การจดทะเบียน บริษัทจำกัด คืออะไร ? มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีกี่แบบ
การจดทะเบียนบริษัท คือ กระบวนการทางกฎหมายที่เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการ ดำเนินการลงทะเบียนกิจการของตนเองกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยคือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ธุรกิจนั้นได้รับการรับรองสถานะเป็น นิติบุคคล โดยทางกฎหมาย ซึ่งการจดทะเบียนบริษัทนั้น ช่วยให้ธุรกิจมีสถานะทางกฎหมายที่สามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง ซึ่งจะทำให้บริษัทมีสิทธิ์และหน้าที่ต่าง ๆ ตามกฎหมายมากขึ้น เช่น การทำสัญญา, การขอสินเชื่อ, การจัดเก็บภาษี, การจ้างงาน, การปฏิบัติตามกฎระเบียบภาษี และการระดมทุน
การจดทะเบียนบริษัทนั้น แบ่งออกเป็นกี่ประเภท แต่ละแบบต่างกันอย่างไร ?
การจดทะเบียน แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) และ แบบทะเบียนนิติบุคคล การจดทะเบียน แต่ละแบบมีความแตกต่าง รวมถึงข้อจำกัดในการประกอบกิจการต่างกันออกไป ดังนี้
1.แบบทะเบียนพาณิชย์หรือบุคคลธรรมดา
การจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์หรือบุคคลธรรมดา คือ การเปิดบริษัทโดยมีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ซึ่งเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีมูลค่าธุรกิจไม่สูงมาก เจ้าของกิจการทำงานเพียงคนเดียวได้ และไม่มีพนักงาน
การจดทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) เหมาะกับใคร
- ธุรกิจส่วนตัวเช่น ขายของออนไลน์ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ
- ขายอาหารมีหน้าร้านขนาดเล็ก
2.การจดทะเบียนบริษัท แบบทะเบียนนิติบุคคล
คือ การเปิดบริษัทที่มีเจ้าของกิจการโดยมีผู้ถือหุ้น ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การดำเนินธุรกิจทุกอย่างจะต้องผ่านความเห็นชอบจากเจ้าของกิจการทุกคน การจดทะเบียนบริษัทประเภทนี้ทำให้บริษัทมีตัวตนทางกฎหมายชัดเจน และจะออกมาในนามของบริษัท ขอแนะนำสำหรับธุรกิจที่เติบโตในระดับหนึ่ง เหมาะธุรกิจขนาดกลาง ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่
ซึ่งการจดทะเบียนนิติบุคคลสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบด้วยกัน มีความแตกต่างกันที่การรับผิดชอบหนี้สินของบริษัท โดยในแต่ละแบบมีความแตกต่างกัน ดังนี้
- ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ
การดำเนินกิจการแบบห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญนิติบุคคล หมายถึง เจ้าของกิจการทุกคนมีสิทธิ์จัดการกิจการและแบ่งปันผลกำไรจากกิจการทุกคน ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ เป็นธุรกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำธุรกิจร่วมกับผู้อื่น โดยมีการแบ่งผลกำไรและขาดทุนตามสัดส่วนการลงทุนและมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งหมด โดยหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัด
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เหมาะกับกิจการที่มีเจ้าของหรือหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การดำเนินกิจการประเภทนี้จะต้องจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคล แต่ไม่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ เป็นรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการร่วมลงทุนในธุรกิจแต่ไม่ต้องการรับผิดชอบหนี้สินเกินกว่าทุนที่ลงทุน โดยมีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนสามัญ (ที่มีสิทธิ์บริหารและรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมด) และ หุ้นส่วนจำกัด (ที่รับผิดชอบหนี้สินเฉพาะจำนวนเงินที่ลงทุน) ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถระดมทุนได้โดยไม่ต้องมีหุ้นส่วนที่มีความรับผิดชอบไม่จำกัด
- บริษัทจำกัด
ธุรกิจหรือกิจการ ที่จดทะเบียนบริษัทจำกัด มีลักษณะการทำกิจการร่วมกัน เพื่อหากำไรร่วมกัน จะต้องจดทะเบียนนิติบุคคล การจดทะเบียนบริษัทสามารถทำได้โดยมีผู้เริ่มก่อตั้ง ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การจดทะเบียนบริษัทจำกัดเหมาะกับกิจการที่มีการเติบโตระดับหนึ่ง มีมูลค่าบริษัทสูง
ข้อดีการจดทะเบียนบริษัทจำกัด คือ
- กิจการมีความน่าเชื่อถือในระยะยาวมากกว่า และมีความเป็นระบบในการทำงานมากขึ้น
- มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สินเชื่อทางการเงินได้ง่ายมากขึ้น
- ความรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดจากกิจการที่หุ้นส่วนจะต้องชำระนั้น จำนวนเท่ากับเงินทุนค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้เท่านั้น
ข้อเสียการจดทะเบียนบริษัทจำกัด คือ
- การจดทะเบียนบริษัทจำกัดนั้นมีการจัดตั้งที่ยุ่งยาก มีข้อบังคับตามกฏหมายที่ซับซ้อน
- การจดทะเบียนบริษัทจำกัดนั้น หากเลิกกิจการนั้น การเลิกกิจการทำได้ยากกว่าการจดทะเบียนแบบอื่น
