ESG คืออะไร ค่านิยมใหม่ ! ทำไมแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนถึงได้รับความนิยม ความน่าสนใจในการลงทุน
ESG เป็นแนวคิดในเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ย่อมาจาก Environmental, Social, and Governance เป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการประเมินและพิจารณาผลกระทบขององค์กรในสามด้านหลัก ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environmental), สังคม (Social), และ การกำกับดูแล (Governance) ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในการตัดสินใจลงทุนและการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนในระยะยาว โดยแต่ละด้านมีรายละเอียด ได้แก่
1. Environmental (สิ่งแวดล้อม)
ในด้านสิ่งแวดล้อมจะเกี่ยวข้องกับวิธีที่องค์กรรับมือกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น
- การจัดการพลังงาน : ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนนำมาใช้ให้มากขึ้น
- Reducing greenhouse gas emissions : มีมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ
- การจัดการของเสีย : การรีไซเคิล การจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดขยะในกระบวนการผลิต
- การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน : ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีความรับผิดชอบ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
องค์กรที่คำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อมจะมีการวางกลยุทธ์ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถสร้างความยั่งยืนทั้งในเชิงธุรกิจและในเชิงสิ่งแวดล้อมได้
2. Social (สังคม)
ในด้านสังคมมุ่งเน้นไปที่การปฏิสัมพันธ์และผลกระทบที่องค์กรมีต่อสังคม โดยเฉพาะกับ
- แรงงานและสิทธิของมนุษย์: เช่น การจ้างงานที่เป็นธรรม การเคารพสิทธิแรงงาน การปฏิบัติข้อระเบียบบังคับ รวมถึงการป้องกันการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ
- ความหลากหลายและการรวมกลุ่ม: ส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมที่หลากหลายและมีความเสมอภาคในการทำงาน
- การปฏิบัติต่อผู้บริโภค: การให้บริการที่มีคุณภาพ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และการส่งเสริมความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ในทุกรูปแบบ
- การมีส่วนร่วมในชุมชน: การสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น เช่น การบริจาค การทำโครงการพัฒนาชุมชน การสร้างโอกาสทางการศึกษา หรือการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคม
การดำเนินงานในเชิงสังคมที่ดีจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้า พนักงาน และชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความเชื่อมั่นและการสนับสนุนจากสาธารณชนได้
3. Governance (การกำกับดูแล)
ในด้านการกำกับดูแลมุ่งเน้นการจัดการและการกำกับดูแลภายในองค์กรอย่างมีธรรมาภิบาล เช่น
- ความโปร่งใส : การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสและซื่อสัตย์ เช่น การรายงานผลการดำเนินงานด้าน ESG และการดำเนินการทางการเงิน
- การกำกับดูแลของคณะกรรมการ : คณะกรรมการที่มีคุณภาพและมีความสามารถในการตัดสินใจอย่างเป็นกลางและมีจริยธรรม
- การต่อต้านการทุจริต : มีนโยบายป้องกันและต่อต้านการทุจริต การคอร์รัปชัน และการกระทำผิดทางธุรกิจ
- การรับผิดชอบทางกฎหมาย : บริษัทต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ
การกำกับดูแลที่ดีจะช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใส ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการบริหารที่ผิดพลาดหรือการทุจริต
ESG เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินว่าองค์กรหนึ่ง ๆ มีการดำเนินงานและรับผิดชอบต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลในลักษณะใด เพื่อสร้างผลกระทบที่ดีทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในระยะยาว
แนวคิด ESG นี้จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือแก่ธุรกิจ สะท้อนความตื่นตัว ความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย และการนำเสนอผลการดำเนินงานในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนนั่นเอง
ทำไม ESG ถึงสัมพันธ์กับ SDGs กลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับนักลงทุนในยุคใหม่ ?
อย่างที่เราทราบกันดีว่าในปัจจุบันนั้นหากพูดถึงความยั่งยืน คนส่วนใหญ่เริ่มมีความเข้าใจ ความตระหนักรู้อย่างดีมากขึ้นในบริบทประเด็นนี้ หลายๆ องค์กรธุรกิจเริ่มเห็นความสำคัญของ SDGs และ ESG เพิ่มมากขึ้น โดย ESG คือความต้องการของนักลงทุนที่ต้องการเลือกลงทุนกับธุรกิจที่คำนึงถึงการสร้างผลดีต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental) สร้างผลดีต่อสังคม (Social) และบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล (Governance) สอดคล้องไปกับ SDGs คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ที่มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดยแบ่งออกได้ 5 กลุ่ม ดังนี้
- สังคม (PEOPLE)
- เศรษฐกิจ (PROSPERITY)
- สิ่งแวดล้อม (PLANET)
- สันติภาพ และความยุติธรรม (PEACE)
- หุ้นส่วนการพัฒนา (PARTNERSHIP)
ESG คือทางเลือกหรือทางรอด ?
ESG การลงทุนที่สร้างโอกาสระยะยาว
ในอดีตเหล่านักลงทุนต่างมุ่งเน้นการลงทุนในองค์กรธุรกิจที่มียอดผลกำไรดีโดยไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยในส่วนอื่นมากนัก แต่ในปัจจุบันจากบทวิเคราะห์ของบริษัทจัดการบริหารสินทรัพย์หลายแห่งชี้ว่า ในระยะยาวการลงทุนในบริษัทที่มุ่งเน้นแนวคิด ESG ที่ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืน (Sustainability) จะสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าบริษัทที่แสวงผลกำไร
จากบทวิเคราะห์ของธนาคารกรุงเทพ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจในด้านการลงทุน ESG ไว้ว่า ผลการสำรวจขององค์กรสหประชาชาติด้านความร่วมมือเพื่อความยั่งยืน (UN Global Compact) พบว่ามีบริษัทเพียง 25% เท่านั้น ที่มีการตรวจสอบและประเมินด้าน ESG อย่างชัดเจน ซึ่งภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) บริษัทที่ไม่มีแนวคิด ESG อาจกลายเป็นบริษัทที่ไม่ได้รับการยอมรับและเสียโอกาสจากนักลงทุน เพราะไม่สอดรับกับเป้าหมายความร่วมมือด้านความยั่งยืน (Sustainability) ของโลก ที่ประเทศสมาชิกกว่า 193 ประเทศทั่วโลกได้ให้คำมั่นว่าจะร่วมกันบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)
Sustainability Index ดัชนีวัดความยั่งยืน
ในส่วนดัชนีชี้วัดความยั่งยืนนี้ เป็นดัชนีที่แสดงความเคลื่อนไหวราคาหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนโดยใช้เกณฑ์ผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการอย่างมีบรรษัทภิบาล หรือ ESG โดยนำใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาประเมินและคัดกรองบริษัทควบคู่ไปกับเกณฑ์พิจารณาการจัดทำดัชนีอื่น ๆ ตามที่ผู้จัดทำแต่ละดัชนีชี้วัดจะกำหนดไว้ โดยแต่ละดัชนีมีข้อกำหนด เกณฑ์ในการคัดเลือกต่างกันออกไป .เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจลงทุนและการประเมินมูลค่าธุรกิจ ได้แก่
1.SETTHSI จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2.ESG Index จัดทำโดยสถาบันไทยพัฒน์
3.Morningstar Global Markets Sustainability Index จัดทำโดย Morningstar
4.MSCI ESG Index จัดทำโดย MSCI
5.Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) จัดทำโดย RobecoSAM
6.FTSE4Good Index จัดทำโดย FTSE Russell
โดยสถานการณ์ปัจจุบัน ดัชนี DJSI , FTSE4Good Index , MSCI ESG Index ซึ่งเป็นผู้จัดทำดัชนีชี้วัดความยั่งยืน (Index Provider) นั้น ล้วนเป็นผู้จัดทำชั้นนำที่ได้รับความนิยมและยอมรับจากผู้ลงทุนสถาบันทั่วโลกนำมาใช้เป็นข้อมูลในการลงทุน ทั้งนี้ FDI ขอแนะนำว่าดัชนีวัดความยั่งยืนแต่ละดัชนีมีข้อกำหนด เกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป ผู้ลงทุนควรศึกษา พิจารณา ตัดสินใจก่อนการลงทุน
ที่มา : THE STANDARD
แนวโน้มเทรนด์ธุรกิจ ESG ที่น่าสนใจ
