จากภาวะโลกร้อน สู่ภาวะโลกเดือด ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นวิกฤตของคนทั้งโลกต้องจับตา!

จากภาวะโลกร้อน สู่ภาวะโลกเดือด ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นวิกฤตของคนทั้งโลกต้องจับตา!

ภาวะโลกเดือดไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความร้อน” แต่เป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับปัจเจกและระดับโลก ความรุนแรงนี้ทำให้การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้อย่างรวดเร็วที่สุด

ความรุนแรงจากภาวะโลกร้อนสู่ภาวะโลกเดือด ผลกระทบหนักต่อสิ่งมีชีวิตในหลากหลายมิติ

“ภาวะโลกเดือด” เริ่มได้รับความสนใจเมื่อผู้นำหรือองค์กรระดับนานาชาติ เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN) และนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ ใช้คำนี้เพื่อสร้างจุดสนใจให้เห็นถึงความรุนแรงของวิกฤตภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้น และกระตุ้นให้ทุกคนเร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการใช้พลังงานหมุนเวียน

คำนี้สะท้อนถึงความรุนแรงที่ไม่ใช่แค่ “ความร้อน” แต่ยังรวมถึงผลกระทบที่ครอบคลุมทุกด้านของชีวิตบนโลกใบนี้ หากไม่มีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ

ความรุนแรงที่เห็นได้ชัด จากวิกฤตไฟป่าแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา ข่าวร้ายต้นปี 2025 (7 ม.ค. 2568) คร่าชีวิตมนุษย์และสัตว์ เสียหายทางเศรษฐกิจราว 1.73 ล้านล้านบาท 

ถือเป็นข่าวเศร้ารับต้นปีเลยทีเดียว กับสถานการณ์ไฟป่าในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา โดย BCC NEW ไทย ได้ให้ข้อมูลว่า มีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 ราย และต้องอพยพประชาชนกว่า 1.37 แสนคน ออกจากพื้นที่ ขณะที่ต้องระดมเจ้าหน้าที่ดับเพลิงมากกว่า 1,400 คน ท่ามกลางอุปสรรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นลมกระโชกแรง ความแห้งแล้งในพื้นที่ และขาดแคลนน้ำเพื่อนำมาช่วยดับเพลิง  มีพื้นที่ที่เกิดไฟป่าอย่างน้อย 7 แห่ง สร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน พื้นที่เพราะปลูกอย่างมหาศาล 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟป่าใหญ่ครั้งนี้เกิดจากอะไร 

ผลการวิจัยของรัฐบาลสหรัฐฯ ชี้ว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดไฟป่าครั้งนี้ กระแสลมที่พัดแรงและความแห้งแล้งเป็นสาเหตุหลักของไฟป่ากลางฤดูหนาว ทำให้ไม่สามารถควบคุมทิศทางของไฟได้ จนเกิดเหตุไม่คาดฝันที่คร่าชีวิตคน สัตว์พร้อมความเสียหายครั้งใหญ่นี้ 

ถอดบทเรียนอะไรคือสาเหตุที่แท้จริง ของวิกฤตที่ทวีความรุนแรงของภัยพิบัติธรรมชาติ !!

ปัจจัยหลักอะไรบ้าง ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกเดือด สาเหตุที่ทำให้วิกฤตภาวะโลกเดือดรุนแรงขึ้น ?

จากปัจจัยด้านพฤติกรรมของมนุษย์

1. การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emissions) 

  • การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) และก๊าซมีเทน (CH₄) ในปริมาณมหาศาล
  • การทำปศุสัตว์ขนาดใหญ่เป็นแหล่งสำคัญของก๊าซมีเทน
  • การตัดไม้ทำลายป่า ลดความสามารถของธรรมชาติในการดูดซับ CO₂
  • กระบวนการผลิตที่ไม่มีคุณภาพ ไม่สามารถควบคุมและจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 

1.1 วัฒนธรรมการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน

การบริโภคอาหารที่ไม่ยั่งยืนจากพฤติกรรมของมนุษย์

  • การบริโภคอาหารที่มาจากการผลิตที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การบริโภคเนื้อสัตว์จากฟาร์มที่มีการใช้ทรัพยากรในการผลิตสูง หรือการผลิตที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างสูง
  • การสูญเสียและทิ้งอาหาร (food waste) ทั้งจากอุตสาหกรรมการผลิต และภาคครัวเรือน ซึ่งการทิ้งอาหารที่ยังสามารถบริโภคได้ หรือการบริโภคในปริมาณมากเกินไปโดยไม่คิดถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ 

การซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยและการบริโภคการใช้แล้วทิ้ง

