ภาษีคาร์บอน ราคาที่ต้องจ่ายเพื่อโลกที่ดีขึ้น
ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียน ที่จะมีการจัดเก็บภาษีคาร์บอน ถัดจากสิงคโปร์ ในปัจจุบันทุกท่านคงทราบดีว่า สภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น มาจากผลกระทบของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศที่มีมากขึ้น ซึ่งมีปัจจัยทั้งจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลกในทุกพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง รุนแรงมากขึ้น อย่างที่ทุกท่านเห็นในปัจจุบัน ซึ่งหนึ่งในการแก้ไขเเละร่วมกันหาทางออกในการลดก๊าซเรือนกระจกก็คือ การจัดเก็บภาษีคาร์บอน เเละในบทความนี้ จะช่วยให้ทุกท่านได้เข้าใจในเรื่องของภาษีคาร์บอน การจัดเก็บภาษี ผลดีและโอกาสที่จะเกิดขึ้นต่อตัวท่านเองเเละสังคมส่วนรวมในระยะยาว
ทำความรู้จัก ภาษีคาร์บอน คืออะไร?
ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เป็นหลักการที่กำหนดให้ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะต้องจ่ายค่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ชนิด ได้แก่ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) , ไนตรัสออกไซด์(N2O) , มีเทน (CH4), ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs), ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน(PFC), ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6), ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) เป็นต้น ที่เกิดจากกระบวนการผลิต การขนส่ง กิจกรรมต่างๆที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยยึดตามหลักการของ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pay Principal) โดยรัฐบาลเป็นผู้กำหนดอัตราภาษีต่อหน่วยการปล่อย (ต่อ 1 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า) ซึ่งอาจเก็บจากการใช้ประโยชน์ เช่น การเก็บภาษีตามปริมาณคาร์บอนในน้ำมันเชื้อเพลิง (Carbon Tax) หรือ เก็บจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของแหล่งปล่อย (Emission Tax) ก็ได้
โดยมีวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ เพื่อช่วยชะลอ รวมถึงการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ประชาชนได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง? ในระยะแรก
อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า โดยในระยะแรกจะเริ่มเก็บจากสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่เชื่อมโยงกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อน โดยประชาชน ซึ่งในระยะแรกการเก็บภาษีคาร์บอนนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง เนื่องจากเป็นการแปลงภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่เก็บอยู่แล้วปัจจุบันให้ไปผูกติดกับภาษีคาร์บอน ในปัจจุบันกรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 6.44 บาทต่อลิตร และเก็บภาษีจากน้ำมันเบนซินอยู่ที่ 6.50 บาทต่อลิตร อยู่แล้ว ภาษีคาร์บอนจะผูกกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งยกตัวอย่าง น้ำมันดีเซล 1 ลิตรจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.0026 ตันคาร์บอน ดังนั้นเมื่อคำนวณแล้ว น้ำมันดีเซลประมาณ 1 ลิตรจะเสียภาษีคาร์บอน ราว 0.46 บาทต่อลิตร ส่วนเบนซินจะเสียภาษีคาร์บอนราว 0.50 บาทต่อลิตร (อ้างอิง: สถาบันการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน,2567)
มาตรการ ” ระยะแรก” ภาษีคาร์บอนของไทย มีข้อดีอย่างไร ?
ในปัจจุบันประเทศไทยมีเครื่องมือกลไกราคาคาร์บอน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบ “ภาคสมัครใจ” ทำให้ราคาคาร์บอนต่ำจนเกินไป ซึ่งการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนจะส่งผลดีคือ
1.มีราคาคาร์บอน (Carbon Price) ที่รัฐเป็นคนกำหนดขึ้นได้ ซึ่งเป็นราคาที่คาดว่าจะช่วยให้เกิดประสิทธิผลในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ดีมากยิ่งขึ้น
2.สอดคล้องตามเป้าหมายของประเทศที่ต้องการเดินหน้าสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality ภายในปี 2050 และขยับสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ Net Zero ภายในปี 2065
ประโยชน์ของการจัดเก็บภาษีคาร์บอน
- ช่วยให้รัฐบาลมีรายได้ ลดการบิดเบือนของการจัดสรรทรัพยากร
- เป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และการกระตุ้นการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ
- เป็นมาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังและลดภาวะโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
- โอกาสใหม่ในการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- สร้างความตระหนักรู้ให้กับทุกภาคส่วน ประชาชนมีความเข้าใจมากขึ้นในผลกระทบของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่าง FDI Accounting and Advisory ให้ความเห็นว่าการจัดเก็บภาษีคาร์บอนนั้นเป็นผลดีต่อส่วนรวม สามารถลดเเละชะลอความรุนแรงจากสภาวะโลกร้อนได้ รวมถึงโอกาสใหม่ในการวางแผน ปรับตัวของทุกธุรกิจให้มีความยั่งยืน ได้เปรียบในเชิงของการแข่งขันในการลงทุนระยะยาวเพื่อปรับมาใช้พลังงานสะอาด ตลอดจนถึงการพยายามลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในทุกกระบวนการผลิต ด้วยการตรวจ Carbon Footprint ขององค์กรอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษี รวมถึงเทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาให้ความสนใจ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญในเรื่องของ ESG (Environment ,Social , Governance) มากขึ้น
FDI Accounting & Advisory เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนธุรกิจของคุณสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ด้วยบริการที่ปรึกษาธุรกิจสีเขียวอย่างครบวงจร โดยผู้เชี่ยวชาญที่มากไปด้วยประสบการณ์และความรู้เชิงลึก ช่วยแก้ไขทุกปัญหา ดูแล วางแผนตลอดจนจบกระบวนการนำพาธุรกิจสู่ความยั่งยืน
เรามีความพร้อม มีประสบการณ์ พร้อมให้บริการทุกธุรกิจ
หากคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญและบริการครบวงจรเพื่อช่วยนำพาธุรกิจของคุณไปสู่ความสำเร็จ ทีมงานของเรา พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความเติบโตของธุรกิจคุณ
FDI Accounting & Advisory
ที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างครบวงจร !
🌐Website : www.fdi.co.th
📞 Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895
E-mail : reception@fdi.co.th
Facebook : FDI Group – Business Consulting
Line Official : @fdigroup
Related Articles
ทำความรู้จัก GHG Protocol มาตรฐานการทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก
ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายว่า ภายในปี 2030 จะต้องลดการปล่อยก๊าซ …
ETS คือระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เกี่ยวข้องอย่างไรกับก๊าซเรือนกระจก
ในปัจจุบัน กระบวนการผลิตในทุกอุตสาหกรรม ผลกระทบที่ตามมานั่นก็คือ…
คู่มือขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิต