気候技術のトレンドまとめ ネットゼロへ向けて産業を推進するイノベーション 温室効果ガス削減のための産業と農業の支援ツール

気候技術のトレンドまとめ ネットゼロへ向けて産業を推進するイノベーション 温室効果ガス削減のための産業と農業の支援ツール

จับตา”เทรนด์ Climate Tech” ที่มีช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจก 産業部門และภาคการเกษตร

อย่างที่เราทราบกันดีว่าในปัจจุบันภาวะโลกร้อนนั้น เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมทั่วโลก สาเหตุหลักมาจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเพิ่มความร้อนในระบบโลกและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกต่างต้องร่วมมือกัน การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Tech มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ นำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษ และมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ตามที่ประเทศไทยตั้งเป้าไว้ 

จากงานวิจัยที่น่าสนใจจาก McKinsey เกี่ยวกับในเรื่องของ “Climate Tech” ที่มีส่วนช่วยในการควบคุมภูมิอากาศด้วยเทคโนโลยี เป็นนวัตกรรมการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษและการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าหากได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ก็จะสามารถช่วยลดการปล่อยมลพิษได้ประมาณ 60% เพื่อรักษาเสถียรภาพของสภาพอากาศภายในปี ค.ศ. 2050 ด้วย 5 กลุ่ม Climate Tech ที่สามารถดึงดูดเงินลงทุนกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2025 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% ภายในปี ค.ศ. 2050 ได้แก่

  1. พลังงานไฟฟ้า (Electrification)
  2. เกษตรกรรม (Agriculture)
  3. สร้างโครงข่ายไฟฟ้า (Power grid)
  4. การใช้ไฮโดรเจน (Hydrogen)
  5. การดักจับคาร์บอน (Carbon capture)

ในเรื่องของ Climate Tech ที่ได้รับการพัฒนา ปรับเปลี่ยน นับว่าเป็นเรื่องที่น่าติดตามกันต่อ ในบทความนี้ FDI จะพามาดู 5 เทคโนโลยีที่น่าสนใจที่เป็นตัวช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นหากต้องการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในการขยายธุรกิจ แต่ละเทคโนโลยีจะมีความน่าสนใจอย่างไรนั้น ไปติดตามกันได้ในบทความนี้ 

รวม 5 เทรนด์ที่น่าสนใจในการลดภาวะโลกร้อนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

1.การเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานให้อยู่ในพลังงานไฟฟ้า (Electrification) 

ถ้าหากจะเปลี่ยนพลังงานที่ใช้อยู่แล้วในปัจจุบันทั้งหมดให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยทันทีคงไม่สามารถทำได้ แต่ต้องเริ่มจากการอาศัยการเปลี่ยนพลังงานทั้งของตัวอาคาร เครื่องจักรอุตสาหกรรม รวมถึงยานยนต์เดิมที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลในการขับเคลื่อนปรับเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า หรือใช้พลังงานสะอาดเป็นทางเลือก เช่น รถยนต์ เปลี่ยนมาใช้แบตเตอรี่ EV  ระบบอาคารก่อสร้างให้ปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ หรือระบบเตาเผาอุตสาหกรรมโดยเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก 

  • การพัฒนาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าให้ดีกว่าเดิม
    หาแนวทางพัฒนาแบตเตอรี่ EV ให้ดีกว่าเดิม และลดต้นทุนแบตเตอรี่ให้ได้ครึ่งหนึ่งของยานยนต์ EV หรือจะต้องต่ำกว่าราคาแบตเตอรี่ในปัจจุบันที่อยู่ที่ 100 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ โดยการปรับปรุงส่วนประกอบภายในเพื่อที่จะเพิ่มความหนาแน่นพลังงานและลดต้นทุนซึ่งเห็นได้จากบริษัทผู้ผลิตต่างเริ่มเปลี่ยนจากผลิตด้วยลิเธียมเป็นหลัก มาผลิตแอโนดที่มีซิลิกอนสูงขึ้น มีการเปลี่ยนสถานะการทำงานของแบตเตอรี่ลิเธียมจากของเหลวกลายเป็นของแข็ง เพื่อจะได้จุแบตเตอรี่สูงเป็นพิเศษ และมีความปลอดภัยในการใช้งานมากกว่าเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในปัจจุบัน 
  • การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมแบตเตอรี่
    โปรแกรมควบคุมการใช้งานแบตเตอรี่จะช่วยชดเชยพลังงานที่ขาดแคลน รวมไปถึงย่นระยะเวลาการชาร์จให้สั้นลง นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์ดังกล่าวยังช่วยยืดอายุการใช้แบตเตอรี่ให้สอดคล้องกับการใช้งานของรถ
  • ระบบการจัดการพลังงานในอาคารที่มีประสิทธิภาพ
    การใช้พลังงานในอาคารมีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลกประมาณ 7% เพราะฉะนั้น การนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในอาคารจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ เช่นการใช้ปั๊มความร้อน ที่มีลักษณะทั่วไปเหมือนระบบปรับอากาศทั่วไป แทนการใช้หม้อน้ำ และเตาเผาแบบเดิม เพื่อให้อาคารช่วยลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกได้ถึง 3 กิกะตันต่อปี ที่สำคัญมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากเดิม ถึง 2.2 – 4.5 เท่า 
  • การใช้พลังงานไฟฟ้าในอุตสาหกรรม
    หากราคาพลังงานหมุนเวียนและอุปกรณ์ไฟฟ้าลดลง การประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็จะสามารถลดต้นทุนและลดปริมาณการปล่อยมลพิษได้โดยใช้พลังงานไฟฟ้าในการดำเนินงานเป็นหลัก การควบคุมต้นทุน ลดปริมาณมลพิษจึงสามารถทำได้ง่ายมากขึ้นและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2.การใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรกรรม (Green Renovation) 

ในส่วนของการเกษตรนั้นมีสัดส่วนร้อยละ 20 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกทั้งหมด  ซึ่งก๊าซมีเทนจากการทำเกษตรกรรม เป็นก๊าซที่มีผลต่อโลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนหลายเท่า การลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากการเกษตรจะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงในวิถีการทำฟาร์ม การบริโภค การจัดการวัตถุดิบต่าง ๆ และขยะ วิธีการเก็บผลผลิต โดยในส่วนนี้จะเปลี่ยนแปลงได้โดยใช้ Climate Technologies ที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งจะต้องลดต้นทุน ใช้โปรแกรมช่วยเหลือ และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน 

การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับภาคเกษตรกรรม 

  • โดยใช้อุปกรณ์ทางการเกษตรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
    ด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์ และเครื่องจักรที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแบบดั้งเดิม เช่น รถแทร็กเตอร์ รถเก็บเกี่ยว เครื่องอบแห้ง ไปเป็นอุปกรณ์แบบที่ปล่อยมลพิษน้อยลงหรือไม่ปล่อยเลย 
  • เน้นรับประทานอาหารโปรตีนเนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืช
    ในกระบวนการย่อยอาหารของโค และสัตว์เคี้ยวเอื้อง  คิดเป็นหนึ่งในสาม หรือสี่ ของปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนทั่วโลก ซึ่งการที่จะลดปริมาณก๊าซมีเทนลงได้นั้น ผู้บริโภคจะเป็นแีรงขับเคลื่อนสำคัญในการเลือกบริโภคอาหารทางเลือกที่มีสารอาหารเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม อาทิ โปรตีนจากพืช หรือ Plant-based นอกจากเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช ยังมีตัวเลือกโปรตีนอีกรูปแบบหนึ่งนั่นก็คือ เนื้อสัตว์ที่เกิดจากการเพาะเนื้อเยื่อจากเซลล์สัตว์ในห้องทดลอง หรือ Cultivated Meats จากงานวิจัยของ McKinsey ชี้ให้เห็นว่าในอุตสาหกรรมอาหารที่ทำมาจากพืชนั้นอาจจะมีมูลค่าสูงถึง 25,000 ล้านดอลลาร์ ภายในช่วงปี 2030 
  • การแปรรูปมูลสัตว์แบบไม่ใช้ออกซิเจน
    การแปรรูปมูลสัตว์ให้เป็นปุ๋ยแบบไม่ใช้ออกซิเจนจะช่วยลดการปล่อยมลพิษและยังผลิตก๊าซชีวภาพ สามารถนำมาใช้ในฟาร์ม ขายเพื่อเป็นพลังงานให้กับกริดไฟฟ้า หรือนำมาผลิตไฮโดรเจนทองคำ (gold hydrogen)
  • การทดลองค้นพบสารตั้งต้น “สารยับยั้งการปล่อยก๊าซมีเทน”
    จากการทดลองทำให้พบว่า สารตั้งต้นที่ชื่อว่า Propionate ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถยับยั้งการปล่อยก๊าซมีเทนจากโคได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ โดยสารดังกล่าวได้เข้าสู่กระบวนการอนุมัติของสหภาพยุโรปแล้ว บริษัทต่าง ๆ อยู่ระหว่างพัฒนาผลิตภัณฑ์สารที่ใช้เสริมในอาหารสัตว์ และสารทดแทนอาหารสัตว์ที่จะช่วยยับยั้งการผลิตก๊าซมีเทนได้ 

3.สร้างโครงข่ายสำรองไฟฟ้า (Power grid)  เพื่อส่งมอบพลังงานสะอาด

สำหรับการสร้างโครงข่ายสำรองไฟฟ้าใหม่เพื่อส่งมอบพลังงานสะอาด ต้องมีการเร่งพัฒนาการสร้างโครงข่ายไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนสูงขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายไม่ให้โลกร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส เพิ่มความสามารถการจัดเก็บพลังงาน เพื่อป้องกันไม่ให้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมขาดความต่อเนื่องและยกระดับการกระจายไฟฟ้าให้สามารถกระจายไฟฟ้ารองรับระบบกักเก็บไฟฟ้าทั้ง front-of-the-meter และ behind-of-the-meter โดยเทคโนโลยีที่จะนำไปสู่โครงข่ายไฟฟ้าที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ มีดังนี้

สร้างโครงข่ายสำรองไฟฟ้า  โดยใช้เทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานระยะยาว เพื่อเน้นการใช้พลังงานสะอาด 

  • สร้างระบบการควบคุมขั้นสูง
    เช่น หม้อแปลงไฟฟ้าแบบ solid state ตัวควบคุมกระแสไฟฟ้า AC ที่ยืดหยุ่นขั้นสูง ควบคุมการไหลเวียนของไฟฟ้าในโครงข่ายได้ดี
  • การใช้ซอฟต์แวร์และการสื่อสาร
    โครงข่ายไฟฟ้าสมัยใหม่ จำเป็นต้องอาศัยระบบการสื่อสารที่มีความเร็วสูง เพื่อรักษาสมดุลการ กระจายไฟฟ้าระหว่างเครือข่าย โดยซอฟต์แวร์จะทำหน้าที่รักษาสมดุลของโครงข่ายไฟฟ้าหากมีกำลังสำรองหมุนเวียนน้อยลง มีเครื่องมือตรวจสอบสภาพและตามหาข้อผิดพลาด โดยซอฟต์แวร์การจัดการพลังงานแบบกระจาย จะช่วยประสานเครื่องมือและการส่งต่อข้อมูลภายในโครงข่ายไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นตามลำดับ 
  • Vehicle-to-grid integration หรือการนำพลังงานไฟฟ้าจากยานยนต์กลับสู่ระบบไฟฟ้า เทคโนโลยีนี้ที่จะช่วยเปลี่ยนพลังงานแบตเตอรี่กลับคืนสู่พลังงานไฟฟ้าได้ เช่น อุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ที่ติดตั้งบนหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ แบตเตอรี่ติดกับผนัง แบตเตอรี่ EV เป็นต้น
  • การใช้วัสดุประสิทธิภาพสูง
    จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สามารถผลิตวัสดุสำหรับรองรับการใช้พลังงานสะอาดได้หลากหลายวิธี เช่น โซลาร์เซลล์ที่ทำมาจากวัสดุผสมระหว่างตะกั่วหรือดีบุกกับเฮไลด์ ที่ช่วยดูดซับ กักเก็บ และเปลี่ยนพลังงาน เป็นคริสตัลชนิดพิเศษที่ให้ประสิทธิภาพเหนือกว่าสารซิลิกอนที่ใช้ในโซลาร์เซลล์ทั่วไป
  • Building-to-grid integration
    อาคารที่มีที่กักเก็บพลังงาน สามารถป้อนพลังงานเข้าสู่โครงข่ายเมื่อมีความต้องการ ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้กับเจ้าของอาคารอีกด้วย
  • พลังงานนิวเคลียร์รุ่นถัดไป
    ในปัจจุบันเริ่มมีการผลักดันใช้พลังงานนิวเคลียร์ในฐานะพลังงานที่ปราศจากการปล่อยก๊าซคาร์บอน เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นร่วมกับพลังงานนิวเคลียร์รุ่นต่อไป รวมไปถึงเครื่องปฏิกรณ์ที่ระบายความร้อนด้วยโซเดียมและเกลือหลอมเหลว และเครื่องปฏิกรณ์ที่ระบายความร้อนด้วยฮีเลียมที่เรียกว่า “GenIV” โดยธุรกิจต่าง ๆ เริ่มผลักดันเทคโนโลยีดังกล่าวให้มีต้นทุนต่ำ และมีโครงการสนับสนุนจากภาครัฐเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

