見逃せないタイの役立つ情報

รู้จัก ESG Rating โอกาสในการลงทุนในองค์กร สู่ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและสังคม

ESG Rating คือ อะไร? ทำไมต้องรู้จัก  ESG Rating คือ ผลการประเมินความยั่งยืนขององค์กรโดยพิจารณาจากเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental), สังคม (Social), และธรรมาภิบาล (Governance) โดยคะแนน ESG นี้มักใช้เป็นตัวชี้วัดที่ช่วยให้นักลงทุนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถประเมินความเสี่ยงและโอกาสขององค์กรในเชิงความยั่งยืน  องค์ประกอบของ ESG Rating Environmental (สิ่งแวดล้อม)พิจารณาถึงผลกระทบขององค์กรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Emissions) การใช้ทรัพยากร (Resource Use) การจัดการของเสียและมลพิษ (Waste Management) การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม Social (สังคม)พิจารณาจากด้านความสัมพันธ์ขององค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น การดูแลพนักงาน (Employee Relations) ความเท่าเทียมในที่ทำงาน (Diversity and Inclusion) การเคารพสิทธิมนุษยชน (Human Rights) การมีส่วนร่วมในชุมชน (Community Engagement) Governance (ธรรมาภิบาล)ประเมินความโปร่งใสและการบริหารจัดการขององค์กร เช่น โครงสร้างคณะกรรมการและการกำกับดูแล (Board Structure) ความโปร่งใสทางการเงิน (Financial Transparency) การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) จริยธรรมและการปฏิบัติตามกฎหมาย (Ethics and Compliance) ESG Rating จะแสดงผลในรูปแบบคะแนนหรือระดับ เช่น AAA ถึง CCC หรือคะแนน 0-100 ซึ่งขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่ประเมิน ESG Rating โดยตัวอย่างหน่วยงานที่ให้บริการประเมิน ESG Rating ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ได้แก่ Sustainalytics: ให้คะแนนความเสี่ยง ESG ตั้งแต่ 0-100 โดยคะแนนต่ำหมายถึงความเสี่ยงต่ำ MSCI: ให้เกรดตั้งแต่ AAA (ดีที่สุด) ถึง CCC (แย่ที่สุด) FTSE Russell: ประเมินคะแนน ESG ตั้งแต่ 0-5 โดย 5 คะแนนถือเป็น best practice สำหรับในประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมมือกับ FTSE […]

รายได้เท่าไหร่ถึงเสียภาษี ปรึกษาภาษี พึ่งเริ่มทำงานต้องรู้ ฉบับเข้าใจง่าย 2025

รวมข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับภาษี ปรึกษาภาษีกับ FDI ฟรี! รายละเอียดข้อมูลที่ FDI พาไปทำความเข้าใจในบทความนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีความน่าสนใจอย่างไรนั้นไปติตตามกันได้ในบทความนี้ ภาษีคืออะไร  ภาษีคือ การเก็บเงินจากประชาชนหรือองค์กรโดยภาครัฐเป็นผู้จัดเก็บ ซึ่งภาษีเป็นรายได้ที่สำคัญของภาครัฐแทบทุกประเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศและให้บริการสาธารณะ เช่น การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ในสังคมในประเทศไทย  ซึ่งการจ่ายภาษีอากรเป็นหน้าที่ของบุคคลที่ต้องจ่ายหรือชำระให้แก่รัฐ เพื่อที่จะเป็นรายได้ให้รัฐได้นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์โอกาสให้แก่ผู้ด้อยโอกาสและบุคคลอื่นๆ ในสังคม การตั้งใจไม่ชำระภาษี หลบเลี่ยงการชำระ ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญมีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา  ภาษีแบ่งเป็นกี่ประเภท มีอะไรบ้าง สำหรับการจัดเก็บภาษีนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม  ภาษีทางตรง (Direct Tax) คือภาษีที่เรียกเก็บจากรายได้หรือทรัพย์สินของบุคคลหรือองค์กร โดยที่ผู้เสียภาษีจะต้องชำระภาษีตามจำนวนรายได้หรือมูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริง ภาษีทางตรงจะมีลักษณะการเก็บที่ชัดเจน มีความแน่นอน และสามารถคำนวณได้ง่ายจากข้อมูลทางการเงินที่มีอยู่  ตัวอย่างของภาษีทางตรง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: เก็บจากรายได้ของบุคคล เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าลิขสิทธิ์ และรายได้อื่น ๆ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: เก็บจากรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ภาษีมรดก: เรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ตกทอดจากผู้เสียชีวิต ภาษีทรัพย์สิน: เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเรียกเก็บจากเจ้าของทรัพย์สิน ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการ โดยไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรายได้ของผู้เสียภาษี ผู้บริโภคจะต้องชำระภาษีนี้ เมื่อซื้อสินค้าหรือใช้บริการ และผู้ประกอบการจะเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งภาษีไปยังรัฐบาล ซึ่งภาษีทางอ้อมนี้สามารถจัดเก็บได้ง่าย รวดเร็ว เนื่องจากอยู่ในกระบวนการซื้อขาย ถูกรวมไว้ในราคาสินค้าและบริการอยู่แล้ว  ตัวอย่างของภาษีทางอ้อม ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): เรียกเก็บจากการขายสินค้าและบริการ โดยทั่วไปอยู่ที่ 7% ภาษีสรรพสามิต: เก็บจากสินค้าบางประเภท เช่น เหล้า บุหรี่ น้ำมัน  ภาษีการค้า: เช่น ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำเข้าสินค้าหรือการส่งออก เงินเดือนเท่าไหร่ ต้องจ่ายภาษีอย่างไรบ้าง ? เงินเดือนเท่าไหร่ ต้องเสียภาษีอย่างไร? โดยกรมสรรพากรได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ตามระเบียบของสรรพากรได้ระบุว่า ผู้ที่มีรายได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินปันผลจากการดำเนินกิจการ เงินค่าเช่าบ้าน รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ […]