รวมคำถามที่พบบ่อยในการจัดทะเบียนบริษัท
Q : จดทะเบียนบริษัทดีไหม ตอนไหนที่ควรจด
A : การจดทะเบียนบริษัทมีข้อดีหลายอย่างทั้งการช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ สามารถแยกทรัพย์สินส่วนบุคคลออกจากทรัพย์สินของบริษัท รวมถึงโอกาสที่เพิ่มขึ้นจากการร่วมลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน แล้วควรจดทะเบียนบริษัทช่วงไหน ในตามกฏหมายไม่ได้มีการกำหนดการจดทะเบียนไว้อย่างชัดเจนว่าเมื่อไหร่ที่ควรจด แต่ผู้ประกอบการสามารถดูได้จากรายรับต่อปี และความพร้อมในการจดทะเบียนบริษัท
Q : การตั้งชื่อ หรือ ใช้ชื่อบริษัทตั้งอย่างไรได้บ้าง
A : การตั้งชื่อของบริษัทที่จะจัดตั้งต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับที่กำหนด เช่น ชื่อบริษัทต้องไม่ซ้ำกับชื่อที่จดทะเบียนแล้ว , ต้องมีคำบ่งบอกประเภทของบริษัท , ใช้คำที่เหมาะสม , ต้องไม่ละเมิดเครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้า โดยข้อกำหนดอื่นๆเพิ่มเติมสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
Q : จดทะเบียนบริษัท ต้องมีกี่หุ้นกี่คน จำกัดขั้นต่ำเท่าไหร่
A : การจดทะเบียนบริษัท ต้องมีผู้ถือหุ้นขั้นต่ำ 2 คนขึ้นไป โดยยึดตามกฎหมายข้อยกเว้นออกมาตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ว่าสามารถจดทะเบียนบริษัทโดยมีผู้เริ่มก่อตั้งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปได้
Q : ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำต้องจดกี่บาทขึ้นไป
A : ตามที่กฎหมายกำหนด จะนำมาพิจารณา 2 เงื่อนไข คือ ต้องมีราคาต่อหุ้นขั้นต่ำ หุ้นละ 5 บาท ขึ้นไป ต้องมีหุ้นส่วนขั้นต่ำ 2 คน ขึ้นไป หากหุ้นส่วนถือหุ้น แค่คนละ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 5 บาท ก็ต้องใช้ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ คือ 10 บาทนั่นเอง
Q : ใช้อาคารเช่าเป็นสถานที่จดทะเบียนได้ไหม ?
A : สามารถใช้อาคารที่เช่าอยู่ทำได้ แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดคือมีการเตรียมเอกสารประกอบ เช่น สัญญาเช่า และ หนังสือยินยอมจากเจ้าของอาคารเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อยืนยันสิทธิ์ในการใช้สถานที่ดังกล่าว และต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าการใช้งานที่เช่าตามวัตถุประสงค์ทางธุรกิจนั้นไม่ขัดกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
Q : ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท
A : ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยจะแตกต่างกันไปตามประเภทของบริษัทที่ต้องการจดทะเบียน รวมถึง ทุนจดทะเบียน ของบริษัท โดยหลัก ๆ การคิดค่าธรรมเนียมจะรวมถึงการจดทะเบียนการจัดตั้งบริษัท, การออกใบรับรองการจดทะเบียน, ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทุน, การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
คลิ๊ก ! สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
Q : ไม่มีความรู้เรื่องจดทะเบียน ศึกษาหรือปรึกษาใครได้บ้าง
A : ปรึกษา FDI Group ได้เลยค่ะ ด้วยเหตุผลคือ FDI Group มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาในการจดจัดตั้งบริษัทและการขอใบอนุญาตการประกอบธุรกิจต่าง ๆ มามากกว่า 29 ปี สามารถให้คำปรึกษาธุรกิจในแต่ละประเภทได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย หรือการขอใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจต่าง ๆ มีกระบวนการที่ง่าย กระชับเวลา มีความถูกต้องครบถ้วน เหมาะสำหรับเจ้าของกิจการหรือธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง โดย FDI พร้อมให้คำปรึกษาในทุกขั้นตอนด้วยความยินดี
คลิ๊ก ! สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
กระบวนการจดทะเบียนบริษัทนั้นสามารถสรุปออกมาเป็น 6 ขั้นตอนอย่างง่ายได้ดังนี้
6 ขั้นตอนหลัก บริการจาก FDI ง่ายนิดเดียว !
1.ติดต่อ FDI ส่งข้อมูลรายละเอียด พร้อมรับใบเสนอราคา
2.ตรวจชื่อและจองชื่อบริษัท
3.จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
4.รอนายทะเบียนตรวจสอบเอกสาร
5.เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อใช้จดทะเบียนบริษัท
6.ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท
FDI Accounting & Advisory ที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างครบวงจร ง่าย ครบ จบ ในที่เดียว!
ทุกธุรกิจเติบโตได้ ง่ายนิดเดียว เพียงปรึกษา FDI บริการครบ ให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์เชิงลึกในหลากหลายธุรกิจ ตอบโจทย์ในทุกธุรกิจ ทันสมัย รวดเร็ว บริการทุกท่านด้วยความยินดี เราพร้อมที่จะมอบประสบการณ์และส่งต่อคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับทุกท่าน
ช่องทางติดต่อ
- Facebook : FDI Group – Business Consulting
- Line : @fdigroup
- Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895
- E-mail : reception@fdi.co.th
- Website : www.fdi.co.th