Blog

GHG Protocol: Greenhouse Gas Accounting and Reporting Standard for Organizational Sustainability

GHG Protocol การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก มาตรฐานสู่ความยั่งยืนขององค์กร “ ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายว่า ภายในปี 2030 จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 30-40 จากการดำเนินการตามปกติ สู่การเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065” จากจุดเริ่มต้นจากการตื่นตัวในการสร้างสมดุลให้ชั้นบรรยากาศของโลกของนานาประเทศผ่านพิธีสารโตเกียว (Kyoto Protocol) ในปี 1997 สู่แผนเป้าหมายของไทยที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้องค์กรต่างต้องปรับแผนการดำเนินงาน ตั้งเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability)  ซึ่งต้องดำเนินการลดหรือชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานทั้งทางตรงและทางอ้อม การจะลดการปล่อยได้นั้น องค์กรต้องทำบัญชีคาร์บอน (Carbon Accounting)  ซึ่งมีขั้นตอน ขอบเขตในการจัดการทั้งการจัดเก็บข้อมูลและการคำนวณ การกำหนดขอบเขตของการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope of GHGs Emissions) ถึงจะกำหนดมาตรการการลดหรือชดเชยคาร์บอนได้ ต้องสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ มีความโปร่งใส ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปวิเคราะห์ในการวางแผนงาน บริหารจัดการในการดำเนินกิจการ ซึ่งต้องมีการรายงาน และตรวจสอบรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรอย่างสม่ำเสมออีกด้วย  GHG Protocol คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ? GHG Protocol […]

What is ETS? How is it Related to Greenhouse Gases?

ทำความรู้จักกับ ETS คืออะไร ?  ในปัจจุบัน กระบวนการผลิตในทุกอุตสาหกรรม ผลกระทบที่ตามมานั่นก็คือ เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน (Climate Change) ในบทความนี้จะพาทุกท่านทำความรู้จักกับ ETS โดยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ การสร้างกลไกราคาให้กับสิ่งที่ไม่มีราคาอย่างก๊าซเรือนกระจกหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Pricing) ก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่ง ที่ช่วยบังคับผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต้องรับผิดชอบต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา เมื่อต้นทุนสูงขึ้น ก็อาจส่งผลให้ตัดสินใจปรับลดปริมาณการผลิตลง​ กลไกราคานี้ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลายเป็นสิ่งที่มีต้นทุนต้องจ่าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ  1.ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax)  เป็นไปตามหลักการผู้ปล่อยมลพิษเป็นผู้จ่าย (polluter pays principle) กำหนดให้ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องจ่ายค่าปล่อย โดยรัฐบาลสามารถกำหนดเป็นอัตราภาษีต่อปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เกิดขึ้น 2. ETS (Emission Trading Scheme) ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติม เราจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจในหัวข้อถัดไป ความหมายของ ETS  ETS ย่อมาจาก Emission Trading Scheme หรือ ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ภายใต้กลไกตลาดคาร์บอน โดยภาครัฐเป็นผู้กำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมขององค์กรที่ถูกควบคุม (Cap […]

[Update 2025] What is Carbon Tax – Why It Matters to Businesses

ภาษีคาร์บอน ราคาที่ต้องจ่ายเพื่อโลกที่ดีขึ้น  ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียน ที่จะมีการจัดเก็บภาษีคาร์บอน ถัดจากสิงคโปร์ ในปัจจุบันทุกท่านคงทราบดีว่า สภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น มาจากผลกระทบของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศที่มีมากขึ้น ซึ่งมีปัจจัยทั้งจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลกในทุกพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง รุนแรงมากขึ้น อย่างที่ทุกท่านเห็นในปัจจุบัน ซึ่งหนึ่งในการแก้ไขเเละร่วมกันหาทางออกในการลดก๊าซเรือนกระจกก็คือ การจัดเก็บภาษีคาร์บอน เเละในบทความนี้ จะช่วยให้ทุกท่านได้เข้าใจในเรื่องของภาษีคาร์บอน การจัดเก็บภาษี ผลดีและโอกาสที่จะเกิดขึ้นต่อตัวท่านเองเเละสังคมส่วนรวมในระยะยาว ทำความรู้จัก ภาษีคาร์บอน คืออะไร? ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เป็นหลักการที่กำหนดให้ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะต้องจ่ายค่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ชนิด ได้แก่ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) , ไนตรัสออกไซด์(N2O) , มีเทน (CH4), ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs), ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน(PFC), ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6), ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) เป็นต้น ที่เกิดจากกระบวนการผลิต การขนส่ง กิจกรรมต่างๆที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยยึดตามหลักการของ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pay […]