โอกาสใหม่ที่สำคัญ โดยการทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร กุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจ และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

กุญแจสู่ความยั่งยืนในธุรกิจยุคใหม่ ต้องทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร เปลี่ยนองค์กรสู่ความยั่งยืน ในยุคที่ความยั่งยืนกลายเป็นประเด็นสำคัญระดับโลก ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความคาดหวังของสังคมที่มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจการภายใต้ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ทำธุรกิจที่ส่งผลดีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงข้อกำหนด นโยบาย กฏหมายจากภาครัฐ ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กร สามารถก้าวสู่ความยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม นั่นก็คือ การทำ คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization) ซึ่งไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นโอกาสใหม่ที่ดีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ “การทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นความจำเป็นในธุรกิจยุคใหม่ องค์กรที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนจะได้รับผลประโยชน์ทั้งด้านการเงินและภาพลักษณ์ พร้อมก้าวสู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกับโลกใบนี้”  คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรคืออะไร? คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร หมายถึง การวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas – GHG) จากกิจกรรมทั้งหมดขององค์กรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยครอบคลุมกิจกรรมหลัก เช่น การใช้พลังงาน การจัดการของเสีย และการขนส่ง การทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ช่วยให้องค์กรทราบถึงแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซและสามารถกำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ่านต่อ บริการด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก    ทำไมองค์กรต้องทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องทำ ?  ถ้าในสถานการณ์ปัจจุบันก็ต้องบอกว่ามีความจำเป็นที่ธุรกิจต้องทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ส่งออกสินค้าไปสหภาพยุโรป ในกลุ่ม ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน รวมถึงภาคพลังงาน เกษตร และที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อลดการกีดกันทางการค้า รวมถึงโอกาสทางธุรกิจอีกมากมาย ในความจำเป็นสรุปได้ 5 ข้อหลักๆ คือ 1.การปฏิบัติตามข้อกำหนด นโยบาย กฏหมาย  สอดคล้องกับข้อกำหนดนโยบายของระเทศไทย ที่มุ่งเข้าสู้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 และองค์กรธุรกิจ เตรียมรับมือกับ พรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ภาษีคาร์บอน รวมไปถึงมาตรการ CBAM  (Carbon Border Adjustment Mechanism) ของสหภาพยุโรป 2.ลดการกีดกันทางการค้า หรือ การเสียภาษีส่งออกในอัตราที่สูง ธุรกิจที่มีการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศจำเป็นต้องทำทั้งคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และองค์กร เนื่องจากลดการกีดกันมาตรการทางการค้าจากนานาประเทศที่ใช้มาตรการนี้ เช่น CBAM  อ่านต่อ CBAM คืออะไร ?  3.การสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม  ผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การเปิดเผยข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์แสดงถึงความโปร่งใสและความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นการสร้างโอกาสเติบโตของธุรกิจในอนาคต เพราะถ้าโลกนี้อยู่ได้ ธุรกิจก็ไปต่อได้เช่นกัน  4.การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน การวิเคราะห์การปล่อยคาร์บอนช่วยให้องค์กรระบุจุดที่สิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากร ซึ่งนำไปสู่การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ 5.สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ […]

5 เทคนิค การทำบัญชีนิติบุคคลให้มีประสิทธิภาพ จดทะเบียนบริษัทใหม่ทำบัญชีเองดีไหม?

