ต่างชาติสามารถถือหุ้น 100 % ได้หรือไม่ การขอรับในอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ข้อมูลที่ต้องรู้ ขั้นตอนการขอเอกสาร FBL และ FBC

ต่างชาติสามารถถือหุ้น 100 % ได้หรือไม่ การขอรับในอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ข้อมูลที่ต้องรู้ ขั้นตอนการขอเอกสาร FBL และ FBC

การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว FBL FBC คืออะไร  ความแตกต่าง ?

FDI พาทำความรู้จัก ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว FBL , FBC ความหมายคืออะไร รวมถึงขั้นตอนการขอ และเอกสารที่ต้องรู้

การเข้ามาประกอบธุรกิจหรือทำงานในประเทศไทยนั้น สำหรับชาวต่างชาติหรือต่างด้าวจะมีข้อกำหนดทางด้านกฏหมาย รวมถึงขั้นตอนที่กหนดไว้โดยเฉพาะ สำหรับการขอใบอนุญาตหรือใบประกอบกิจการสำหรับธุรกิจที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติในประเทศไทยจะเกี่ยวข้องกับสองประเภทหลักๆ คือ Foreign Business Certificate (FBC) และ Foreign Business License (FBL) ซึ่งนี้มีความแตกต่างกันในแง่ของการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจและประเภทของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต 

เจาะรายละเอียดข้อมูลของ FBL และ FBC 

  • ใบอนุญาตที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทย หรือ  Foreign Business License (FBL) 

คือใบอนุญาตที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทยในลักษณะที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งใบนี้เป็นการอนุมัติที่ออกให้แก่บริษัทต่างชาติที่มีการยื่นขออนุญาตและได้รับการอนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์

ขั้นตอนการขอ FBL 

 กระบวนการขอ FBL จะต้องมีการตรวจสอบตามเกณฑ์ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด เช่น การมีหุ้นส่วนไทยที่มีสัดส่วนอย่างน้อย 51% หรือการมีธุรกิจในประเภทที่ได้รับอนุญาต

ปรึกษาเรา ให้คำปรึกษาการยื่นขอด้วยผู้เชี่ยวชาญ !

  • ใบรับรองที่ออกให้กับบริษัทต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย หรือ Foreign Business Certificate (FBC)

เป็นใบรับรองที่ออกให้กับบริษัทต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งการขอใบอนุญาตนี้จะมีข้อจำกัดในเรื่องประเภทของธุรกิจที่สามารถทำได้ตามที่กำหนดใน พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยเฉพาะตาม บัญชี 3 ซึ่งเป็นรายการธุรกิจที่คนต่างด้าวไม่สามารถทำได้เอง หรือสามารถทำได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาล

ขั้นตอนการขอ FBC  

  • บริษัทต้องสมัครเพื่อขอ FBC โดยมักจะต้องยื่นเอกสารและข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทต่างชาติจะประกอบธุรกิจในไทยตามประเภทที่อนุญาต
  • การขอ FBC มักเกี่ยวข้องกับการมีผู้ถือหุ้นไทยอย่างน้อย 51% ในกรณีที่กิจการนั้นอยู่ในหมวดหมู่ที่มีข้อจำกัดตามพระราชบัญญัติ

ปรึกษาเรา ให้คำปรึกษาการยื่นขอ !

การขอ Foreign Business Certificate (FBC) และ Foreign Business License (FBL) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งธุรกิจของต่างชาติในประเทศไทย โดย FBC เป็นใบรับรองที่อนุญาตให้เริ่มต้นการดำเนินธุรกิจ ส่วน FBL เป็นใบอนุญาตที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้จริงตามประเภทที่กฎหมายกำหนด ทั้งสองใบอนุญาตนี้มีความสำคัญและต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด

 รูปแบบธุรกิจที่ต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 

  1. บริษัทที่มีการจดจัดตั้งใหม่ โดยมีผู้ถือหุ้นข้างมากเป็นชาวต่างชาติ
  2. สาขาของบริษัทต่างชาติ (Branch Office)
  3. บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมในการลงทุน (Board of Investment)

ประเภทของธุรกิจที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติฯ 

ธุรกิจบางประเภทจะสงวนให้ไว้เฉพาะคนไทย ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการขอรับในอนุญาตของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 