Forward into 30 years of FDI Group: A success story of consulting business

ก้าวสู่ 3 ทศวรรษ ในการเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในวงการที่ปรึกษาธุรกิจ  ความภูมิใจในการก้าวสู่ปีที่ 30 บริษัท เอฟ ดี ไอ แอคเคาน์ติ้ง แอนด์ แอดไวซอรี่ จำกัด ในฐานะบริษัทในเครือ  เอฟ ดี ไอ กรุ๊ป  ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาธุรกิจ สัญชาติญี่ปุ่น-ไทย ที่เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 โดยให้บริการที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยที่หลากหลายอย่างครบวงจร จากความไว้วางใจ เชื่อมั่นในคุณภาพ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ครอบคลุมทุกประเภทธุรกิจที่มากมาย ด้วยการได้ดูแลบริษัทหลายพันองค์กร เราภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจของเหล่าลูกค้าและคู่ค้าทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจในบริการของเรามาโดยตลอด กว่า30ปีเราได้มีการพัฒนาและขยายขอบเขตการให้บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมทุกมิติมากยิ่งขึ้น ทั้งเพื่อตอบโจทย์และตอกย้ำความเป็นบริษัทที่ปรึกษาครบวงจรเรื่องธุรกิจ และเพื่อส่งต่อคุณภาพที่ดีที่สุดให้กับทุกธุรกิจในสังคมไทยต่อไปอย่างยั่งยืน   คำแนะนำจากการดำเนินธุรกิจเข้าสู่ปีที่ 30 ในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกธุรกิจ การแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้น ทำให้ธุรกิจต้องมีความคล่องตัวและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในหลากหลายมุมมองธุรกิจ ให้มีความแตกต่าง และมีจุดแข็งที่โดดเด่นจากบริษัทอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันทั้งในเรื่องของการกำกับดูแลคุณภาพสินค้า บริการ จริยธรรม และการใส่ใจสังคมตลอด 30 ปีที่ผ่านมาเราจึงมักเห็นหลากหลายบริษัทที่มีความสามารถในการปรับตัวให้รวดเร็วภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ สามารถผ่าคลื่นลมของวิกฤตภัยธรรมชาติ โรคระบาด สงครามเศรษฐกิจ และสงครามเทคโนโลยีต่างๆ มากได้ด้วยการปรับตัว และหมั่นปรับปรุงกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจ จึงอาจกล่าวได้ว่าการเตรียมความพร้อมธุรกิจให้เป็นองค์กรที่พร้อมแก่การปรับตัวตามสภาวะแวดล้อม แต่ยังคงหาจุดเด่นของตัวเองไม่หลงลืมตัวตนจะกลายเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจในยุคปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ […]

Disaster Strikes! Flooding in the Sahara Desert — A Deadly Threat from Greenhouse Gases