การทำบัญชีนิติบุคคล สำหรับบริษัทที่พึ่งเริ่มต้นธุรกิจ  เมื่อจดทะเบียนบริษัทในรูปแบบของนิติบุคคลแล้ว การทำบัญชีบริษัท จะมีความยากและซับซ้อนในด้านเอกสาร การดำเนินงานมากขึ้น เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลต้องมีผู้จัดทำบัญชีตามหลักการบัญชี เพื่อส่งข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร ฯลฯ    สิ่งที่ต้องดำเนินการหลังจากกิจการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล  1.ดำเนินการแยกบัญชี  โดยเปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัท โดยแยกออกจากบัญชีส่วนบุคคลให้ชัดเจน  2.จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  สำหรับกิจการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท หรือจดภาษีมูลค่าเพิ่มหลังจากจดบริษัทนิติบุคคลได้เลยเช่นกัน  3.ขึ้นทะเบียนลูกจ้างในระบบประกันสังคม  ถ้าหากมีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยมีการจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือน กิจการต้องไปขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างงาน ที่สำนักงานประกันสังคม และนำส่ง ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก ในกรณีที่กิจการมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้สำหรับเงินเดือนของพนักงานที่ถึงเกณฑ์กำหนด  4.เอกสารค่าใช้จ่ายของกิจการหรือบริษัท  การซื้อของหรือเอกสารค่าใช้จ่ายของกิจการทุกอย่าง ต้องซื้อในนามบริษัทเท่านั้น ต้องออกเป็นใบเสร็จรับเงิน/ ใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดต้องมีชื่อ ที่อยู่ของผู้ขาย และต้องระบุชื่อบริษัทของเรา 5.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องมีการหัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในฐานะที่กิจการเป็นผู้จ่ายเงิน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ส่วนหนึ่ง ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ตามอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย  0-5 % แตกต่างกันตามประเภทเงินที่จ่าย 6.การนำส่งภาษี  จัดเตรียมเอกสารทางบัญชี ภาษี รวบรวมเอกสารทั้งรายรับและรายจ่ายของกิจการทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพื่อสรุปข้อมูลและนำส่งภาษี ในปีแรกๆหากมีความพร้อมสามารถรวบรวมเอกสาร จากนั้นค่อยส่งให้สำนักงานบัญชีสรุปบัญชี เพื่อตรวจสอบงบการเงิน และยื่นภาษีที่เกี่ยวข้องของกิจการ หลังจากสิ้นปีแทนกิจการ (ทำบัญชีและปิดงบรายปี) หรืออาจจะเลือกจ้างสำนักงานบัญชีเพื่อบันทึกบัญชีและนำส่งภาษีให้กิจการเป็นรายเดือน (บริการบัญชีรายเดือน) ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน  7.ข้อมูลสวัสดิการพนักงาน  หากเป็นคนไทยนายจ้างต้องปฏิบัติตามกฏหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเคร่งครัด เช่น การกำหนดเวลาในการทำงาน ไม่เกิน 8 ชม/วัน หรือตามที่นายจ้าง ลูกจ้างตกลงกัน และไม่เกิน 48 ชม./สัปดาห์ มีวันลาต่าง ๆ ชัดเจน มีค่าตอบแทน ค่าล่วงเวลาตามเหมาะสม รวมถึงการปฏิบัติต่อกันและกัน โดยยึดถือข้อปฏิบัติตามที่กฏหมายได้ระบุเอาไว้ เพื่อไม่ให้เกิดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง อ่านต่อเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง : กฏหมายคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กรณีที่มีแรงงานต่างด้าวทำงานในบริษัท การจ้างแรงงานต่างด้าวในไทย โดยส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ต้องใช้แรงงาน ซึ่งจะทำการจ้างงานภายใต้ข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ (MOU) สำหรับต่างด้าวจาก […]

Visa Non B เส้นทางสำคัญสู่การทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย ชาวต่างชาติมาทำงานไทยต้องรู้!! อัพเดต 2025

