ต่างชาติสามารถถือหุ้น 100 % ได้หรือไม่ การขอรับในอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ข้อมูลที่ต้องรู้ ขั้นตอนการขอเอกสาร FBL และ FBC

ต่างชาติสามารถถือหุ้น 100 % ได้หรือไม่ การขอรับในอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ข้อมูลที่ต้องรู้ ขั้นตอนการขอเอกสาร FBL และ FBC

การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว FBL FBC คืออะไร  ความแตกต่าง ?

FDI พาทำความรู้จัก ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว FBL , FBC ความหมายคืออะไร รวมถึงขั้นตอนการขอ และเอกสารที่ต้องรู้

การเข้ามาประกอบธุรกิจหรือทำงานในประเทศไทยนั้น สำหรับชาวต่างชาติหรือต่างด้าวจะมีข้อกำหนดทางด้านกฏหมาย รวมถึงขั้นตอนที่กหนดไว้โดยเฉพาะ สำหรับการขอใบอนุญาตหรือใบประกอบกิจการสำหรับธุรกิจที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติในประเทศไทยจะเกี่ยวข้องกับสองประเภทหลักๆ คือ Foreign Business Certificate (FBC) และ Foreign Business License (FBL) ซึ่งนี้มีความแตกต่างกันในแง่ของการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจและประเภทของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต 

เจาะรายละเอียดข้อมูลของ FBL และ FBC 

  • ใบอนุญาตที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทย หรือ  Foreign Business License (FBL) 

คือใบอนุญาตที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทยในลักษณะที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งใบนี้เป็นการอนุมัติที่ออกให้แก่บริษัทต่างชาติที่มีการยื่นขออนุญาตและได้รับการอนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์

ขั้นตอนการขอ FBL 

 กระบวนการขอ FBL จะต้องมีการตรวจสอบตามเกณฑ์ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด เช่น การมีหุ้นส่วนไทยที่มีสัดส่วนอย่างน้อย 51% หรือการมีธุรกิจในประเภทที่ได้รับอนุญาต

ปรึกษาเรา ให้คำปรึกษาการยื่นขอด้วยผู้เชี่ยวชาญ !

  • ใบรับรองที่ออกให้กับบริษัทต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย หรือ Foreign Business Certificate (FBC)

เป็นใบรับรองที่ออกให้กับบริษัทต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งการขอใบอนุญาตนี้จะมีข้อจำกัดในเรื่องประเภทของธุรกิจที่สามารถทำได้ตามที่กำหนดใน พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยเฉพาะตาม บัญชี 3 ซึ่งเป็นรายการธุรกิจที่คนต่างด้าวไม่สามารถทำได้เอง หรือสามารถทำได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาล

ขั้นตอนการขอ FBC  

  • บริษัทต้องสมัครเพื่อขอ FBC โดยมักจะต้องยื่นเอกสารและข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทต่างชาติจะประกอบธุรกิจในไทยตามประเภทที่อนุญาต
  • การขอ FBC มักเกี่ยวข้องกับการมีผู้ถือหุ้นไทยอย่างน้อย 51% ในกรณีที่กิจการนั้นอยู่ในหมวดหมู่ที่มีข้อจำกัดตามพระราชบัญญัติ

ปรึกษาเรา ให้คำปรึกษาการยื่นขอ !

การขอ Foreign Business Certificate (FBC) และ Foreign Business License (FBL) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งธุรกิจของต่างชาติในประเทศไทย โดย FBC เป็นใบรับรองที่อนุญาตให้เริ่มต้นการดำเนินธุรกิจ ส่วน FBL เป็นใบอนุญาตที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้จริงตามประเภทที่กฎหมายกำหนด ทั้งสองใบอนุญาตนี้มีความสำคัญและต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด

 รูปแบบธุรกิจที่ต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 

  1. บริษัทที่มีการจดจัดตั้งใหม่ โดยมีผู้ถือหุ้นข้างมากเป็นชาวต่างชาติ
  2. สาขาของบริษัทต่างชาติ (Branch Office)
  3. บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมในการลงทุน (Board of Investment)

ประเภทของธุรกิจที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติฯ 

ธุรกิจบางประเภทจะสงวนให้ไว้เฉพาะคนไทย ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการขอรับในอนุญาตของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 

