FDI

FDI Group ร่วมสนับสนุน AIT จัดงานบรรยายพิเศษ “รำลึก 20 ปีธรณีพิบัติภัยสึนามิ เหลียวหลังเพื่อแลหน้า พัฒนาการจัดการภัยพิบัติ”

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology) ได้จัดงานบรรยายพิเศษ “รำลึก 20 ปีธรณีพิบัติภัยสึนามิ เหลียวหลังเพื่อแลหน้า พัฒนาการจัดการภัยพิบัติ” ด้วยความร่วมมือระดับอุดมศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และภาคีเครือข่าย ซึ่งได้จัดขึ้นในวันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ณ หอประชุมโรเบิร์ต บีแบงค์ส สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล เสด็จร่วมงาน และทรงมีพระราชดำรัสปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ภารกิจที่กรมวิทยาศาสตร์ทหารบกทำ ในธรณีพิบัติภัย (สึนามิ) พ.ศ. 2547” ในโอกาสนี้ผู้บริหาร FDI Group เข้าร่วมรับเสด็จ พร้อมรับฟังบรรยายพิเศษในครั้งนี้ด้วย ซึ่งงานในครั้งนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและภาคีเครือข่าย ได้จัดขึ้นเพื่อร่วมรำลึกถึงผู้ประสบภัย ผู้เสียชีวิต รวมถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์สึนามิเมื่อ 26 ธันวาคม 2547 โดยภายในงานบรรยายครั้งนี้ถูกจัดขึ้นโดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการสะท้อนผลการปฏิบัติงานในภาคสนามในครั้งที่เกิดภัยพิบัติ การรับมือ ตลอดจนแผนการดำเนินงานการรับมือในห้วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาในภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย  ซึ่งมีการสะท้อนผล การรับฟังความคิดเห็น จากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายอุตสาหกรรมทางการศึกษา ภายในงานได้ร่วมเสวนาในหัวข้อต่าง […]

Things to Know Before applying for a Visa and Work Permit for Foreign Nationals.

การขอ Work Permit คืออะไร ความสำคัญและความหมาย Work Permit หรือ ใบอนุญาตทำงาน คือ เอกสารทางกฎหมายที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาลให้กับบุคคลที่เป็นชาวต่างชาติ ที่ต้องการทำงานในประเทศนั้น ๆ โดยที่ไม่ใช่พลเมืองของประเทศนั้น ๆ ซึ่งในกรณีของประเทศไทย ใบอนุญาตทำงานนี้จะออกโดย กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถทำงานในประเทศไทยได้ตามกฎหมาย  ความหมายของการขอ Work Permit ให้ชาวต่างชาติ  ใบอนุญาตทางกฎหมาย: Work Permit เป็นเอกสารที่บ่งชี้ว่าเจ้าของสามารถทำงานในประเทศนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย การจำกัดประเภทงาน: ในหลายกรณี การทำงานในบางประเภทอาจจำกัด หรือจำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตพิเศษ ตัวอย่างเช่น งานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยหรือที่มีความสำคัญสูง การคุ้มครองทั้งนายจ้างและลูกจ้าง: การออก Work Permit ช่วยให้นายจ้างและลูกจ้างชาวต่างชาติทำงานภายใต้กรอบกฎหมาย พร้อมทั้งเป็นการคุ้มครองทั้งสองฝ่ายในแง่ของสิทธิและความรับผิดชอบ ทำไมต้องมี Work Permit ? ในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ประเทศไทย การจ้างชาวต่างชาติทำงานโดยไม่มี Work Permit ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย […]

What information is required for company registration? Register a limited company Including frequently asked questions.