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติสุดประหลาด ผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจก เมื่อเกิดน้ำท่วมในทะเลทรายซาฮาราของโมร็อกโก เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความประหลาดใจให้กับทั่วโลก เนื่องจากทะเลทรายซาฮารานั้นเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะพื้นที่แห้งแล้งที่สุดแห่งหนึ่งของโลก การที่ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมจึงเป็นปรากฏการณ์ที่หาได้ยากและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เหตุการณ์น้ำท่วมในทะเลทรายซาฮาราเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศในทุกพื้นที่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่แห้งแล้งหรือพื้นที่ชื้น ซึ่งจากปรากฏการณ์นี้ผู้คนต่างให้ความสนใจ เนื่องจากพื้นที่นี้โดยปกติมีความแห้งแล้งสู่เหตุการณ์น้ำท่วมหนัก รัฐบาลโมร็อกโกเปิดเผยว่าปริมาณน้ำฝน 2 วันในเดือนกันยายนเกินค่าเฉลี่ยรายปีในหลายพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 250 มิลลิเมตร (10 นิ้ว) ต่อปี ซึ่งรวมถึงเมืองตาตา ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ในหมู่บ้านตากูไนต์ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงราบัตไปทางใต้ประมาณ 450 กิโลเมตร (280 ไมล์) มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 มิลลิเมตร (3.9 นิ้ว) ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง พายุฝนทิ้งร่องรอยอันน่าตื่นตะลึงของน้ำที่พุ่งผ่านผืนทรายในทะเลทรายซาฮารา ท่ามกลางปราสาทและพืชพรรณในทะเลทราย จากดาวเทียมของ NASA แสดงให้เห็นน้ำที่ไหลบ่าเข้ามาเติมเต็มทะเลสาบอิริกี ซึ่งเป็นแอ่งทะเลสาบที่มีชื่อเสียงระหว่างเมืองซาโกราและตาตา ซึ่งแห้งแล้งมานาน 50 ปี จากฝนที่ตกหนักดังกล่าว นักอุตุนิยมวิทยาเรียกว่าพายุโซนร้อน อาจเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในภูมิภาคนี้ในอีกไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปีข้างหน้า เนื่องจากอากาศจะกักเก็บความชื้นไว้มากขึ้น ทำให้เกิดการระเหยมากขึ้นและทำให้เกิดพายุได้มากขึ้นตามมาอีกในไม่ช้า ที่มา : AP News ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ […]

How to set up a company for foreigners in Thailand

ประเทศไทยมีศักยภาพในการประกอบธุรกิจสูง ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก ด้วยเศรษฐกิจที่มั่นคง โครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนา และแรงงานที่มีทักษะ ประกอบกับรัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน จึงทำให้มีชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่สนใจจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม กฎหมายไทยกำหนดให้ชาวต่างชาติมีข้อจำกัดในการถือหุ้นบริษัทบางประเภท บทความนี้จึงจะมาแนะนำขั้นตอนและ วิธี จดจัดตั้งบริษัท ชาวต่างชาติ ก็สามารถทำได้ รวมไปถึงข้อควรระวังและคำแนะนำเพิ่มเติม 1. บริษัทที่คนไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% บริษัทจำกัด รูปแบบบริษัทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับนักลงทุนชาวต่างชาติ ผู้ก่อการและผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ภาระรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นจำกัดตามจำนวนหุ้นที่ถือ เหมาะสำหรับธุรกิจทั่วไป ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้ก่อการและผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2 คน แบ่งเป็นหุ้นส่วนจำกัดและหุ้นส่วนไม่จำกัด หุ้นส่วนจำกัดไม่ต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของห้างหุ้นส่วนเกินกว่าจำนวนหุ้นที่ถือ หุ้นส่วนไม่จำกัดรับผิดชอบต่อหนี้สินของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัด เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก จดทะเบียนง่ายกว่าบริษัทจำกัด 2. บริษัทที่ชาวต่างชาติถือหุ้น 100% หรือเกิน 50% บริษัทจำกัด ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBL) ประกอบธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หรือ ประกอบธุรกิจในกิจการที่กำหนดในกฎหมายประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ ต้องการลงทุนในประเทศไทยระยะยาว ประเภทธุรกิจที่ห้ามชาวต่างชาติถือหุ้น 100% ธุรกิจที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ […]