บัญชีที่ 1 

เป็นธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ

บัญชีที่ 2

ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีหัตกรรมกรรมพื้นบ้านหรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคนต่างด้าวจะ ประกอบธุรกิจได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี  

บัญชีที่ 3

ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนคนต่างด้าว คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว รายละเอียดธุรกิจในแต่ละบัญชี ติดตามต่อในบทความถัดไป

คำจำกัดความของคนต่างด้าว ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจบางประเภท และบางประเภทจะประกอบธุรกิจได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองแล้วแต่กรณี 

คำจัดความของคนต่างด้าว ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 

1.บุคคลที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย

2.นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย 

3.นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของบุคคลหรือนิติบุคคลตาม (1) หรือ (2)

4.นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของ (1)(2) หรือ (3) 

คนต่างชาติสามารถถือหุ้น 100 % ได้หรือไม่ ? 

สามารถทำได้ แต่มีข้อกำหนดทางด้านกฏหมายที่ต้องจดทะเบียนบริษัทให้ถูกต้อง โดยมีรายละเอียดที่ซับซ้อน หลายขั้นตอน แนะนำให้ศึกษาโดยละเอียดหรือปรึกษา FDI ผู้เชี่ยวชาญด้านจดจัดตั้งบริษัท เพื่อให้ได้คำตอบที่ตรงจุด รวมถึงการทำงานที่โดนใจ 

ในการจดทะเบียนบริษัทที่มีชาวต่างชาติถือหุ้น จะคล้ายกับแบบที่คนไทยจดทะเบียนบริษัท แต่จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณี มีรายละเอียดคือ 

1.ชาวต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49 % 

บริษัทจะยังคงจัดอยู่ในสถานะเป็นบริษัทในสัญชาติไทย สามารถดำเนินกิจการได้ทุกประเภทตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ เพราะอัตราส่วนของการถือหุ้น 49% ของชาวต่างชาติถือว่าน้อยกว่าหุ้นคนไทย 

2.ชาวต่างชาติถือหุ้นมากกว่า 50 %

จะถือว่าเป็นบริษัทต่างชาติ ซึ่งต้องมีการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งมีข้อจำกัดในบางส่วน คือ ห้ามถือครองที่ดิน และ ห้ามประกอบธุรกิจบางประเภท  หรือห้ามประกอบธุรกิจนอกจากได้รับอนุญาต (ในบัญชี 2 และ 3)  ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อ่านต่อในบทความถัดไป … 

คลิ๊ก! ปรึกษาเรา ให้คำปรึกษาการยื่นขอ! 

โดยสรุปแล้ว คนต่างชาติไม่สามารถถือหุ้น 100% ในบริษัทไทยได้ หากธุรกิจนั้น ๆ อยู่ในประเภทที่มีข้อจำกัดตาม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 (FBA) แต่สามารถถือหุ้น 100% ได้ในกรณีที่:

  • ได้รับการส่งเสริมจาก BOI หรือ
  • ลงทุนในพื้นที่หรือธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย หรือ
  • ลงทุนในธุรกิจที่ไม่อยู่ในหมวดหมู่ที่มีข้อจำกัด

โดยการลงทุนในลักษณะเหล่านี้ ต้องมีการดำเนินการขออนุญาตหรือยื่นคำร้องเพื่อขอสิทธิพิเศษจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ หรือ BOI

หากกำลังมองหาที่ปรึกษาที่สามารถช่วยให้การยื่นขอใบอนุญาตเป็นไปอย่างราบรื่นตามระเบียบข้อบังคับ และตาม พ.ร.บ. สามารถติดต่อเราในการรับคำปรึกษาได้ ให้คำปรึกษาฟรี ปรึกษา FDI ผู้เชี่ยวชาญด้านจดจัดตั้งบริษัท เพื่อให้ได้คำตอบที่ตรงจุด รวมถึงการทำงานที่โดนใจ

ช่องทางติดต่อ

  • Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895
  • E-mail : reception@fdi.co.th
  • Website : www.fdi.co.th

วิดิโอแนะนำสำหรับคุณ

Blogที่น่าสนใจ

Q&A ตอบคำถามทุกข้อเกี่ยวกับ วีซ่าทำงานในไทย

Q&A about Work visa in Thailand

Work visa in Thailand It is necessary for foreigners who want to work in Thailand. This article answers frequently asked questions about this type of visa...

Read More