การจดทะเบียน บริษัทจำกัด คืออะไร ? มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีกี่แบบ การจดทะเบียนบริษัท คือ กระบวนการทางกฎหมายที่เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการ ดำเนินการลงทะเบียนกิจการของตนเองกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยคือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ธุรกิจนั้นได้รับการรับรองสถานะเป็น นิติบุคคล โดยทางกฎหมาย ซึ่งการจดทะเบียนบริษัทนั้น ช่วยให้ธุรกิจมีสถานะทางกฎหมายที่สามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง ซึ่งจะทำให้บริษัทมีสิทธิ์และหน้าที่ต่าง ๆ ตามกฎหมายมากขึ้น เช่น การทำสัญญา, การขอสินเชื่อ, การจัดเก็บภาษี, การจ้างงาน, การปฏิบัติตามกฎระเบียบภาษี และการระดมทุน  การจดทะเบียนบริษัทนั้น แบ่งออกเป็นกี่ประเภท แต่ละแบบต่างกันอย่างไร ? การจดทะเบียน แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) และ แบบทะเบียนนิติบุคคล การจดทะเบียน แต่ละแบบมีความแตกต่าง รวมถึงข้อจำกัดในการประกอบกิจการต่างกันออกไป ดังนี้ 1.แบบทะเบียนพาณิชย์หรือบุคคลธรรมดา การจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์หรือบุคคลธรรมดา คือ การเปิดบริษัทโดยมีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ซึ่งเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีมูลค่าธุรกิจไม่สูงมาก เจ้าของกิจการทำงานเพียงคนเดียวได้ และไม่มีพนักงาน การจดทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) เหมาะกับใคร […]

What is Premium T-VER and how does it differ from T-VER Standard? 

Premium T-VER คืออะไร และ แตกต่างจาก T-VER Standard อย่างไร  สำหรับ Premium T-VER นั้น ทางองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้พัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ขึ้น เพื่อเป็นกลไกในภาคสมัครใจที่สนับสนุนให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย โดยความสมัครใจ และสามารถนำปริมาณการปล่อยและ/หรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจก หรือที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” นำไปแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายได้ ซึ่งเป็นกลไกที่ให้การรับรองคาร์บอนเครดิต โดยที่สามารถนําไปใช้ในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในระดับองค์กร ผลิตภัณฑ์ การจัดประชุม/สัมมนา งานอีเว้นท์ และบุคคล ได้ โดยปัจจุบันโครงการ T-VER มี 2 รูปแบบให้เลือกดำเนินการคือ แบบ Standard T-VER และแบบ Premium T-VER นั่นเอง     โดยสำหรับ Premium T-VER ถือว่าเป็นทางเลือกให้กับผู้พัฒนาโครงการและองค์กรที่ต้องการคาร์บอนเครดิตที่มีคุณภาพสูง (High Quality Credits) ซึ่งส่วนนี้ มีความสอดล้องกับ […]

Developing Your Business to Stay Ahead of Trends in 2025: Key Business Trends to Watch

เทรนด์ธุรกิจที่น่าจับตาในปี 2025 พัฒนาธุรกิจให้ทันเทรนด์ นับถอยหลังเพียงอีก 1 เดือน ก็จะก้าวเข้าสู่ปี 2025 แต่ละองค์กรต่างเตรียมความพร้อมพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการแข่งขันในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และความท้าทายใหม่ๆ ก็เข้ามาทดสอบธุรกิจทุกประเภท ซึ่งหากท่านใดที่กำลังมองหาโอกาสในการลงทุนหรือสร้างธุรกิจใหม่อยู่นั้น การทำความเข้าใจเทรนด์ธุรกิจที่น่าสนใจในปี 2025 FDI เชื่อว่าในบทความนี้จะสามารถสร้างไอเดียใหม่ ให้ความเข้าใจในโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้สำหรับนักลงทุนหรือคนที่กำลังอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ได้เป็นอย่างดี เทรนด์ที่น่าสนใจและลงทุน เทรนด์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning  เทคโนโลยี AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกอุตสาหกรรมมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน หรือการสร้างประสบการณ์ลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ AI เช่น พัฒนาซอฟต์แวร์ AI, บริการที่ปรึกษา AI, และแอปพลิเคชันที่ใช้ AI จะมีโอกาสเติบโตอย่างมาก ยกตัวอย่าง บริษัทโทรศัพท์ค่ายสีเขียวได้พัฒนาธุรกิจ ใช้ AI Voice Bot ในการติดต่อลูกค้าเพิ่มมากขึ้น เช่น การโทรแจ้งนัดหมาย การโทรติดตามหนี้ การโทรนัดรับสินค้า ซึ่งการนำ […]

