เตรียมตัว! วางแผนค่าลดหย่อนภาษี 2567

ค่าลดหย่อนภาษี

เตรียมตัว! วางแผนค่าลดหย่อนภาษี 2567

ค่าลดหย่อนภาษี หมายถึง รายการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนจากเงินได้พึงประเมิน เพื่อลดภาระในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยค่าลดหย่อนภาษีมีหลายประเภทให้เลือกลดหย่อนตามความเหมาะสมกับตนเอง ซึ่งทาง FDI A&A ได้รวบรวมค่าลดหย่อนภาษีในปี 2567 เพื่อในทุกท่านได้เริ่มวางแผนภาษีตั้งแต่ต้นปี หากพร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ !

ค่าลดหย่อนภาษี

ค่าลดหย่อนภาษี ส่วนตัวและครอบครัว

1. ลดหย่อนภาษีส่วนตัว

ลดหย่อนได้ 60,000 บาททันที สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขใดๆ

2. ลดหย่อนภาษีคู่สมรส

ลดหย่อนได้ 60,000 บาท โดยต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้

3. ลดหย่อนภาษีบุตร

ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรตามกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว มีอายุไม่เกิน 20 ปี หรือไม่เกิน 25 ปีและกำลังเรียนอยู่ แต่ในกรณีลูกคนที่ 2 ขึ้นไป และเกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป จะลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

4. ลดหย่อนภาษีบิดามารดา

ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท โดยใช้สิทธิ์ซ้ำระหว่างพี่น้องไม่ได้

5. ลดหย่อนภาษีผู้พิการ

ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยผู้พิการจะต้องมีรายได้มาเกิน 30,000 บาทต่อปี มีบัตรผู้พิการ และผู้ลดหย่อนภาษีต้องเป็นผู้ดูแลที่ระบุอยู่ในบัตรคนพิการเท่านั้น

6. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท โดยครอบคลุมทั้งค่าฝากครรภ์ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด และค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล

ค่าลดหย่อนภาษี

ค่าลดหย่อนภาษี กลุ่มประกัน

1. ประกันชีวิตทั่วไปและประกันแบบสะสมทรัพย์

สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันชีวิตต้องมีระยะคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ต้องทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และหากมีการเวนคืนก่อนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

2. ประกันสุขภาพตัวเอง

เบี้ยประกันสุขภาพ รวมถึงเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

3. ประกันสุขภาพบิดามารดา

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท บิดามารต้องมีร่ายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และสามารถรวมประกันสุขภาพพ่อแม่ของคู่สมรสมาลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้

4. ประกันสังคม

สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท

5. ประกันชีวิตแบบบำนาญ

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี และต้องไม่เกิน 200,000 บาท หรือต้องไม่เกิน 300,000 บาท หากไม่มีการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิต และเมื่อรวมกับหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ค่าลดหย่อนภาษี

ค่าลดหย่อนภาษี กลุ่มกองทุน

1. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund)

ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ

2. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds)

เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว สามารถนำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ

3. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ

4. กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.)/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน

ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ

5. เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)

เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise สำหรับผู้ที่ลงทุนในหุ้นหรือธุรกิจ Social Enterprise ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

6. กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)

สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

ค่าลดหย่อนภาษี

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

1. เงินบริจาคทั่วไป

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน

2. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ

ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน

3. เงินบริจาคพรรคการเมือง

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ค่าลดหย่อนภาษี

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มมาตรการรัฐ

1. ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย

สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านหรือคอนโด สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท

2. โครงการช้อปดีมีคืน 2567

สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 ตามที่จ่ายจริง โดยซื้อสินค้าและบริการในร้านค้าที่ที่มีการออกหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 

ค่าลดหย่อนภาษี

โดย FDI Accounting & Advisory ให้บริการวางแผนภาษีที่รวมไปถึงการยื่นภาษีทั้งบุคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และความรู้ ความสามารถมากกว่า 28 ปี ที่ซึ่งจะช่วยจัดการเรื่องภาษีของคุณให้เป็นเรื่องง่าย พร้อมให้ความรู้ว่าภาษีนิติบุคคล คือ อะไร ช่วยการวางแผนภาษี เพื่อให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายสูงสุด ลดภาวะ และช่วยเพิ่มความั่นคงทางการเงิน สามารถตรวจสอบและขอรับคำปรึกษาและบริการของเราได้ ที่นี่ ไม่มีค่าใช้จ่าย!

FDI Accounting & Advisory ที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างครบวงวจร ง่าย ครบ จบ ในที่เดียว!

🩵 Facebook : FDI Group – Business Consulting

💚 Line : @fdigroup

📞 Phone : 02 626 5999

📧 E-mail : infojob@fdi.co.th

🌐Website : www.fdi.co.th

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก >> www.rd.go.th

บทความที่เกี่ยวข้อง

7 ขั้นตอนการยื่นภาษีนิติบุคคล! ฉบับเข้าใจง่าย

ภาษีนิติบุคคลเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากจะช่วยสนับสนุนเงินทุนสำหรับบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐาน หากท่านใดยังไม่รู้ว่า...

Read More