 Visa Non B  ความสำคัญต่อต่างชาติที่มาทำงานในประเทศไทย  สำหรับวีซ่า Non-B หรือ Non-Immigrant B คือ วีซ่าที่ออกให้แก่บุคคลที่ต้องการเดินทางเข้ามาพำนักในประเทศไทยเป็นเวลาชั่วคราว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำงาน ประชุม หรือการติดต่อธุรกิจโดยเฉพาะ เป็นวีซ่าสำหรับชาวต่างชาติ ที่จำเป็นสำหรับผู้ที่มีแผนที่จะทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือทำธุรกิจในฐานะผู้ลงทุน หรือผู้ประกอบการ ซึ่งวีซ่านี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “วีซ่าธุรกิจ” ที่เป็นหนึ่งในประเภทของวีซ่าคนอยู่ชั่วคราว หรือ Non-Immigrant Visa ประเภทของวีซ่า Non-Immigrant ในประเทศไทย  โดยแบ่งแยกตามวัตถุประสงค์ของผู้ยื่นในการเข้ามาในประเทศไทยได้ ดังนี้ 1.ประเภท B (วีซ่า Non B) หรือ วีซ่าธุรกิจ : สำหรับผู้ต้องการทำงาน หรือ ติดต่อธุรกิจในไทย วัตถุประสงค์วีซ่า : สำหรับการทำงานและประกอบธุรกิจ รายละเอียด: Non-B for Work : สำหรับผู้ที่มีนายจ้างในประเทศไทยและต้องการทำงาน Non-B for Business : สำหรับนักธุรกิจ ผู้ลงทุน หรือผู้ประกอบการที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย 2.ประเภท B-A (วีซ่า Non B – A) : สำหรับผู้ต้องการลงทุนกับบริษัทในไทย รายละเอียด : เป็นประเภทของวีซ่าที่ออกให้สำหรับ ชาวต่างชาติที่มีแผนการมาทำงานในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ ผู้ที่ทำงานในบริษัทที่มีการร่วมทุนกับรัฐไทย หรือในองค์กรที่มีการจัดการภาครัฐ หรือ บุคคลที่ต้องทำงานเกี่ยวกับภาครัฐ วีซ่าประเภทนี้มีจุดประสงค์ในการอำนวยความสะดวกในการทำงานในองค์กรที่มีการสนับสนุนจากภาครัฐ และโดยทั่วไปจะออกให้แก่บุคคลที่ต้องการทำงานกับองค์กรในภาครัฐ เช่น การร่วมทุนหรือทำงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของรัฐบาล 3.ประเภท D : สำหรับผู้ทำงานในสถานทูตของประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ของประเทศไทย รายละเอียด : เป็นวีซ่าที่ออกให้แก่ บุคคลที่ทำงานในสถานทูตหรือองค์กรระหว่างประเทศ ของประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แต่มีสถานทูตหรือคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ทำงานในสถานทูตของประเทศต่าง ๆ ในประเทศไทย หรือผู้ที่ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ หรือองค์กรอื่น ๆ ที่ดำเนินงานในประเทศไทย 4.ประเภท ED : สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในไทย วัตถุประสงค์วีซ่า : สำหรับการศึกษา รายละเอียด […]

รวมเทรนด์ Climate Tech นวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net Zero ตัวช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม

จับตา”เทรนด์ Climate Tech” ที่มีช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร อย่างที่เราทราบกันดีว่าในปัจจุบันภาวะโลกร้อนนั้น เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมทั่วโลก สาเหตุหลักมาจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเพิ่มความร้อนในระบบโลกและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกต่างต้องร่วมมือกัน การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Tech มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ นำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษ และมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ตามที่ประเทศไทยตั้งเป้าไว้  จากงานวิจัยที่น่าสนใจจาก McKinsey เกี่ยวกับในเรื่องของ “Climate Tech” ที่มีส่วนช่วยในการควบคุมภูมิอากาศด้วยเทคโนโลยี เป็นนวัตกรรมการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษ ซึ่งคาดว่าหากได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ก็จะสามารถช่วยลดการปล่อยมลพิษได้ประมาณ 60% เพื่อรักษาเสถียรภาพของสภาพอากาศภายในปี ค.ศ. 2050 ด้วย 5 กลุ่ม Climate Tech ที่สามารถดึงดูดเงินลงทุนกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2025 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% ภายในปี ค.ศ. 2050 ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า (Electrification) เกษตรกรรม (Agriculture) สร้างโครงข่ายไฟฟ้า (Power grid) การใช้ไฮโดรเจน (Hydrogen) การดักจับคาร์บอน (Carbon capture) ในเรื่องของ Climate Tech ที่ได้รับการพัฒนา ปรับเปลี่ยน นับว่าเป็นเรื่องที่น่าติดตามกันต่อ ในบทความนี้ FDI จะพามาดู 5 เทคโนโลยีที่น่าสนใจ รวมไปถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นหากต้องการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในการขยายธุรกิจ แต่ละเทคโนโลยีจะมีความน่าสนใจอย่างไรนั้น ไปติดตามกันได้ในบทความนี้  รวม 5 เทรนด์ที่น่าสนใจในการลดภาวะโลกร้อนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  1.การเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานให้อยู่ในพลังงานไฟฟ้า (Electrification)  ถ้าหากจะเปลี่ยนพลังงานที่ใช้อยู่แล้วในปัจจุบันทั้งหมดให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยทันทีคงไม่สามารถทำได้ แต่ต้องเริ่มจากการอาศัยการเปลี่ยนพลังงานทั้งของตัวอาคาร เครื่องจักรอุตสาหกรรม รวมถึงยานยนต์เดิมที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลในการขับเคลื่อนปรับเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า หรือใช้พลังงานสะอาดเป็นทางเลือก เช่น รถยนต์ เปลี่ยนมาใช้แบตเตอรี่ EV  ระบบอาคารก่อสร้างให้ปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ หรือระบบเตาเผาอุตสาหกรรมโดยเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก  การพัฒนาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าให้ดีกว่าเดิม หาแนวทางพัฒนาแบตเตอรี่ EV ให้ดีกว่าเดิม และลดต้นทุนแบตเตอรี่ให้ได้ครึ่งหนึ่งของยานยนต์ EV หรือจะต้องต่ำกว่าราคาแบตเตอรี่ในปัจจุบันที่อยู่ที่ 100 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ โดยการปรับปรุงส่วนประกอบภายในเพื่อที่จะเพิ่มความหนาแน่นพลังงานและลดต้นทุนซึ่งเห็นได้จากบริษัทผู้ผลิตต่างเริ่มเปลี่ยนจากผลิตด้วยลิเธียมเป็นหลัก มาผลิตแอโนดที่มีซิลิกอนสูงขึ้น มีการเปลี่ยนสถานะการทำงานของแบตเตอรี่ลิเธียมจากของเหลวกลายเป็นของแข็ง เพื่อจะได้จุแบตเตอรี่สูงเป็นพิเศษ และมีความปลอดภัยในการใช้งานมากกว่าเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในปัจจุบัน  […]

