การประเมิน CFP หรือ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ต้อง “ รายงานอย่างไร ทำอย่างไร” ให้ตอบโจทย์ธุรกิจ

การประเมิน CFP หรือ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ต้อง “ รายงานอย่างไร ทำอย่างไร” ให้ตอบโจทย์ธุรกิจ

CFP ย่อมาจาก Carbon Footprint for Product หรือ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ธุรกิจจำเป็นที่ต้องทำหรือเป็นแค่กระแส ?

แนวคิดเรื่องความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ได้กลายเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญระดับโลก หนึ่งในกระบวนการที่กำลังได้รับความสนใจและถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ในภาคธุรกิจอย่างแพร่หลาย คือ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์” หรือ Carbon Footprint for Products (CFP) แต่คำถามที่หลายคนมีการตั้งคำถามขึ้นคือ การประเมินนี้เป็นเรื่องจำเป็นที่ธุรกิจควรดำเนินการจริงจัง หรือเป็นเพียงแค่กระแสชั่วคราวที่เกิดจากแรงกดดันทางสังคมและการตลาดเท่านั้น ?

ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน โดย FDI Group ให้ความเห็นว่า “ ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ภาวะโลกเดือดรุนแรงขึ้นนั้น เป็นผลกระทบมาจากการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์หรือจากธรรมชาติเอง เชื่อว่าทุกท่านคงสัมผัสได้ด้วยตัวท่านเองทั้งสภาพภูมิอากาศที่ย่ำแย่ หรือเปลี่ยนแปลงไป หรือแม้แต่ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างเห็นได้ชัด ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ท่านต้องหันกลับมาดูแลโลกใบนี้ ?  

ธุรกิจจำนวนมาก เริ่มให้ความสำคัญกับการประเมิน CFP ไม่ได้มีเพียงแค่ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับแนวโน้มของตลาดโลกที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งการสนับสนุนธุรกิจ ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงประเด็นที่น่าจับตาถึงการตั้งข้อกำหนดด้านความยั่งยืนจากประเทศคู่ค้า หรือการบังคับใช้มาตรการทางภาษีและกฎระเบียบใหม่ ๆ เช่น กลไกการปรับคาร์บอนตามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) ซึ่งกำหนดให้สินค้านำเข้าจากประเทศนอก EU ต้องแสดงค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์อย่างชัดเจน หากไม่สามารถแสดงได้หรือค่าคาร์บอนสูงเกินมาตรฐาน อาจถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น หรือไม่สามารถเข้าสู่ตลาดยุโรปได้เลย สำหรับในประเทศไทยก็เตรียมสู่การบังคับใช้ พ.ร.บ.โลกร้อน ที่คาดว่าจะบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ หรือที่เห็นได้ชัดเจนถึงแนวทางนโยบายด้านการส่งเสริมลดการปล่อยคาร์บอนอย่าง การเก็บภาษีคาร์บอนเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งจากประเด็นด้านต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นคงได้เห็นถึงทิศทางและโอกาสที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้สำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ สำหรับการปรับตัว ปรับรูปแบบการดำเนินงานในองค์กร เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในการแข่งขันที่ทิศทางธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปจากนี้ 

Carbon Footprint for Product หรือ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ คืออะไร อ่านต่อในบทความนี้ คลิก ! 

จริงหรือไม่ ? เริ่มประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ก่อนได้เปรียบมากกว่า !

ต้องบอกว่าจริง “ลองมองมุมกลับว่าถ้าหากเราเริ่มก่อนในตอนนี้ ถ้าวันที่ภาครัฐประกาศบังคับใช้หรือให้ทำ ธุรกิจเราจะไปไกลมากขนาดไหนแล้ว ถ้าหากคนอื่นพึ่งเริ่ม” เพียงเท่านี้ก็น่าจะสามารถตอบข้อสงสัยได้ว่าควรทำเลยหรือไม่ สำหรับองค์กรต่างๆ และ ผู้ประกอบการที่มีความพร้อม และถ้าหากวิเคราะห์กันในมุมของความได้เปรียบทางการแข่งขัน การมีข้อมูล CFP อย่างโปร่งใส สามารถกลายเป็นจุดแข็งในโอกาสของการสื่อสารแบรนด์ และสร้างความเชื่อมั่นต่อคู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ ที่สำคัญคือผู้บริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่อยู่ในตลาดระดับพรีเมียมหรือเป็นสินค้าที่อิงกับภาพลักษณ์ด้านความยั่งยืน เช่น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ , เครื่องสำอางจากธรรมชาติ , สินค้าแฟชั่นจากเส้นใยรีไซเคิล , หรือแม้แต่สินค้าเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ผ่านการประเมิน CFP แล้วจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้แบรนด์สามารถขยายตลาดสู่กลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG (Environmental, Social, and Governance) ได้มากขึ้นเช่นกัน 