  • การบริโภคสินค้าผลิตจากวัสดุที่ไม่ยั่งยืน เช่น เสื้อผ้าแฟชั่น (Fast fashion) ที่ผลิตในปริมาณมาก ปรับเปลี่ยนการใช้ไปตามกระแส เทรนด์ และถูกทิ้งเมื่อไม่เป็นที่นิยม
  • การซื้อสินค้าโดยไม่มีความจำเป็น เช่น การซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยที่ทำให้เกิดการผลิตมากเกินไป ซึ่งจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

2.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจใช้พลังงานที่ไม่ยั่งยืน รวมถึงการขยายเขตเมืองและอุตสาหกรรม 

  • ระบบพลังงานที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลมากเกินไป
  • การผลิตไฟฟ้า การขนส่ง และอุตสาหกรรมที่ไม่ได้ใช้พลังงานหมุนเวียน

2.1 การขยายตัวของเมืองและอุตสาหกรรม

  • การขยายตัวของเมืองใหญ่และการพัฒนาอุตสาหกรรมเพิ่มความร้อนในท้องถิ่นและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • การแปลงพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ธรรมชาติไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรมหรือเมือง ทำให้ดินปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ
  • การผลิตขยะมูลฝอยและการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทน

2.2 การทำลายป่าและพื้นที่สีเขียว (Deforestation) เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

  • การตัดไม้เพื่อเกษตรกรรม การสร้างที่อยู่อาศัย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้เกิดการลดลงของป่าไม้ ซึ่งเป็นตัวดูดซับคาร์บอนตามธรรมชาติลดน้อยลงตามไปด้วย  

2.3 อุตสาหกรรมการผลิตและการบริโภคที่เกินพอดี

  • การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในปริมาณมากและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินขีดจำกัด
  • ระบบห่วงโซ่อุปทานที่มีการขนส่งระยะไกล ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซ CO₂ เพิ่มขึ้น

2.4  กิจกรรมการเกษตร

  • การใช้ปุ๋ยเคมีในกิจกรรมทางการเกษตรปริมาณมาก  ทั้งในระบบอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N₂O) เพิ่มมากขึ้น 

2.5 กิจกรรมการปศุสัตว์

  • กระบวนการเลี้ยงสัตว์ ในระบบอุตสาหกรรมทำให้ปล่อยก๊าซมีเทนในปริมาณสูง
  • การจัดการมูลสัตว์ การเก็บและจัดการมูลสัตว์ โดยเฉพาะในระบบที่มีการเก็บมูลในที่ชื้นแฉะ เช่น บ่อหมักหรือบ่อเก็บมูล จะเกิดกระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้ปล่อยก๊าซมีเทนในปริมาณมาก 
  • การผลิตอาหารสัตว์  การปลูกพืชอาหารสัตว์ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ซึ่งกระบวนการผลิตและการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนจะปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์
  • การขนส่งและกระบวนการแปรรูป  การขนส่งอาหารสัตว์ สัตว์มีชีวิต และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ตลอดจนกระบวนการแปรรูปและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น

การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่น่ากังวลจนส่งผลกระทบร้ายแรงต่อระบบนิเวศและมนุษยชาติในหลากหลาย ที่เป็นความจำเป็นเรื่องเร่งด่วนในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ไม่ใช่เพียงแค่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ยังต้องปรับตัวและสร้างความร่วมมือระดับโลกเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

1.เกิดคลื่นความร้อนที่ร้อนมากขึ้นกว่าเดิม วิกฤตจากภูมิอากาศที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เช่น ผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ เพิ่มอัตราการเสียชีวิตจากโรคและการแพร่ระบาดของโลก 

2.การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก  NASA พบว่า น้ำแข็งในขั้วโลกเหนืออย่างกรีนแลนด์ และขั้วโลกใต้แอนตาร์กติกา ละลายเร็วขึ้นน้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลายไวขึ้น 6-7 เท่า เมื่อเทียบกับ 25 ปีก่อน และ น้ำแข็งกรีนแลนด์ได้หายไปถึง 4,700 ล้านตัน มีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1.2 เซนติเมตร เมื่อน้ำทะเลสูงเพิ่มขึ้น พนที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลก็จะท่วมง่ายมากขึ้น 

3.ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ผลพวงจากน้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วขึ้น ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งเกิดความเสียหายจากคลื่นที่กระทบอย่างรุนแรง 