เปิดอันดับ 5 ประเทศในอาเซียน เงินเดือนสูง ไทยติดอันดับสอง รองสิงคโปร์ คนทำงานต้องอ่าน ขั้นตอนต่อ work permit แต่ละประเทศ

เปิดอันดับ 5 ประเทศที่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูง ! ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ภูมิภาคที่ถูกจับตาจากนักลงทุนจากทั่วโลก ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทั้งจากทรัพยากรทางธรรมชาติ ประชากร ศักยภาพในการเติบโตและพัฒนาได้  โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่กำลังถูกบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่ทั่วโลก จับตาละหันมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง           จากนโยบายความร่วมมือของภูมิภาคอาเซียนที่มีการลงนามร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เป็นตลาดและฐานผลิตเดียวกัน เช่น การลงทุน สินค้าและบริการ ต่าง ๆ รวมทั้งแรงงานฝีมือ และมีการลงทุนอย่างเสรี ซึ่งทำให้การถ่ายเทแรงงานด้านฝีมือเพื่อให้สามารถทำงานในประเทศสมาชิกได้ง่ายขึ้นใน 8 สาขาอาชีพ คือ  วิศวกรรม การสำรวจ สถาปัตยกรรม แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล บัญชี การบริการ/การท่องเที่ยว         ในส่วนอาชีพอิสระที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองสามารถเคลื่อนย้ายไป ทำงานในประเทศแถบอาเซียนได้ทันที โดยไม่มีการปิดกั้น อาชีพที่ได้ตกลงไว้คือ แพทย์ พยาบาล บัญชี สถาปนิก วิศวกร ซึ่งการไปทำงานในต่างประเทศหรือชาวต่างชาติมาทำงานในไทยก็จำเป็นที่จะต้องมี การขอ Work Permit ซึ่งในอาเซียนจะแตกต่างกันไปตามกฎหมายแรงงานและข้อกำหนดของแต่ละประเทศ  ความสำคัญต่อ work permit ของการทำงานในต่างชาติ  ทำงานในต่างประเทศต้องรู้ work permit  คืออะไร  Work Permit หรือ ใบอนุญาตทำงาน คือ เอกสารทางกฎหมายที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาลให้กับบุคคลที่เป็นชาวต่างชาติ ที่ต้องการทำงานในประเทศนั้น ๆ โดยที่ไม่ใช่พลเมืองของประเทศนั้น ๆ ซึ่งในกรณีของประเทศไทย ใบอนุญาตทำงานนี้จะออกโดย กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถทำงานในประเทศไทยได้ตามกฎหมาย อ่านต่อ คลิก !   ทำไมต้องมี Work Permit ? ในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ประเทศไทย การจ้างชาวต่างชาติทำงานโดยไม่มี Work Permit ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และอาจได้รับโทษทั้งนายจ้างและลูกจ้างได้ นอกจากนี้การมี Work Permit ยังช่วยให้การจ้างงานชาวต่างชาติเป็นไปอย่างถูกต้องและโปร่งใส อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบสิทธิ์ในการทำงานของบุคคลนั้นได้ อ่านต่อคลิก !    เปิดอันดับ 5 ประเทศรายได้สูงในอาเซียน ไทยติดอันดับ 2 รองสิงคโปร์  Time Doctor […]

การวางระบบบัญชีบริษัท เกี่ยวกับการเปิดบัญชีนิติบุคคล สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ดี สำหรับผู้ประกอบการเริ่มต้นกิจการมือใหม่ !

การดำเนินการวางแผนธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่คัญ ซึ่งหนึ่งในขั้นตอนการเปิดบริษัทใหม่ ก็คือการเปิดบัญชีนิติบุคคล โดยแยกบัญชีออกจากบัญชีส่วนตัว โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการวางแผนภาษี และการเงิน การทำบัญชี โดยในส่วนนี้ก็จะมีบทบาทที่สำคัญในการทำธุรกิจในแทบทุกมิติ คู่มือสำหรับเจ้าของธุรกิจมือใหม่ การวางระบบบัญชีบริษัท ก้าวแรกสู่การบริหารการเงินธุรกิจอย่างมืออาชีพ ทำไมต้องเปิดบัญชีบริษัท ? การวางแผนทางการเงินในการประกอบธุรกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการทำธุรกิจสิ่งที่พ่วงตามมาด้วยคือการวางแผนภาษี มีการทำบัญชี ให้ทราบการเคลื่อนไหวทางการเงินบริษัท เมื่อทราบถึงการเงินก็จะสามารถวางแผนด้านอื่น ๆ ให้บรรลุเป้าหมายได้โดยง่าย ที่สำคัญการเปิดบัญชีบริษัทจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือมากกว่าบัญชีในนามบุคคล แต่ถึงจะใช้บัญชีนามบุคลก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ไม่ได้สร้างความน่าเชื่อถือนั่นเอง เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ก็จะตอบโจทย์ในเรื่องของการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรอีกด้วย  โดยการเปิดบัญชีบริษัทก็สามารถเปิดได้ด้วยจำนวนเงินขั้นต่ำของแต่ละประเภท สามารถสมัครบริการทางออนไลน์ในแต่ละธนาคารไว้เพื่อให้สามารถทำธุรกรรมทางธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งด้านการชำระเงิน การจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน หรือแม้แต่การกู้ยืมในรูปแบบสินเชื่อที่จะใช้พัฒนาธุรกิจในอนาคต   เริ่มต้นธุรกิจด้วยความมั่นใจ การเปิดบัญชีนิติบุคคลคือก้าวแรกที่สำคัญ ทำไมการแยกบัญชีจึงสำคัญ? แยกบัญชีส่วนตัวออกจากบัญชีธุรกิจ การแยกบัญชีส่วนตัวออกจากบัญชีธุรกิจไม่เพียงช่วยในการจัดการการเงินที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงด้านกฎหมาย สร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารธุรกิจ กิจการ    5 เหตุผลข้อดี ที่ทำไมผู้ประกอบการมือใหม่ ต้องเปิดบัญชีแยก !  1.ทำให้การจัดการการเงินมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้  ความชัดเจนในรายรับ-รายจ่าย : ช่วยให้ติดตามรายรับและรายจ่ายของธุรกิจได้ง่ายขึ้น โดยไม่มีการปะปนกับค่าใช้จ่ายส่วนตัว การตรวจสอบบัญชีง่าย : หากมีการตรวจสอบบัญชี (audit) หรือการจัดทำรายงานการเงิน จะช่วยให้ไม่เกิดความสับสนระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนตัวกับธุรกิจ 2.ช่วยในการคำนวณภาษีที่ถูกต้อง ง่ายมากขึ้น การยื่นภาษีที่แม่นยำ: การแยกบัญชีช่วยให้การคำนวณรายได้สุทธิและค่าใช้จ่ายของธุรกิจชัดเจน และลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากร การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี: ค่าใช้จ่ายทางธุรกิจสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน 3.สร้างความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ ความเป็นมืออาชีพ: การใช้บัญชีธุรกิจแสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการที่มีระบบและมืออาชีพ สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าและคู่ค้า: คู่ค้าหรือลูกค้ามักไว้วางใจธุรกิจที่แยกการเงินชัดเจน และสามารถออกใบแจ้งหนี้หรือรับเงินผ่านบัญชีธุรกิจโดยตรง 4. การป้องกันปัญหาทางกฎหมาย ลดความเสี่ยงความรับผิดส่วนตัว: การปะปนรายได้ส่วนตัวและธุรกิจอาจทำให้เกิดปัญหาด้านกฎหมาย เช่น หากธุรกิจมีหนี้สิน เจ้าหนี้อาจอ้างสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวได้ ความชัดเจนด้านกฎหมาย : โดยเฉพาะสำหรับบริษัทจำกัดที่ต้องรักษาความแยกจากทรัพย์สินส่วนตัว 5. การจัดการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ การวางแผนงบประมาณที่ดี: ช่วยให้สามารถวางแผนรายจ่ายและการลงทุนในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การขอสินเชื่อธุรกิจ: ธนาคารมักพิจารณาบัญชีธุรกิจเพื่อประเมินศักยภาพและความน่าเชื่อถือของธุรกิจ   ขั้นตอนการเปิดบัญชีบริษัท การเปิดบัญชีธนาคารสำหรับบริษัทในประเทศไทยต้องเตรียมเอกสารและดำเนินการตามขั้นตอนที่ธนาคารกำหนด ในแต่ละธนาคารจะมีข้อกำหนด เงื่อนไขต่างกันออกไปในบางกรณี โดยแนะนำให้อ่านละเอียดแต่ละธนาคารได้ที่เว็บไซต์ธนาคารที่สนใจ ซึ่งลำดับขั้นตอนการเปิดบัญชีบริษัท จะมีลำดับขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนการเปิดบัญชีบริษัทที่ธนาคารสำหรับบริษัทในประเทศไทย 1. การเตรียมเอกสารของบริษัทและเอกสารเจ้าของกิจการ กรรมการที่มีอำนาจให้พร้อม โดยตรวจสอบและเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนก่อนติดต่อธนาคารเพื่อความเรียบร้อย รวดเร็ว  เอกสารที่ต้องเตรียม  หนังสือรับรองการจดทะเบียนธุรกิจ ที่นายทะเบียนรับรอง ไม่เกิน 6 เดือน รายงานการประชุม หรือหนังสือแจ้งความประสงค์ขอเปิดบัญชี […]

ตลาดราคาคาร์บอนเครดิตในไทย น่าจับตา ! แนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับตลาดโลก โอกาสใหม่ของความยั่งยืน

ประเทศไทย มีการจัดทำโครงการการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคสมัครใจ โดยใช้ชื่อว่า Thailand Voluntary Emission Reduction Program หรือ T-VER ซึ่งมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) โดยเป็นหน่วยงานที่ดูแลการขึ้นทะเบียน และ การรับรองคาร์บอนเครดิต โดยเป็นกลไกคาร์บอนเครดิตในรูปแบบ Governmental Crediting Mechanism คาร์บอนเครดิตคืออะไร ราคาคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย ความสำคัญที่เราต้องรู้ คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงหรือกักเก็บได้จากการทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกเมื่อเทียบกับกรณีการดำเนินธุรกิจตามปกติ มีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) ซึ่งปริมาณที่จะลดลงหรือกักเก็บนั้นต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานต่าง ๆ และสามารถนำไปซื้อขายระหว่างผู้ต้องการชดเชยการปล่อยคาร์บอนและผู้ที่ลดการปล่อยคาร์บอนได้  คาร์บอนเครดิต มาจากโครงการหลักๆ ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) และสร้างคาร์บอนเครดิตที่สามารถนำไปซื้อขายได้ โดยทั่วไปแล้ว โครงการเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ  1. โครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Reduction Projects) การลดการปล่อยก๊าซในอุตสาหกรรมหรือกระบวนการผลิตมุ่งเน้นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานสะอาด, การใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซ , การกำจัดน้ำเสีย ของเสีย , หรือการปรับปรุงเครื่องจักรให้มีการปล่อยก๊าซต่าง ๆ น้อยลง การเปลี่ยนแปลงในภาคพลังงานโครงการที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทน เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ (solar panels) หรือการใช้พลังงานลม (wind power) เป็นต้น  2. โครงการดูดซับคาร์บอน (Carbon Sequestration Projects) โครงการปลูกต้นไม้และการฟื้นฟูป่าเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการปลูกต้นไม้ มีวัตถุประสงค์เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศ เช่น โครงการการปลูกป่า, การป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า, หรือการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่ไม่เคยมีป่า การฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำและการจัดการดินการปรับปรุงพื้นที่ชุ่มน้ำหรือการจัดการดินเพื่อให้สามารถดูดซับคาร์บอนได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีต หรือการปรับปรุงการใช้ที่ดินในเกษตรกรรมที่สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนมากขึ้น ทั้งสองประเภทนี้มีบทบาทสำคัญในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและช่วยให้องค์กรต่าง ๆ นั้น บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อกำหนดของข้อตกลงระหว่างประเทศได้รวดเร็วหรือเป็นไปตามเป้าหมายมากขึ้น  โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินธุรกิจปกติ จะต้องได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียนตามมาตรฐานต่างๆ เป็นคาร์บอนเครดิตก่อน ผู้ดำเนินโครงการลดคาร์บอน (Supply) จึงจะสามารถนำไปขายแก่ผู้ต้องการชดเชยการปล่อยคาร์บอน (Demand) ได้นั่นเอง  ราคาคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยราคาการซื้อขาย สามารถตรวจสอบและเช็คล่าสุดได้ที่เว็บไซต์ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) คาร์บอนเครดิตเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก  ทำไมคาร์บอนเครดิตถึงมีความสำคัญต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ? คาร์บอนเครดิตเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ใช้ในการกระตุ้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก […]