ห้างหุ้นส่วนสามัญ คืออะไร? เข้าใจง่ายๆ ใน 5 นาที

ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นรูปแบบหนึ่งของนิติบุคคลที่เกิดจากการรวมตัวกันของบุคคล 2 คนขึ้นไป เพื่อประกอบธุรกิจร่วมกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อแบ่งปันกำไรและขาดทุนร่วมกันตามสัดส่วนที่ได้ตกลงกันไว้ ห้างหุ้นส่วนสามัญถือเป็นรูปแบบธุรกิจที่จัดตั้งได้ง่าย ใช้ต้นทุนต่ำ และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เหมาะสำหรับธุรกิจประเภทใด ห้างหุ้นส่วนสามัญ เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่ต้องการความคล่องตัวในการดำเนินงาน และต้องการแบ่งปันความเสี่ยงร่วมกันกับผู้ร่วมทุน เช่น ธุรกิจขนาดเล็ก: เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการเริ่มต้นด้วยทุนน้อยและมีความยืดหยุ่นสูง ธุรกิจที่ต้องการรวมพลัง: เหมาะสำหรับกลุ่มคนที่มีความรู้และทักษะที่แตกต่างกันและต้องการร่วมกันสร้างธุรกิจ ธุรกิจที่ต้องการความไว้วางใจ: เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหุ้นส่วน ทำไมต้องเลือก ห้างหุ้นส่วนสามัญ? ตั้งต้นง่าย: กระบวนการจัดตั้งค่อนข้างง่ายเมื่อเทียบกับนิติบุคคลประเภทอื่นๆ ความยืดหยุ่นสูง: สามารถกำหนดข้อตกลงในการร่วมทุนได้อย่างอิสระ แบ่งปันความเสี่ยง: ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจจะถูกแบ่งปันกันระหว่างหุ้นส่วน รวมพลังความรู้: สามารถนำความรู้และประสบการณ์ของแต่ละคนมารวมกัน ลักษณะเด่นของห้างหุ้นส่วนสามัญ การรวมตัวของบุคคล: เกิดจากการรวมตัวกันของบุคคล 2 คนขึ้นไป ซึ่งแต่ละคนเรียกว่า “หุ้นส่วน” ความรับผิดชอบไม่จำกัด: หุ้นส่วนทุกคนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วน ไม่จำกัดเฉพาะในส่วนที่ได้ลงทุนไป การแบ่งปันกำไรและขาดทุน: กำไรและขาดทุนจะถูกแบ่งปันกันตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ในสัญญาหุ้นส่วน การจัดการ: หุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิ์เข้าร่วมในการบริหารจัดการห้างหุ้นส่วน การจดทะเบียน: ต้องมีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนตามกฎหมาย ข้อดีของ ห้างหุ้นส่วนสามัญ จัดตั้งง่าย: กระบวนการจัดตั้งค่อนข้างง่ายและใช้ต้นทุนต่ำ ความยืดหยุ่น: สามารถกำหนดข้อตกลงในการดำเนินงานได้อย่างอิสระ การตัดสินใจรวดเร็ว: การตัดสินใจต่างๆ […]

บริการ รับทำบัญชี ราคา คุ้มค่า อย่างครบวงจร! กับ FDI

การบริหารจัดการบัญชีให้มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะบัญชีที่ดีคือหัวใจสำคัญของการวางแผนทางธุรกิจ การตัดสินใจลงทุน และการเติบโตอย่างยั่งยืน แต่การทำบัญชีเองอาจเป็นเรื่องยุ่งยากและใช้เวลามากสำหรับผู้ประกอบการหลายท่าน ดังนั้น การเลือกใช้บริการรับทำบัญชีจึงเป็นทางออกที่ชาญฉลาด FDI Accounting and Advisory นำเสนอบริการรับทําบัญชี ราคาสมเหตุสมผลและคุ้มค่า โดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมมอบบริการที่ครอบคลุม ตั้งแต่การจัดตั้งบริษัท การทำบัญชี การจัดทำงบการเงิน การยื่นภาษี และการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ทำไมต้องเลือกบริการรับทำบัญชีของ FDI Accounting and Advisory? ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ: ทีมงานของเรามีประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจในด้านบัญชีและภาษีอย่างลึกซึ้งกว่า 29 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่าธุรกิจของคุณจะได้รับการดูแลอย่างมืออาชีพ บริการครบวงจร: เราให้บริการบัญชีครบวงจร ตั้งแต่การจดทะเบียนบริษัท การทำบัญชีรายเดือน รายปี การจัดทำงบการเงิน การวางแผนภาษี และการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ราคาที่คุ้มค่า: เราให้บริการในราคาที่สมเหตุสมผลและโปร่งใส ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง การสื่อสารที่เข้าใจง่าย: เราสื่อสารข้อมูลทางบัญชีให้คุณเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อให้คุณสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ: เราเป็นบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากลูกค้ามากมาย บริการรับทำบัญชีของเราครอบคลุมอะไรบ้าง? บริการจัดทำบัญชี: บันทึกข้อมูลทางบัญชีรายวัน รายเดือน และจัดทำงบการเงิน บริการยื่นภาษี: ยื่นแบบภาษีต่างๆ เช่น […]