FDI Group : จัดอบรม”Fostering Teamwork and Collaboration” ให้กับบริษัท โอแลม (ประเทศไทย) จำกัด

FDI รับจัดอบรม ! เพิ่มขีดความสามารถ Up Skills การทำงานร่วมกันในองค์กร  เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา FDI Group ได้จัดอบรม In-house Training โดยได้รับเกียรติและความร่วมมือให้พัฒนา เพิ่มทักษะที่สำคัญในการทำงานของบุคลากร บริษัท โอแลม (ประเทศไทย) จำกัด โดยได้จัดอบรม Up Skill ในหัวข้อ “Fostering Teamwork and Collaboration”  หลักสูตรฝึกอบรมการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกัน ซึ่งกิจกรรมได้จัดขึ้นอย่างน่าสนใจ เพื่อส่งเสริมทัศนคติในการทำงานร่วมกันเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ที่มากด้วยประสบการณ์เชิงลึกให้คำแนะนำ พร้อมทั้งจัดกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ เติมเต็มทักษะใหม่ให้กับผู้เข้าอบรม ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการอบรมหัวข้อดังกล่าว การจัดอบรมพัฒนาบุคลากรครั้งนี้ ในหัวข้อ “Fostering Teamwork and Collaboration”  หลักสูตรฝึกอบรมการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกัน จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มความเข้าใจ สร้างความเชื่อมั่นในการทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งการสร้างทัศนคติเชิงบวกทั้งการสื่อสาร ความเข้าใจในธรรมชาติของการเป็นมนุษย์ ผ่านการทำอบรมทั้งทฤษฏี และปฏิบัติ ผ่านกิจกรรม Work […]

What is CBAM? What Thai Exporters Need to Know [Updated 2024]

ทำความรู้จักกับ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) หรือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน สหภาพยุโรป (EU) ถือเป็นผู้นำในระดับโลกในด้านการจัดการกับ Climate Change โดยได้ตั้งเป้าหมายการเข้าสู่ Net Zero Emission ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) ดังนั้น การกำหนดมาตรการ CBAM ขึ้น ถือเป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วมากขึ้น “ CBAM ” ย่อมาจาก “Carbon Border Adjustment Mechanism” หรือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน เป็นมาตรการที่สหภาพยุโรป (EU) กำหนดขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือนการเก็บภาษีสินค้านำเข้าตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  มาตรการ CBAM มีเพื่อมุ่งสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแก่ประเทศคู่ค้านอกสหภาพยุโรป  จึงเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้มั่นใจว่าสินค้าที่นำเข้ามาในสหภาพยุโรปได้คิดต้นทุนในการปล่อยคาร์บอนเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องซื้อใบรับรอง CBAM (CBAM Certificate) ตามปริมาณการนำเข้าและปริมาณการปล่อยคาร์บอนของสินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตในสหภาพยุโรป โดย FDI มีความเห็นว่า มาตรการนี้จะช่วยผลักดันเร่งรัด ให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน […]

GHG Protocol: Greenhouse Gas Accounting and Reporting Standard for Organizational Sustainability