จากแนวโน้มตลาดโลก เทรนด์ผู้บริโภค นโยบายนานาประเทศคู่ค้า รวมถึงนโยบายของภาครัฐในประเทศไทย สิ่งเหล่านี้เป็นการส่งสัญญาณว่าการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ไม่ได้เป็นเพียง “กระแส” ที่เกิดขึ้นชั่วคราว แต่กำลังจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของภาคการผลิตและการค้าระดับโลก CFP หรือการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ จึงไม่ใช่เพียงเครื่องมือทางการตลาดที่ทำเพียงเพราะเป็นกระแส  แต่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนในเชิงเศรษฐกิจและครอบคลุมในอีกหลายมิติที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนด้วย

CFP ต้องรายงานอย่างไร ? ต้องดำเนินการอย่างไร

สำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์นั้น เป็นการประเมินผลรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้หลักการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) ของผลิตภัณฑ์ มีขอบเขตการประเมิน 2 แบบ คือ การประเมินแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ (Business to Business: B2B) และ การประเมินแบบธุรกิจสู่ลูกค้า (Business to Customer: B2C) 

ในแบบที่ 1 :  Business to Business หรือ B2B แบบธุรกิจสุ่ธุรกิจ เป็นการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็น “วัตถุดิบตั้งต้น (Raw Material)  หรือส่วนประกอบ (Component) สำหรับผลิตภัณฑ์อื่น” ตัวอย่างเช่น เม็ดพลาสติก ยางแท่ง แผ่นโลหะ บรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหารสำเร็จรูป เส้นด้าย กระดาษลูกฟูก ซึ่งจะมีการประเมินจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การใช้พลังงานหรือทรัพยากร ในกระบวนการต่าง ๆ การขนส่งวัตถุดิบมาในโรงงาน การผลิต บรรจุหีบห่อ การเก็บรักษา และการกำจัดของเสียจากขั้นตอนในการผลิต จะเรียกการติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบนี้ว่า “Cradle to Gate “ หรือ จากแหล่งกำเนิดวัตถุดิบถึงประตูโรงงานเท่านั้น

ที่มา ; greenelement

ในแบบที่ 2 : Business to Customer หรือ B2C  แบบธุรกิจสู่ลูกค้า เป็นการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็น “สินค้าสำเร็จรูป (Finished Product)” ที่จะถูกใช้งานโดยผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น อาหารบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป , เครื่องปรุง , เครื่องใช้ไฟฟ้า , บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ,  เสื้อผ้า , อาหารสัตว์ เป็นต้น โดยการประเมินผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จะประเมินตลอดทั้งวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนของการได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์นั้น ๆ การขนส่งจากกระบวนการหนึ่งไปยังอีกกระบวนการหนึ่ง การเกิดใช้ทรัพยากรและพลังงานในแต่ละกระบวนการ รวมไปถึงการปล่อยก๊าซที่เกิดจากการใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังจากใช้งานแล้ว โดยวิธีการต่าง ๆ ทั้งการเผา ฝังกลบ หรือรีไซเคิล จะเรียกการติดตามนี้ว่า “ Cradle-to-grave “ หรือ จากแหล่งกำเนิดวัตถุดิบถึงจุดจบของผลิตภัณฑ์

จะเริ่มต้นประเมินสามารถทำอย่างไรให้ถูกต้องและครบถ้วนด้านข้อมูล ตลอดจนการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน

ในส่วนของผู้ปฏิบัติงาน องค์กรต้องสร้างความรู้และความเข้าใจตรงกัน มีเป้าหมายที่ดีร่วมกันในทุกส่วนที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรก่อนในอันดับแรก เพราะต่อให้ผู้บริหารเข้าใจเรื่องการประเมิน CFP ดีแค่ไหน ถ้า “คนในองค์กร” ไม่เข้าใจหรือไม่เห็นคุณค่า มาตรการก็จะไม่สามารถเกิดผลได้จริงในเชิงปฏิบัติ หรืออาจจะดำเนินการล่าช้า ไม่ถูกต้องครบถ้วน

