบริษัทขาดทุน ก็จะต้องรับผิดชอบหนี้สินคนเดียวเช่นกัน 2. ประเภททะเบียนนิติบุคคล เป็นประเภทการจดทะเบียนบริษัทที่ได้รับความนิยม โดยเป็นการดำเนินธุรกิจสำหรับบริษัทที่มีผู้ร่วมก่อตั้ง 2 คนทั่วไป และจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ดังนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ ผู้ร่วมลงทุนมีอำนาจเท่ากัน กำไรจะถูกคิดเป็นรายได้ของห้างหุ้นส่วน หากเกิดปัญหาขาดทุน หุ้นส่วนทั้งหมดจะต้องรับผิดชอบ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นลักษณะนิติบุคคล และแบ่งความรับผิดชอบของหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท […]

7 things to know before registering a company !

หลายคนที่กำลังลังเลว่าควรจะ ”จดทะเบียนบริษัทดีไหม” วันนี้ทาง FDI Accounting เราได้รวบรวมข้อควรรู้ที่สามารถเกิดขึ้นได้ให้ทุกท่านสามารถตัดสินใจได้มากขึ้นกันค่ะ 7 ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนบริษัท ! 1. สร้างความหน้าเชื่อถือให้กับธุรกิจ ซึ่งธุรกิจประเภทนิติบุคคลจะมีความน่าเชื่อมากกว่าธุรกิจที่เป็นบุคลลธรรมดา เนื่องจากสามารถทราบได้ว่าคู้ค้าของคุณเป็นใคร ดำเนินธุรกิจอะไร มีเงินทุนเท่าไหร่ มีบัญชีรายรับรายจ่าย งบการเงินต่างๆ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทำให้มีความน่าเชื่อมากกว่า 2. เสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าบุคคลธรรมดา เนื่องจากบุคคลธรรมดาจะคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ ตามอัตราภาษีขั้นบันไดสูงสุด 35% แต่ถ้าหากจดทะเบียนบริษัทจะคำนวณอัตราภาษีจากกำไรสุทธิสูงสุด 20% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิของแต่ละบริษัท 3. ปีไหนธุรกิจขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษี หากบริษัทนิติบุคคลเกิดการขาดทุนขึ้น บริษัทก็ไม่ต้องเสียภาษีประจำปีนั้นๆ และยังสามารถนำมาหักภาษีในอนาคตได้อีก 5 ปี ซึ่งต่างจากบุคคลธรรมดา แม้ว่าธุรกิจเกิดขาดทุน แต่ก็มีรายได้เข้ามา ซึ่งในทางภาษียังคงต้องหักค่าใช้จ่ายได้ตามอัตราเหมาจ่าย จึงต้องเสียภาษีแม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม 4. ขยายธุรกิจได้ง่ายกว่า สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือสินเชื่อเพื่อธุรกิจได้ง่าย และดอกเบี้ยต่ำ เพราะสถาบันทางการเงินมีความเชื่อมั่นในการปล่อยสินเชื่อให้นิติบุคคล มากกว่าบุคคลธรรมดา ที่ส่วนใหญ่จะไม่เข้าเกณฑ์การปล่อยเงินกู้เชิงพาณิชย์ หรือหากปล่อยกู้ก็ได้วงเงินน้อยกว่า 5. การจัดการบริหารเงินเป็นระบบกว่า ในทางกฎหมายเมื่ออยู่ในรูปแบบนิติบุคคล จำเป็นอย่างมากที่จะต้องแยกบัญชีส่วนตัวกับบัญชีธุรกิจออกจากกัน ทำให้ไม่เกิดความสับสนระหว่างเงินทั้งสองส่วน ต่างจากบุคคลธรรมดาหากไม่มีการจัดการเงินที่ดี อาจทำให้เกิดการผิดพลาดได้สูงมาก […]

1 2 3