การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 (COP28) จัดขึ้นที่นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม 2566 โดยมีผู้แทนจากรัฐภาคีทั่วโลก 197 ประเทศเข้าร่วม โดยประเทศต่างๆ ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่ถกเถียงกันในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่
- การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- การพัฒนาพลังงานหมุนเวียน
- การช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยผลสรุปการประชุมมีดังนี้
- ประเทศต่างๆ ตระหนักถึงความจำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเชิงลึกอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง 1.5 องศาเซลเซียส
- เรียกร้องให้เพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกเป็น 3 เท่าภายในปี 2030
- เร่งความพยายามในการลดปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินลง
- เรียกร้องให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการปล่อยคาร์บอนต่ำและคาร์บอนเป็นศูนย์

อย่างไรก็ตาม การประชุม COP28 ครั้งนี้ยังมีประเด็นที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจน เรื่อง “การเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล” กลุ่มประเทศที่สนับสนุนการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี ระบุว่า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโลก เช่น อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ภัยแล้ง น้ำท่วม และพายุรุนแรง
ในทางกลับกัน กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ เช่น ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย และอินโดนีเซีย ระบุว่า การยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา
โดยจุดยืนของประเทศไทย คือ การมุ่งมั่นในการดำเนินการตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ภายในปี 2573 โดยได้ปรับปรุงแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด ภายในปี 2573 และจะต้องปรับเปลี่ยนระบบนิเวศเศรษฐกิจให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่คำนึงถึงประชาชนทุกภาคส่วน
โดยสรุป การประชุม COP28 ครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเด็นที่จำเป็นต้องหารือกันต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

จากการประชุมครั้งที่ 28 และการประชุมที่ผ่านๆมา จะเห็นได้ว่า นานาประเทศให้ความสำคัญและตื่นตัวกันเป็นอย่างมากกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยที่สุด ซึ่งในอนาคตอาจจะมีเรื่องข้อกฏหมายเข้ามาควบคุมอย่างแน่นอน และประเทศไทยที่ตั้งเป้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในน้อยที่สุด ภายในปี 2573 ดั้งนั้นภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมควรเตรียมตัวให้พร้อมการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ซึ่งทาง FDI Accounting and Advisory เป็นที่ปรึกษาธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมที่พร้อมให้คำแนะนำและเตรียมพร้อมธุรกิจของคุณสู่สากล
FDI Accounting & Advisory ที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างครบวงวจร • ง่าย • ครบ • จบ • ในที่เดียว!
📞 Phone : 02 626 5999
📧 E-mail : infojob@fdi.co.th
🌐 www.fdi.co.th
ขอบคุณที่มาจาก
ข่าวสารอื่นๆ
FDI Group ร่วมงาน “การบริหารจัดการธุรกิจไผ่ไม้เศรษฐกิจชุมชน Carbon Net Zero” สร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืน
เมื่อวันพุธที่ 8 สิงหาคม...
Read MoreFDI Group เข้าร่วมออกบูธในงานสัมมนา “ปลดล็อคศักยภาพโรงงานของคุณด้วยพลังดิจิทัล”
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม...
Read More