สมาร์ทวีซ่า (SMART Visa) เป็นวีซ่าประเภทพิเศษที่รัฐบาลไทยกำหนดขึ้นเพื่อดึงดูดบุคลากรทักษะสูงและนักลงทุนที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ที่เรียกว่า S-Curve โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ตามอุตสาหกรรม ดังนี้
- อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive)
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
- อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
- อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
- อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food for the Future)
- อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Automation and Robotics)
- อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
- อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
- อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
- อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
- การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution)
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Human Resource Development in Science and Technology)
- การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน (Environmental Management and Renewable Energy)
วัตถุประสงค์ของสมาร์ทวีซ่า
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการดึงดูดแรงงานทักษะสูงและนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เติบโตและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่
SMART Visa มีกี่ประเภท ?
Smart “T” สำหรับผู้เชี่ยวชำญทักษะสูง (Talent)
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้ามาทำงานในกิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น นักพัฒนา วิศวกรสาขาต่างๆ นักวิจัย เป็นต้น
คุณสมบัติและหลักเกณฑ์
- มีเงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100,000 บาท/เดือน หรือเทียบเท่า
- มีสัญญาจ้างหรือสัญญาบริการกับกิจการในไทยหรือกิจการในต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 1 ปี
- ต้องได้รับการรับรองความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
- กิจการที่ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจะต้องได้รับการรับรองว่าอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
Smart “I” สำหรับนักลงทุน (Investor)
สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีและอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย
คุณสมบัติและหลักเกณฑ์
- ต้องลงทุนโดยตรงในนามบุคคลไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และสามารถลงทุนได้มากกว่าหนึ่งกิจการ
- ต้องลงทุนในกิจการนั้นๆ ตลอดระยะเวลาที่ถือ SMART Visa
- กิจการที่จะจัดตั้งขึ้นหรือรับการลงทุน จะต้องได้รับการรับรองว่าเป็นกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการและเป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
Smart “E” สำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive)
สำหรับผู้บริการระดับสูงที่ทำงานในกระบวนการผลิตและการให้บริการ ในอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย
คุณสมบัติและหลักเกณฑ์
- เงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 200,000 บาท/ เดือน หรือเทียบเท่า
- คุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าและมีประสบการณ์ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 10 ปี
- มีสัญญาจ้างงานกับกิจการในไทยหรือมีสัญญาจ้างงานกับ กิจการในต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 1 ปี
- ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เช่น ประธานกรรมการผู้จัดการ
Smart “S” สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup)
ชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของสตาร์ตอัปที่ใช้เทคโนโลยีและอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย เช่น ด้านการเงิน ด้านการบริการ และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติและหลักเกณฑ์
- มีเงินฝากในบัญชีไม่น้อยกว่า 600,000 บาท หรือเทียบเท่า และถือครองมาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน
- มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่พนักในประเทศไทย
- กรณีมีคู่สมรสและบุตรตามกฏหมาย ต้องมีเงินฝากในบัญชีเพิ่มไม่น้อยน้อย 180,000 บาท หรือเทียบเท่าต่อคน และถือครองมาไม่ต่ำ 3 เดือน
- ผู้ขอต้องเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubation) หรือ โดครงการเร่งการเติบโต (Accelerator) หรือ ได้รับการร่วมลงทุนจากภาครัฐ
SMART “O” คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ได้รับสิทธิ (Other)
SMART Visa O ออกให้กับคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ได้รับสิทธิ SMART Visa ทุกประเภท
สิทธิประโยชน์ของสมาร์ทวีซ่า
ผู้ถือสมาร์ทวีซ่าจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
- รายงานตัวปีละ 1 ครั้ง ที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุณาตทำงาน (OSS)
- ได้รับวีซ่าที่มีระยะเวลานานถึง 4 ปี และสามารถขยายได้ครั้งละไม่เกิน 4 ปี
- ไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงานสำหรับการทำงานในกิจการที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- สามารถนำครอบครัวเข้ามาพำนักในประเทศไทยได้
- สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและอื่นๆ ที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้สำหรับนักลงทุนและผู้มีทักษะสูง
- สามารถใชช้ช่องทางพิเศษในการเขา-ออกประเทศไทยได้
- สามารถเข้า-ออกประเทศไทยได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
ความคืบหน้าของสมาร์ทวีซ่า
ตั้งแต่เริ่มบังคับใช้จนถึงมกราคม 2565 มีผู้ยื่นขอสมาร์ทวีซ่ามาแล้วจำนวน 3,200 ราย โดยเป็นชาวต่างชาติจากประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารระดับสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
สมาร์ทวีซ่าเป็นนโยบายที่มีศักยภาพในการช่วยดึงดูดแรงงานทักษะสูงและนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาทำงานหรือลงทุนในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยควรดำเนินการแก้ไขปัจจัยท้าทายต่างๆ เพื่อให้นโยบายนี้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการขอวีซ่าทาง FDI Accounting & Advisory เป็นบริษัทรับทำวีซ่า จากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และความรู้ ความสามารถมากกว่า 28 ปี ที่ซึ่งจะช่วยการยื่นขอวซ่าเป็นเรื่องง่าย สะดวก ประหยัดเวลา ซึ่งเราให้บริการทั้งผู้ที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศ หรือ ต้องการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ช่วยดูแลทั้งการยื่นวีซ่า ใบอนุญาตต่างๆ ใบรับรอง และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น การต่ออายุวีซ่า การของใบอนุญาตดารทำงาน สามารถตรวจสอบและขอรับบริการของเราได้ ที่นี่ ไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อการเดินทางที่เรียบรื่นของคุณ !
FDI Accounting & Advisory ที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างครบวงวจร ง่าย ครบ จบ ในที่เดียว!
📞 Phone : 02 626 5999
📧 E-mail : infojob@fdi.co.th
🌐 www.fdi.co.th
ขอบคุณข้อมูลจาก >> ที่มา
บทความที่เกี่ยวข้อง
Q&A ตอบคำถามทุกข้อเกี่ยวกับ วีซ่าทำงานในไทย
วีซ่าทำงานในไทย เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการทำงานในประเทศไทย บทความนี้จะตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวีซ่าประเภทนี้...
Read Moreขั้นตอน การทำวีซ่า คู่มือฉบับสมบูรณ์ !
การเดินทางไปต่างประเทศในปัจจุบัน หลายๆ ประเทศจำเป็นต้องขอวีซ่าก่อนเข้าประเทศ...
Read More