4.ภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ  เกิดภัยพิบัติที่มีความรุนแรง นับว่าเป็นวิกฤตเลยก็ว่าได้  เช่น พายุ น้ำท่วม และไฟป่าที่เพิ่มความถี่และความรุนแรง ซึ่งในบางพื้นที่ไม่เคยถูกน้ำท่วม แต่ปัจจุบันน้ำท่วมทุกปี หรือการเกิดไฟป่าที่ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิดสูญพันธุ์หรือตายลง

ผลกระทบทางตรงต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 

  1. ผลกระทบต่อมนุษย์
  • ด้านสุขภาพ คลื่นความร้อนที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ เช่น การเกิดโรคลมแดด (Heat Stroke) โรคทางเดินหายใจ และโรคหัวใจ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของสารก่อภูมิแพ้ในอากาศยังทำให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และหอบหืดมีอาการรุนแรงขึ้น
  • ด้านความมั่นคงทางด้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง เช่น การแห้งแล้งและน้ำท่วมที่ทำลายพืชผล การขาดแคลนน้ำในพื้นที่เกษตรกรรมยังส่งผลต่อปริมาณอาหารในตลาดโลก
  • ด้านความเป็นอยู่และที่อยู่อาศัย ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นทำให้ชุมชนชายฝั่งหลายแห่งถูกน้ำท่วม ต้องย้ายถิ่นฐาน และเผชิญกับความเสี่ยงจากพายุที่รุนแรงมากขึ้น
  1. ผลกระทบต่อสัตว์ป่า
  • ด้านการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทำให้สัตว์หลายชนิดสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย เช่น หมีขั้วโลกที่ต้องพึ่งพาน้ำแข็งในทะเล หรือสัตว์ทะเลที่ต้องเผชิญกับการฟอกขาวของปะการัง
  • ด้านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการอพยพ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทำให้สัตว์บางชนิดต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอพยพ ซึ่งอาจส่งผลต่อการอยู่รอดและการสืบพันธุ์
  • ด้านความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สิ่งมีชีวิตหลายชนิดไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ทำให้จำนวนประชากรลดลงจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เช่น นกเพนกวินบางสายพันธุ์และกบในเขตร้อน
  1. ผลกระทบต่อระบบนิเวศ
  • การเสื่อมสภาพของปะการัง  ปะการังที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลหลายชนิดกำลังเสื่อมสภาพจากการฟอกขาวเนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อาหาร  การลดลงของสัตว์บางชนิดในระบบนิเวศ เช่น ปลาเล็กในมหาสมุทร ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อสัตว์ที่อยู่ในระดับสูงกว่าในห่วงโซ่อาหาร
  • การเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางกายภาพของระบบนิเวศ เช่น การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชุ่มน้ำไปเป็นพื้นที่แห้งแล้ง ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง
  1. ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ
  • ความเสื่อมโทรมของดินและแหล่งน้ำ  การแห้งแล้งและการใช้น้ำเกินพอดีทำให้แหล่งน้ำจืดลดน้อยลงและดินเสื่อมคุณภาพ
  • มหาสมุทรที่ร้อนขึ้น  ส่งผลต่อสัตว์ทะเล เช่น การลดจำนวนของปลาที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญของมนุษย์
  • การเปลี่ยนแปลงของพืชพรรณธรรมชาติ  อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้พืชบางชนิดเติบโตได้ยากและสูญพันธุ์ในบางพื้นที่

เราจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร ?

การแก้ไขปัญหาภาวะโลกเดือดเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องมีส่วนร่วม โดยเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ที่แต่ละคนทำในชีวิตประจำวัน เมื่อรวมกันแล้วสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกในระยะยาวได้ เป็นการทำงานร่วมกันทั้งในระดับบุคคล ชุมชน ประเทศและระดับโลกจะช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับโลกใบนี้ได้

ร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ดียิ่งขึ้น

FDI ในฐานะที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เรามุ่งผลักดันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม  โดยการให้คำปรึกษาภาคธุรกิจในการทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับองค์กรและผลิตภัณฑ์ 

ในบริการนี้ ถือเป็นการจัดการคาร์บอนให้ลดน้อยลง เรามีความมุ่งมั่นในการให้คำปรึกษากับทุกธุรกิจ เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งต่อความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม และสังคม รวมถึงการทำธุรกิจในระยะยาวอีกด้วย 

FDI Group ขอเชิญชวนทุกองค์กร ร่วมกันตั้งเป้าหมายและขับเคลื่อนสู่ Net Zero ร่วมกันสร้างโลกสีเขียวเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจไปด้วยกัน

FDI Accounting & Advisory

ที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างครบวงจร !

🌐Website : www.fdi.co.th

📞 Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895

 E-mail : reception@fdi.co.th

 Facebook : FDI Group – Business Consulting

Line Official : @fdigroup