4.ขยายขอบเขตในการใช้ไฮโดรเจน (Hydrogen)

ไฮโดรเจนนั้นมีบทบาทสำคัญในฐานะตัวกลางลำเลียงพลังงานสะอาดด้วยคุณสมบัติที่มีความหนาแน่นของพลังงานสูง และมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงเป็นศูนย์ ทำให้ไฮโดรเจนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 30% ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การบินและการขนส่ง อุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฮโดรเจน ดังต่อไปนี้

  • การผลิตไฮโดรเจนต้นทุนต่ำ
    กระบวนการผลิตที่จะส่งผลให้ไฮโดรเจนมีต้นทุนต่ำได้นั่นก็คือ อิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) กระบวนการแยกอะตอมของน้ำที่ทำโดยการผ่านกระแสไฟฟ้ากระแสตรงในน้ำ ผลที่ได้คือแก๊สออกซิเจนและไฮโดรเจน หากกระบวนการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ผ่านพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน ผลลัพธ์ที่ได้คือ “ไฮโดรเจนสีเขียว” ที่ปราศจากคาร์บอน ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายของกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสจะลดลง 60 – 80 % ในอีก 10 ปีข้างหน้า
  • เชื้อเพลิงขนส่งทางถนน
    ความหนาแน่นของพลังงานไฮโดรเจนที่สูงขึ้นช่วยให้รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (FCEV) รองรับการขนส่งระยะไกล หากต้องการให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย จะต้องมีราคาถูกลง และสร้างสถานีเติมเชื้อเพลิงให้มากขึ้น
  • การผลิตแอมโมเนียจากไฮโดรเจนที่ปลอดคาร์บอนเป็นไฮโดรเจนบริสุทธิ์
    แอมโมเนียที่ทำมาจากไฮโดรเจนปลอดคาร์บอน เป็นเชื้อเพลิงอย่างดีที่ลำเลียงไฮโดรเจนบริสุทธิ์ในปริมาณที่มากขึ้น และสามารถนำกลับไปแปรสภาพเป็นไฮโดรเจนเหลวที่มีความปลอดภัยสูง นำไปใช้กับเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ต่อไปได้
  • การใช้ไฮโดเจนสีเขียวในการผลิตเหล็ก
    เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล็กคือหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด หรือประมาณ 7-9% จากการปล่อยมลพิษทั่วโลก เนื่องจากการใช้เตาหลอมเหล็กแบบดั้งเดิม การใช้ไฮโดรเจนสีเขียวเป็นก๊าซสำหรับเตาหลอมเหล็กจะนำไปสู่การผลิตเหล็กแบบปราศจากคาร์บอนได้
  • ใช้สำหรับเชื้อเพลิงการบิน
    เมื่อการท่องเที่ยวฟื้นตัวจากโควิด-19 คาดว่าจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 3% จากการปล่อยมลพิษทั่วโลกจากการเดินทางโดยเครื่องบิน ซึ่งทางเลือกที่ช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ เชื้อเพลิงการบินที่ทำมาจากพลังงานหมุนเวียนอย่างไฮโดรเจน แต่ก็ยังอยู่ในการศึกษา การทดลองและพัฒนาต่อ เนื่องจากต้องมุ่งเน้นในความปลอดภัยของการบิน 

5.การพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน (CCUS)

การดักจับคาร์บอน การใช้ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ในปัจจุบันเทคโนโลยี CCUS มีส่วนช่วยอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานได้ในหลายแง่มุม และยังจำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อลดต้นทุน