คู่มือ! การขึ้นทะเบียน โครงการคาร์บอนเครดิต อัพเดต 2025

ในยุคที่ปัญหาภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญของทุกภาคส่วนทั่วโลก หนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ “คาร์บอนเครดิต” ซึ่งเป็นหลักประกันที่แสดงถึงปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากโครงการต่างๆ การขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิตจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้โครงการเหล่านั้นได้รับการยอมรับในระดับสากลและสามารถนำคาร์บอนเครดิตไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม มาตรฐานที่สำคัญในการขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิต มาตรฐานสากล: CDM (Clean Development Mechanism): กลไกที่กำหนดขึ้นภายใต้พิธีสารเกียวโต เพื่อให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถลงทุนในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา และได้รับคาร์บอนเครดิตมาชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ VCS (Verified Carbon Standard): มาตรฐานภาคเอกชนที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคสมัครใจ Gold Standard: มาตรฐานที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมนอกเหนือจากการลดก๊าซเรือนกระจก มาตรฐานในประเทศไทย: T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program): โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย ดำเนินการโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือองค์การอบก. เหตุผลที่ต้องขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิต การรับรองความน่าเชื่อถือ: การขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิตเป็นการยืนยันว่าโครงการนั้นได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ ทำให้โครงการได้รับความน่าเชื่อถือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้บริโภค การสร้างความโปร่งใส: กระบวนการขึ้นทะเบียนจะต้องมีการตรวจสอบและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด ทำให้สาธารณชนสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและความสำเร็จของโครงการได้ การสร้างตลาดคาร์บอนเครดิต: การมีโครงการคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจำนวนมากจะช่วยสร้างตลาดคาร์บอนเครดิตที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่เป็นธรรมและโปร่งใส การดึงดูดนักลงทุน: โครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตจะมีโอกาสดึงดูดนักลงทุนที่สนใจในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การสร้างแรงจูงใจในการลดก๊าซเรือนกระจก: การขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนและชุมชนต่างๆ พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน: การมีส่วนร่วมในโครงการคาร์บอนเครดิตเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนขององค์กรและประเทศชาติ […]

เจาะลึกสถานการณ์ ตลาดคาร์บอนเครดิต ในปัจจุบัน

ตลาดคาร์บอนเครดิต ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญในการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยเป็นกลไกที่อนุญาตให้ภาคธุรกิจและองค์กรต่างๆ สามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการสนับสนุนโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในที่อื่นๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของตลาดคาร์บอนเครดิตในปัจจุบันนั้นมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในแง่ของกฎระเบียบ ความต้องการของตลาด และความท้าทายในการดำเนินงาน สถานการณ์ ตลาดคาร์บอนเครดิต ทั่วโลก การเติบโตอย่างรวดเร็ว: ตลาดคาร์บอนเครดิตมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ความต้องการของภาคธุรกิจในการสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการตระหนักรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายของโครงการ: โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่โครงการปลูกป่า โครงการพลังงานหมุนเวียน โครงการจัดการขยะ ไปจนถึงโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งทำให้ตลาดคาร์บอนเครดิตมีความหลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น มาตรฐานและการรับรอง: เพื่อให้มั่นใจว่าคาร์บอนเครดิตมีความน่าเชื่อถือ โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองจากองค์กรอิสระที่มีมาตรฐานสากล เช่น Verra, Gold Standard และ American Carbon Registry กฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้น: หลายประเทศทั่วโลกเริ่มบังคับใช้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตมากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าคาร์บอนเครดิตที่ซื้อขายกันนั้นมีคุณภาพและสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง ความท้าทายด้านความโปร่งใส: แม้ว่าตลาดคาร์บอนเครดิตจะมีการเติบโต แต่ก็ยังคงมีความท้าทายด้านความโปร่งใสอยู่บ้าง เช่น การประเมินผลกระทบของโครงการ การป้องกันการนับซ้ำ และการหลีกเลี่ยงการซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ไม่ได้มาจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจริง จุดเด่นของ ตลาดคาร์บอนเครดิต ไทย การเติบโตอย่างรวดเร็ว: ปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย โครงการ T-VER: เป็นระบบการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจของไทยที่ได้รับความนิยมและมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนตลาด […]

1 2 3 4 5 6 17