บัญชีที่ 1 

เป็นธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ

บัญชีที่ 2

ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีหัตกรรมกรรมพื้นบ้านหรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคนต่างด้าวจะ ประกอบธุรกิจได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี  

บัญชีที่ 3

ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนคนต่างด้าว คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว รายละเอียดธุรกิจในแต่ละบัญชี ติดตามต่อในบทความถัดไป

คำจำกัดความของคนต่างด้าว ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจบางประเภท และบางประเภทจะประกอบธุรกิจได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองแล้วแต่กรณี 

คำจัดความของคนต่างด้าว ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 

1.บุคคลที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย

2.นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย 

3.นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของบุคคลหรือนิติบุคคลตาม (1) หรือ (2)

4.นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของ (1)(2) หรือ (3) 

คนต่างชาติสามารถถือหุ้น 100 % ได้หรือไม่ ? 

สามารถทำได้ แต่มีข้อกำหนดทางด้านกฏหมายที่ต้องจดทะเบียนบริษัทให้ถูกต้อง โดยมีรายละเอียดที่ซับซ้อน หลายขั้นตอน แนะนำให้ศึกษาโดยละเอียดหรือปรึกษา FDI ผู้เชี่ยวชาญด้านจดจัดตั้งบริษัท เพื่อให้ได้คำตอบที่ตรงจุด รวมถึงการทำงานที่โดนใจ 

ในการจดทะเบียนบริษัทที่มีชาวต่างชาติถือหุ้น จะคล้ายกับแบบที่คนไทยจดทะเบียนบริษัท แต่จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณี มีรายละเอียดคือ 

1.ชาวต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49 % 

บริษัทจะยังคงจัดอยู่ในสถานะเป็นบริษัทในสัญชาติไทย สามารถดำเนินกิจการได้ทุกประเภทตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ เพราะอัตราส่วนของการถือหุ้น 49% ของชาวต่างชาติถือว่าน้อยกว่าหุ้นคนไทย 

2.ชาวต่างชาติถือหุ้นมากกว่า 50 %

จะถือว่าเป็นบริษัทต่างชาติ ซึ่งต้องมีการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งมีข้อจำกัดในบางส่วน คือ ห้ามถือครองที่ดิน และ ห้ามประกอบธุรกิจบางประเภท  หรือห้ามประกอบธุรกิจนอกจากได้รับอนุญาต (ในบัญชี 2 และ 3)  ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อ่านต่อในบทความถัดไป … 

คลิ๊ก! ปรึกษาเรา ให้คำปรึกษาการยื่นขอ! 

โดยสรุปแล้ว คนต่างชาติไม่สามารถถือหุ้น 100% ในบริษัทไทยได้ หากธุรกิจนั้น ๆ อยู่ในประเภทที่มีข้อจำกัดตาม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 (FBA) แต่สามารถถือหุ้น 100% ได้ในกรณีที่:

  • ได้รับการส่งเสริมจาก BOI หรือ
  • ลงทุนในพื้นที่หรือธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย หรือ
  • ลงทุนในธุรกิจที่ไม่อยู่ในหมวดหมู่ที่มีข้อจำกัด

โดยการลงทุนในลักษณะเหล่านี้ ต้องมีการดำเนินการขออนุญาตหรือยื่นคำร้องเพื่อขอสิทธิพิเศษจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ หรือ BOI

หากกำลังมองหาที่ปรึกษาที่สามารถช่วยให้การยื่นขอใบอนุญาตเป็นไปอย่างราบรื่นตามระเบียบข้อบังคับ และตาม พ.ร.บ. สามารถติดต่อเราในการรับคำปรึกษาได้ ให้คำปรึกษาฟรี ปรึกษา FDI ผู้เชี่ยวชาญด้านจดจัดตั้งบริษัท เพื่อให้ได้คำตอบที่ตรงจุด รวมถึงการทำงานที่โดนใจ

ช่องทางติดต่อ

  • Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895
  • E-mail : reception@fdi.co.th
  • Website : www.fdi.co.th

วิดิโอแนะนำสำหรับคุณ

見逃せないタイの役立つ情報ที่น่าสนใจ

Q&A ตอบคำถามทุกข้อเกี่ยวกับ วีซ่าทำงานในไทย

タイの就労ビザ Q&A

タイの就労ビザ タイで働きたい外国人には必要です。 この記事では、このタイプのビザに関するよくある質問に答えます。

Read More