ทำความรู้จักกับ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) หรือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน
สหภาพยุโรป (EU) ถือเป็นผู้นำในระดับโลกในด้านการจัดการกับ Climate Change โดยได้ตั้งเป้าหมายการเข้าสู่ Net Zero Emission ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) ดังนั้น การกำหนดมาตรการ CBAM ขึ้น ถือเป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วมากขึ้น “ CBAM ” ย่อมาจาก “Carbon Border Adjustment Mechanism” หรือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน เป็นมาตรการที่สหภาพยุโรป (EU) กำหนดขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือนการเก็บภาษีสินค้านำเข้าตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
มาตรการ CBAM มีเพื่อมุ่งสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแก่ประเทศคู่ค้านอกสหภาพยุโรป จึงเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้มั่นใจว่าสินค้าที่นำเข้ามาในสหภาพยุโรปได้คิดต้นทุนในการปล่อยคาร์บอนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องซื้อใบรับรอง CBAM (CBAM Certificate) ตามปริมาณการนำเข้าและปริมาณการปล่อยคาร์บอนของสินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตในสหภาพยุโรป โดย FDI มีความเห็นว่า มาตรการนี้จะช่วยผลักดันเร่งรัด ให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการเงิน เร่งปรับตัวเพื่อมุ่งเข้าสู่การเป็นเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำได้เร็วมากยิ่งขึ้น รวมถึง CBAM จะนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย
อุตสาหกรรมเป้าหมายของ CBAM 6 กลุ่มระยะเเรก มีสินค้าอะไรบ้าง ?
- อุตสาหกรรมเป้าหมาย 6 กลุ่ม ได้แก่ ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน ซึ่ง CBAM ได้เริ่มเข้าสู่ระยะเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) ในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยสินค้ากลุ่มเป้าหมาย จะต้องรายงานปริมาณการนำเข้า ปริมาณการปล่อยคาร์บอนทางตรง และทางอ้อมของสินค้า โดย CBAM มีเป้าหมายในการบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มกราคม 2569 ผู้นำเข้าจะต้อง ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องซื้อใบรับรอง CBAM (CBAM Certificate) ตามปริมาณการนำเข้าและปริมาณการปล่อยคาร์บอนของสินค้า
การคำนวณราคาจากการคิดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจว่า โดยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่นำมาคำนวณราคา CBAM จะเรียกรวมว่า Embedded Emission ซึ่งจะคิดจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้า ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากกระบวนการผลิตของสินค้า โดยมีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) แต่ทั้งนี้จะยกเว้นผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าที่ส่งขาย EU จะคิดเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Direct Emissions) ซึ่งมีวิธีการคิด ดังนี้
CBAM Embedded Emissions = Direct Emissions + Indirect Emissions (Electricity) + Indirect Emissions (Precursors)*GHG ทางตรง + GHG ทางอ้อมจากไฟฟ้า + GHG ทางอ้อมจากวัตถุดิบตั้งต้น*
* โดย ระเบียบ CBAM จะกำหนดไว้ว่าผลิตภัณฑ์ใดต้องพิจารณา GHG จากวัตถุดิบตั้งต้นบ้าง (Precursors)
- Direct Emissions คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงในกระบวนการผลิต เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง การทำปฏิกิริยาในกระบวนการผลิต การกำจัดก๊าซเหลือทิ้ง เป็นต้น
- Indirect Emissions (Electricity) คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่เกิดจากกิจกรรมการใช้ไฟฟ้าในกระบวนการผลิตสินค้า
- Indirect Emissions (Precursors) คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่เกิดจากการผลิตวัตถุดิบตั้งต้น ที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้า
โดยสรุป การรายงานค่า Embedded Emissions ในช่วงเปลี่ยนผ่านทั้ง 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ จะต้องรายงานค่า Embedded ตามหลักการข้างต้น สำหรับหลังช่วงเปลี่ยนผ่าน สินค้ากลุ่มเหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน ให้คำนวณเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบทางตรง (Direct Emissions) ส่วนสินค้ากลุ่มอื่นๆ ให้คำนวณทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อม (Indirect Emissions)
ที่มาข้อมูล : Ref : องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