ดังนั้น องค์กรควรมี แนวทางในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจ อย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายให้ พนักงานทุกระดับ ตระหนักถึงเหตุผล ความสำคัญ และบทบาทของตนเองในกระบวนการประเมิน CFP เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นวัฒนธรรมองค์กรอย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวคิดที่ไม่ใช่ทำให้จบ ๆ ไป แต่เกิดแนวทางปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนในหลากหลายมิติ 

ในส่วนของการเก็บข้อมูลและการดำเนินงาน

การเตรียมข้อมูลภายใน ในขั้นตอนนี้จะต้องมีการเก็บรายละเอียดข้อมูลทั้งการใช้พลังงานตลอดทั้งวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ การเก็บข้อมูลปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งซัพพลายเชน และการเก็บข้อมูลตามรูปแบบขอบเขตต่าง ๆ ที่ได้มีการกล่าวถึงในข้างต้น สำหรับ CFP นั้น สามารถนำข้อมูลการรายงานนี้ไปใช้สื่อสารให้เกิดผลกระทบเชิงบวกกับแบรนด์ได้ ธุรกิจที่ทำแบบ B2B ก็นำรายงานนี้ไปเปิดเผยแก่ Vender หรือคู่ค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่น เกิดความน่าสนใจในการผ่านเกณฑ์คัดเลือกคู่ค้าจากการมีฉลากคาร์บอนรับรอง   หากเป็นฝั่งของ B2C สามารถนำไปสื่อสารได้โดยตรงกับผู้บริโภคได้เช่นกัน 

หากท่านสนใจต้องการปรึกษาการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลย ที่ @fdigroup 

ตัวอย่างข้อดีและโอกาสที่เกิดขึ้นจากการทำ CFP 

1.สร้างโอกาสใหม่ ส่งเสริมการลงทุนจากคู่ค้า ในบริษัทขนาดใหญ่ที่มุ่งเน้นลงทุน หาคู่ค้าที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม มีฉลากรับรอง มีรายงานที่ชัดเจนโปร่งใส ตรวจสอบได้ 

2.การปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจตามแนวโน้มตลาดที่มีทิศทางเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้ ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัว รองรับทุกรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคได้ สอดคล้องกับเทรนด์ แนวโน้มที่เกิดขึ้นจริงได้อย่างดี 

3.ดำเนินงานสอดคล้องกับข้อกฏหมาย กรอบความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ 

4.ช่วยให้องค์กรได้เห็นถึงค่าใช้จ่ายแฝงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กิจกรรมหลักขององค์กรได้ นำไปสู่การปรับลดต้นทุนให้กับองค์กรได้ 

5.เป็นการแสดงเจตนารมย์ที่แน่วแน่ ชัดเจนในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการสื่อสารทางการตลาดให้เกิดความเชื่อมั่น ทัศนคติที่ดีเชิงบวกในกลุ่มผู้บริโภคได้ 

6.ดีต่อตัวเอง เพราะเราก็คือมนุษย์คนหนึ่งที่ต้องการความปลอดภัยในการใช้ชีวิต การช่วยลดก๊าซเรือนกระจกก็เปรียบเสมือนกับการปกป้อง ฟื้นฟู โลกที่เราอยู่เช่นกัน 

เกี่ยวกับ FDI ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน 

เราให้บริการครบวงจรด้านสิ่งแวดล้อมโดยผู้เชี่ยวชาญ

  • ให้บริการประเมินเเละจัดทำ Carbon Footprint and Carbon Credit 
  • ให้คำปรึกษาโครงการ BCG-ESG
  • ให้คำปรึกษาขึ้นทะเบียนโครงการ CBAM
  • บริการจัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลด้านGreen House Gas Report รายเดือน
  • บริการที่ปรึกษาเเละวางแผนโครงการ Carbon Net Zero
  • บริการ Energy Dashboard Platformให้บริการที่ครอบคลุม Scope 1 , 2 และ 3
  • บริการจัดการฝึกอบรมภายในเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

ช่องทางติดต่อ 

  • Facebook : FDI Group – Business Consulting
  • Line : @fdigroup
  • Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895
  • E-mail : infojob@fdi.co.th
  • Website : www.fdi.co.th