ต่างชาติสามารถถือหุ้น 100 % ได้หรือไม่ การขอรับในอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ข้อมูลที่ต้องรู้ ขั้นตอนการขอเอกสาร FBL และ FBC

การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว FBL FBC คืออะไร  ความแตกต่าง ? FDI พาทำความรู้จัก ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว FBL , FBC ความหมายคืออะไร รวมถึงขั้นตอนการขอ และเอกสารที่ต้องรู้ การเข้ามาประกอบธุรกิจหรือทำงานในประเทศไทยนั้น สำหรับชาวต่างชาติหรือต่างด้าวจะมีข้อกำหนดทางด้านกฏหมาย รวมถึงขั้นตอนที่กหนดไว้โดยเฉพาะ สำหรับการขอใบอนุญาตหรือใบประกอบกิจการสำหรับธุรกิจที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติในประเทศไทยจะเกี่ยวข้องกับสองประเภทหลักๆ คือ Foreign Business Certificate (FBC) และ Foreign Business License (FBL) ซึ่งนี้มีความแตกต่างกันในแง่ของการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจและประเภทของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต เจาะรายละเอียดข้อมูลของ FBL และ FBC  ใบอนุญาตที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทย หรือ  Foreign Business License (FBL)  คือใบอนุญาตที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทยในลักษณะที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งใบนี้เป็นการอนุมัติที่ออกให้แก่บริษัทต่างชาติที่มีการยื่นขออนุญาตและได้รับการอนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์ ขั้นตอนการขอ FBL  กระบวนการขอ FBL จะต้องมีการตรวจสอบตามเกณฑ์ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด เช่น การมีหุ้นส่วนไทยที่มีสัดส่วนอย่างน้อย 51% หรือการมีธุรกิจในประเภทที่ได้รับอนุญาต ปรึกษาเรา ให้คำปรึกษาการยื่นขอฟรี !  ใบรับรองที่ออกให้กับบริษัทต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย หรือ Foreign Business Certificate (FBC) เป็นใบรับรองที่ออกให้กับบริษัทต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งการขอใบอนุญาตนี้จะมีข้อจำกัดในเรื่องประเภทของธุรกิจที่สามารถทำได้ตามที่กำหนดใน พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยเฉพาะตาม บัญชี 3 ซึ่งเป็นรายการธุรกิจที่คนต่างด้าวไม่สามารถทำได้เอง หรือสามารถทำได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาล ขั้นตอนการขอ FBC   บริษัทต้องสมัครเพื่อขอ FBC โดยมักจะต้องยื่นเอกสารและข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทต่างชาติจะประกอบธุรกิจในไทยตามประเภทที่อนุญาต การขอ FBC มักเกี่ยวข้องกับการมีผู้ถือหุ้นไทยอย่างน้อย 51% ในกรณีที่กิจการนั้นอยู่ในหมวดหมู่ที่มีข้อจำกัดตามพระราชบัญญัติ ปรึกษาเรา ให้คำปรึกษาการยื่นขอฟรี !  การขอ Foreign Business Certificate (FBC) และ Foreign Business License (FBL) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งธุรกิจของต่างชาติในประเทศไทย โดย FBC เป็นใบรับรองที่อนุญาตให้เริ่มต้นการดำเนินธุรกิจ ส่วน FBL เป็นใบอนุญาตที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้จริงตามประเภทที่กฎหมายกำหนด ทั้งสองใบอนุญาตนี้มีความสำคัญและต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด  รูปแบบธุรกิจที่ต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว บริษัทที่มีการจดจัดตั้งใหม่ โดยมีผู้ถือหุ้นข้างมากเป็นชาวต่างชาติ สาขาของบริษัทต่างชาติ (Branch […]

1 2 3 16