จากวิธีการคำนวณหาค่า Embedded Emissions ผู้ประกอบการสามารถเรียนรู้ได้เพื่อให้ง่ายต่อการรวมข้อมูล เพื่อส่งให้ผู้นำเข้าสินค้านำไปส่งมอบรายงานข้อมูล (CBAM Report) ผ่านระบบ CBAM Registry ต่อไปนั่นเอง
ผลกระทบของ CBAM ต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นกับไทย
ในปัจจุบันมาตรการ CBAM มีผลบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน (transitional period) แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบในเรื่องของต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านการวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้านการจัดทำเอกสารและตรวจสอบ ที่ต้องทำให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ได้กำหนดเอาไว้ เป็นการเพิ่มภาระในการบริหารจัดการ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการประกอบธุรกิจ แต่ผลกระทบเชิงบวก CBAM นำมาซึ่งโอกาสของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย เป็นกุญแจอีกหนึ่งดอกที่สำคัญที่จะเป็นแรงกระเพื่อมที่จะช่วยให้ทุกอุตสาหกรรมได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยคาร์บอนลง
ผลกระทบเชิงบวก
1.เร่งการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้เร็วมากขึ้น
กระตุ้นให้ผู้ประกอบการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ลดน้อยลง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายสีเขียวโดยเร็วที่สุด
2.โอกาสในการค้า เเละการลงทุนตลาดสีเขียวที่เพิ่มมากขึ้น
เนื่องจาก Embedded Emission ของ CBAM ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อม การลงทุนในตลาดสีเขียวจึงมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการขยายตลาดสู่ตลาดสีเขียว การส่งเสริมเเละพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียวทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ผลกระทบเชิงลบ
- ต้นทุนการส่งออกสูงขึ้น
สินค้าส่งออกไปตลาด EU ที่เป็นอันดับต้นๆ คือ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า (รวมถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำจากเหล็ก) ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างสูง มีแนวโน้มได้รับผลกระทบมากที่สุดจาก CBAM เนื่องจากไทยมีการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมาก ในส่วนนี้ ต้องมีการเพิ่มระบบบริหารจัดการ ทั้งต้นทุนทางตรงจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและต้นทุนทางอ้อมจากการวัดและรายงานการปล่อยคาร์บอน ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ (Paper work) ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนส่งออกสูงขึ้นอย่างแน่นอน
มุมมองของ FDI : ความท้าทายธุรกิจสีเขียวกับโอกาสที่เกิดขึ้น
ผลกระทบจากมาตรการนี้ แน่นอนว่าแต่ละภาคส่วนย่อมได้รับผลกระทบในระดับที่แตกต่างกันออกไป ทั้งการพึ่งพาตลาดสหภาพยุโรปในการส่งออก ห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรม เนื่องจาก Embedded Emission ของ CBAM ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อมด้วยนั่นเอง โดยในความท้าทายนี้ผู้ประกอบการไทย ต่างต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องในทุกมิติ เพื่อเพิ่มโอกาสในการก้าวเข้าสู่ธุรกิจสีเขียวมากขึ้น
FDI ให้ความเห็นว่า แนวโน้มโอกาสทางการค้าและการลงทุนในธุรกิจสีเขียวมีมากขึ้น จากที่เห็นได้อย่างชัดเจนเเล้วว่าแนวโน้วการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อม ถ้าหากผู้ประกอบการไทยสามารถปรับตัวได้ดีกว่าประเทศอื่นที่เป็นคู่แข่งได้ ก็จะสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดในสหภาพยุโรป รวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่จะบังคับใช้ CBAM
บริการที่ปรึกษาธุรกิจสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
- บริการฝึกอบรมในด้านที่เกี่ยวกับ Carbon Management
- ให้คำปรึกษา BCG (Bio-circular-Green Economy Business Model) และ ESG ในระยะยาว
- บริการจัดทำและประเมิน Carbon Footprint and Carbon Credit
- บริการจัดทำและให้คำปรึกษา Carbon Net Zero Event
- บริการ Energy Dashboard Platform ครอบคลุม Scope 1 , 2 และ 3
หากธุรกิจของคุณมองเห็นถึงโอกาสที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับเรา ให้เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจสีเขียวร่วมกัน เพื่อสร้างความยั่งยืน และร่วมกันส่งต่อคุณค่าที่ดีให้แก่สังคม
FDI Accounting & Advisory ที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างครบวงจร ง่าย ครบ จบ ในที่เดียว!
ช่องทางติดต่อ
- Facebook : FDI Group – Business Consulting
- Line : @fdigroup
- Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895
- E-mail : reception@fdi.co.th
- Website : www.fdi.co.th