GHG Protocol การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก มาตรฐานสู่ความยั่งยืนขององค์กร “ ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายว่า ภายในปี 2030 จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 30-40 จากการดำเนินการตามปกติ สู่การเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065” จากจุดเริ่มต้นจากการตื่นตัวในการสร้างสมดุลให้ชั้นบรรยากาศของโลกของนานาประเทศผ่านพิธีสารโตเกียว (Kyoto Protocol) ในปี 1997 สู่แผนเป้าหมายของไทยที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้องค์กรต่างต้องปรับแผนการดำเนินงาน ตั้งเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability)  ซึ่งต้องดำเนินการลดหรือชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานทั้งทางตรงและทางอ้อม การจะลดการปล่อยได้นั้น องค์กรต้องทำบัญชีคาร์บอน (Carbon Accounting)  ซึ่งมีขั้นตอน ขอบเขตในการจัดการทั้งการจัดเก็บข้อมูลและการคำนวณ การกำหนดขอบเขตของการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope of GHGs Emissions) ถึงจะกำหนดมาตรการการลดหรือชดเชยคาร์บอนได้ ต้องสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ มีความโปร่งใส ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปวิเคราะห์ในการวางแผนงาน บริหารจัดการในการดำเนินกิจการ ซึ่งต้องมีการรายงาน และตรวจสอบรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรอย่างสม่ำเสมออีกด้วย  GHG Protocol คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ? GHG Protocol […]

What is ETS? How is it Related to Greenhouse Gases?

ทำความรู้จักกับ ETS คืออะไร ?  ในปัจจุบัน กระบวนการผลิตในทุกอุตสาหกรรม ผลกระทบที่ตามมานั่นก็คือ เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน (Climate Change) ในบทความนี้จะพาทุกท่านทำความรู้จักกับ ETS โดยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ การสร้างกลไกราคาให้กับสิ่งที่ไม่มีราคาอย่างก๊าซเรือนกระจกหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Pricing) ก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่ง ที่ช่วยบังคับผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต้องรับผิดชอบต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา เมื่อต้นทุนสูงขึ้น ก็อาจส่งผลให้ตัดสินใจปรับลดปริมาณการผลิตลง​ กลไกราคานี้ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลายเป็นสิ่งที่มีต้นทุนต้องจ่าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ  1.ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax)  เป็นไปตามหลักการผู้ปล่อยมลพิษเป็นผู้จ่าย (polluter pays principle) กำหนดให้ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องจ่ายค่าปล่อย โดยรัฐบาลสามารถกำหนดเป็นอัตราภาษีต่อปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เกิดขึ้น 2. ETS (Emission Trading Scheme) ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติม เราจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจในหัวข้อถัดไป   ความหมายของ ETS  ETS ย่อมาจาก Emission Trading Scheme หรือ ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ภายใต้กลไกตลาดคาร์บอน โดยภาครัฐเป็นผู้กำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมขององค์กรที่ถูกควบคุม […]

What is a Carbon Tax – Why Does It Matter for Business?

ภาษีคาร์บอน ราคาที่ต้องจ่ายเพื่อโลกที่ดีขึ้น  ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียน ที่จะมีการจัดเก็บภาษีคาร์บอน ถัดจากสิงคโปร์ ในปัจจุบันทุกท่านคงทราบดีว่า สภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น มาจากผลกระทบของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศที่มีมากขึ้น ซึ่งมีปัจจัยทั้งจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลกในทุกพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง รุนแรงมากขึ้น อย่างที่ทุกท่านเห็นในปัจจุบัน ซึ่งหนึ่งในการแก้ไขเเละร่วมกันหาทางออกในการลดก๊าซเรือนกระจกก็คือ การจัดเก็บภาษีคาร์บอน เเละในบทความนี้ จะช่วยให้ทุกท่านได้เข้าใจในเรื่องของภาษีคาร์บอน การจัดเก็บภาษี ผลดีและโอกาสที่จะเกิดขึ้นต่อตัวท่านเองเเละสังคมส่วนรวมในระยะยาว ทำความรู้จัก ภาษีคาร์บอน คืออะไร? ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เป็นหลักการที่กำหนดให้ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะต้องจ่ายค่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ชนิด ได้แก่ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) , ไนตรัสออกไซด์(N2O) , มีเทน (CH4), ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs), ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน(PFC), ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6), ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) เป็นต้น ที่เกิดจากกระบวนการผลิต การขนส่ง กิจกรรมต่างๆที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยยึดตามหลักการของ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pay […]

1 2 3 19