เทรนด์ธุรกิจ ESG ที่น่าจับตามองในอนาคตนั้นจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืนทั้งในแง่ของการลงทุน ธุรกิจ และการพัฒนาอย่างมีจริยธรรม ซึ่งการที่ธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับ ESG ไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยง แต่ยังเปิดโอกาสในการเติบโตใหม่ๆ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในกลุ่มนักลงทุนและผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
แนวโน้มเทรนด์โลกในอนาคตเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางมุ่งเน้นเพื่อสิ่งแวดลัอม สังคม ธุรกิจที่ปรับตัวตามเทรนด์ธุรกิจ ESG ที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ แบ่งออกเป็น 2 เทรนด์หลัก ได้แก่
- ด้านสิ่งแวดล้อม การลงทุนในกลุ่มพลังงานใหม่ พลังงานทดแทน พลังงานสะอาด รวมถึงบริษัทต่างๆที่มีการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังทั้งในเรื่องของภาคการผลิต การขนส่ง ตลอดจนจบกระบวนการทั้งหมด
- ธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพ ความเป็นอยู่ของคนในสังคม การลดความเหลื่อมล้ำ
บริการให้คำแนะนำด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร โดย FDI ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
โดยสรุปแล้วแนวคิด ESG ไม่ใช่แค่เทรนด์หรือกระแสของธุรกิจที่ผ่านมาแล้วผ่านไปเลยแบบหลายกระแสที่ผ่านมา แต่กลับเป็น Mega Trend ในระดับของโลก ที่เน้นการสร้างความยั่งยืน และความเท่าเทียมของภาคธุรกิจในระยะยาวต่อโลกนี้ที่เปรียบเสมือนเป็นบ้านของเราทุกคน หลากหลายธุรกิจยังคงปรับตัวเข้าสู่แนวคิด ESG ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายทั้งในเรื่องของต้นทุน และความพร้อมของธุรกิจในด้านต่าง ๆ ที่ต้องใช้การเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติที่ครอบคลุมในการก้าวเข้าสู่แนวคิดของ ESG แต่อย่างไรก็ตามก็คงต้องจับตามองกันต่อไปว่าในอนาคตนี้ธุรกิจส่วนใหญ่จะปรับตัวเข้าสู่ความยั่งยืนอย่างไร เพื่อให้สุดท้ายแล้วธุรกิจสามารถแสวงหากำไรได้โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมให้น้อยที่สุด
FDI Accounting & Advisory ในฐานะที่ปรึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เรามีพร้อมให้การสนับสนุนทุกองค์กรธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเช่นเดียวกับเรา ในการเป็นที่ปรึกษาการทำธุรกิจ ภายใต้เงื่อนไขที่ครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อให้ตอบโจทย์นโยบายของภาครัฐ รวมถึงความจริงใจในการปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงระบบการทำธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม สู่ความยั่งยืนโดยแท้จริง
ช่องทางติดต่อ
Facebook : FDI Group – Business Consulting
Line : @fdigroup
Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895
E-mail : reception@fdi.co.th
Website : www.fdi.co.th
Blogที่น่าสนใจ
จากภาวะโลกร้อน สู่ภาวะโลกเดือด ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นวิกฤตของคนทั้งโลกต้องจับตา!
ภาวะโลกเดือดไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความร้อน” แต่เป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับปัจเจกและระดับโลก...
Read Moreที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และจัดทำรายงาน CFO CFP
FDI Group ที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์...
Read Moreบริการที่ปรึกษาการจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยทีมวิศวกร FDI Group ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ที่ปรึกษาการจัดการก๊าซเรือนกระจกและการจัดการคาร์บอน ช่วยพัฒนากลยุทธ์อย่างยั่งยืน ให้คำปรึกษาพัฒนาธุรกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร ...
Read More