  • ใช้เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนก่อนและหลังการเผาไหม้
    เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนก่อนเผาไหม้อย่างหัวเชื้อเพลิงที่ทำจากก๊าซออกซิเจนเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยดักจับคาร์บอนจากแหล่งกำเนิดพลังงานได้ในราคาที่ไม่สูงนัก ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนหลังเผาไหม้ อาทิ สูตรตัวทำละลาย ตัวดูดสับ และเมมเบรน จะช่วยลดต้นทุนในการดักจับคาร์บอนได้
  • ใช้การดูดอากาศโดยตรง (Direct air capture: DAC)
    เป็นเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโดยตรง ด้วยวิธี DAC จะเป็นการปล่อยคาร์บอนติดลบเพื่อไปทำปฏิกิริยาในอากาศ เพื่อระงับไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส
  • พลังงานชีวภาพที่มีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (BECCS)
    นวัตกรรมดักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศแล้วนำไปฝังลึกลงดิน ผ่านการขับเคลื่อนโดยเชื้อเพลิงชีวมวลที่แปลงมาจากพืช การเพิ่มนวัตกรรม BECCS ในโรงงานพลังงานชีวภาพ จะทำให้สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลบ โดยสารชีวมวลจะดักจับคาร์บอน และเมื่อเชื้อเพลิงชีวมวลถูกเผาไหม้ เทคโนโลยี CCS จะป้องกันไม่ให้คาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
  • การใช้ถ่านไบโอชาร์ ส่วนช่วยในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซต์
    ที่เป็นวัสดุคล้ายถ่าน เกิดจากการแปรรูปชีวมวลของเสีย เช่น เศษซากพืชต่าง ๆ โดยการเพิ่มถ่านไบโอชาร์ลงในดินจะช่วยปรับปรุงคุณภาพดินและผลผลิตการเกษตร รวมไปถึงกักเก็บคาร์บอนไดออกไซต์เกือบ 2 กิกะตันต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2050
  • คอนกรีตกักเก็บคาร์บอน
    ในส่วนประกอบของถนนคอนกรีต ที่ประกอบด้วย ซีเมนต์ และทรายหรือหินบด มีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมาก จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนประกอบในซีเมนต์เพื่อที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และทำให้ซีเมนต์มีความแข็งแกร่งขึ้น กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้จะดักจับคาร์บอนที่มาจากของเสียที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ เช่น ขี้เถ้า ตะกรันเหล็ก และซีเมนต์ที่ผ่านการผลิตมาแล้ว

ที่มาข้อมูล : งานวิจัย  McKinsey

จากข้อมูลงานวิจัยที่น่าสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับเทรนด์ Climate Tech ในการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม เพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของสังคมไทย สังคมโลกให้ดีขึ้น ในปัจจุบันในแต่ละอุตสาหกรรมก็ได้มีการปรับแนวทาง วิถีการดำเนินธุรกิจ มาทำในรูปแบบลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน โดยใช้เทคโนโลยีมามีส่วนสำคัญในการปรับปรุงแล้ว 

ในบทความถัดไป FDI จะพาไปติดตาม Case Success ที่เราได้ให้คำปรึกษาในบริษัทต่าง ๆ หลากหลายอุตสาหกรรม ในการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์และองค์กร จนได้รับฉลากคาร์บอนเครดิต  ซึ่งให้การรับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. รวมถึงการได้รับความเชื่อมั่นจากคู่ค้า การสร้างโอกาสใหม่ในการทำธุรกิจ ที่สำคัญคือการส่งต่อคุณค่าที่ดีที่สุดในการทำธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืนในระยะยาว

FDI Accounting & Advisory

ที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างครบวงจร !

🌐Website : www.fdi.co.th

📞 Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895

E-mail : reception@fdi.co.th

Facebook : FDI Group – Business Consulting

Line Official : @fdigroup

見逃せないタイの役立つ情報ที่น่าสนใจ

จากภาวะโลกร้อน สู่ภาวะโลกเดือด ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นวิกฤตของคนทั้งโลกต้องจับตา!

ภาวะโลกเดือดไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความร้อน” แต่เป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับปัจเจกและระดับโลก...

Read More

บริการที่ปรึกษาการจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยทีมวิศวกร FDI Group ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ที่ปรึกษาการจัดการก๊าซเรือนกระจกและการจัดการคาร์บอน ช่วยพัฒนากลยุทธ์อย่างยั่งยืน ให้คำปรึกษาพัฒนาธุรกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร ...

Read More