ทุกคนอาจจะคุ้นกับคำว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% แต่อยากจะไม่คุ้นกับการ จดทะเบียน ภพ 20 และหากท่านใดที่เริ่มทำเริ่มธุรกิจที่ขายสินค้าและให้บริการมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ควรอ่านบทความนี้อย่างยิ่ง โดยทางได้ FDI A&A สำรวจเกี่ยวกับ จดทะเบียน ภพ 20 คืออะไร และข้อความรู้ต่างๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น หากพร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลยค่ะ!
ใบ ภ.พ. 20 คืออะไร?
ใบ ภ.พ. 20 เป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าบริษัทนั้นได้จด Vat หรือเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องมีหน้าที่เพิ่มเติมดังนี้
- ยอดขายทุกๆรายการที่เกิดขึ้นจะต้องคิด Vat 7% และนำส่งภาษีขายให้แก่กรมสรรพากร
- ภาษีซื้อที่เกิดจากยอดซื้อต่างๆ บริษัทต้องเก็บใบกำกับภาษีเอาไว้ เพื่อเป็นหลักฐานในการเครดิตภาษี (คือการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย)
- จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มโดยใช้แบบ ภพ.30 เป็นประจำทุกเดือน
ตัวอย่าง บริษัท A จำกัด มียอดขายทั้งเดือนที่ 1000 บาท มีภาษีขาย 7% คือ 70 บาท และบริษัทมียอดซื้อทั้งเดือนที่ 700 บาท มีภาษีซื้อที่ 7% ที่ 49 บาท ดังนั้นยอดที่ทางบริษัทต้องนำส่ง ภพ 30 ให้แก่กรมสรรพากรคือ 70 – 49 = 21 บาท นั่นเอง แต่หากภาษีขาย น้อยกว่า ภาษีซื้อ ยอดที่ติดลบสามารถนำมาเป็นเครดิตภาษีใช้ในเดือนถัดไปได้
ข้อมูลใน ภพ 20 มีอะไรบ้าง
- คำว่า ภพ 20 ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ชื่อผู้ประกอบการ
- ชื่อสถานประกอบการ
- เลือกแสดงว่าเป็นสำนักงานใหญ่ หรือสาขา
- ที่อยู่ของบริษัท
- เบอร์ติดต่อของบริษัท
- วันที่ให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ชื่อและตำแหน่งเจ้าหน้าที่สรรพากรของผู้ออกทะเบียนนี้
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถกระทำได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
- ยื่นแบบคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ rd.go.th
- ยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ
เอกสารที่ใช้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- แบบคำขอจดทะเบียน ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจ หรือผู้ประกอบการ 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้ตั้งเป็นสถานประกอบการ 1 ฉบับ
- รูปภาพสำนักงานทั้งภายในและภายนอก อย่างน้อย 4 ภาพ จำนวน 2 ชุด
- แผนที่สำนักงาน 2 ชุด
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ / สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ / ภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล 1 ฉบับ
- หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) กรณีให้บุคคลอื่นยื่นจดทะเบียนแทนผิมีอำนาจของกิจการ 1 ฉบับ
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของสถานที่ 1 ฉบับ (กรณีผู้มีอำนาจกิจการไม่ใช่เจ้าของสถานที่)
- หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ 1 ฉบับ (กรณีผู้มีอำนาจกิจการไม่ใช่เจ้าของสถานที่)
- สัญญาเช่า 1 ฉบับ (กรณีเช่าสถานที่ตั้งสำนักงาน)
ประโยชน์ของใบ ภ.พ. 20
- การนำใบ จดทะเบียน ภพ 20 ไปแสดงที่สถานประกอบการในที่ที่สามารภเห็นได้อย่างชัดเจน เป็นข้อกฎหมายที่จะต้องทำ เนื่องจากหากมีเจ้าหน้าที่สรรพากรเข้ามาตรวจสอบที่สถานประกอบการเราส่วนใหญ่มักจะขอดูเอกสารตัวนี้ด้วย
- หากคุณเป็นบริษัทเปิดใหม่ที่ และต้องการซื้อหรือขายสินค้ากับบริษัทอื่น โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อเป็นการติดต่อกันครั้งแรก คู่ค้ามักจะขอข้อมูลต่างๆ เช่น หนังสือรับรอง งบการเงิน หรือ ใบ จดทะเบียน ภพ 20 เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจลัความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจว่าเราเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- ใบ จดทะเบียน ภพ 20 สามารถใช้เป็นเอกสารในการชำระภาษีที่คำนวณตามรายได้ที่รายงานไว้ โดยส่งถึงหน่วยงานภาษีเพื่อชำระภาษีตามกำหนด
- เป็นหลักฐานในการขอสินเชื่อจากธนาคาร เช่น การกู้ยืมเงินจากธนาคาร ทางธนาคารก็จะต้องขอเอกสารหลักฐานต่างๆของบริษัท เช่น ใบ จดทะเบียน ภพ 20, หนังสือรับรองบริษัท, งบการเงิน เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทเรานั้นเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง และเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทของเรามีสุขภาพทางการเงินที่ดีพอ ที่จะสามารถปล่อยเงินกู้ให้ได้
FDI Accounting & Advisory เป็นบริษัทที่ให้บริการจดทะเบียนบริษัท และขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจต่างๆ ครบวงจร ด้วยประสบการณ์กว่า 28 ปี ทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือคุณในทุกขั้นตอน
บริการของเรา
- จดทะเบียนบริษัททุกรูปแบบ
- ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
- บริการทำบัญชีและภาษี
- บริการงานทะเบียนการค้า
- บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
ทำไมต้องเลือก FDI Accounting & Advisory
- ทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์
- บริการครบวงจร จบในที่เดียว
- สะดวกรวดเร็ว ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน
- ราคาที่ย่อมเยา คุ้มค่า
- ให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
พิเศษ ! แอดไลน์ Official : @fdigroup กดรับส่วนลดสูงสุดถึง 20% ทุกบริการ วันนี้ – 31 พฤษภาคม 2567 เท่านั้น !
FDI Accounting & Advisory ที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างครบวงวจร ง่าย ครบ จบ ในที่เดียว!
🩵 Facebook : FDI Group – Business Consulting
💚 Line : @fdigroup
📞 Phone : 02 626 5999
📧 E-mail : infojob@fdi.co.th
🌐Website : www.fdi.co.th
บทความที่เกี่ยวข้อง
5 Checklist! สำคัญสำหรับการ ทำภาษี
ช่วงปลายปีใกล้เข้ามาแล้ว หลายคนคงเริ่มวุ่นวายกับการเตรียมตัวสำหรับการ ทำภาษี...
Read More5 การลงทุนเพื่อประหยัดในการ ทำภาษี !
การวางแผนในการ ทำภาษี เป็นส่วนสำคัญของการจัดการการเงินที่ดี ...
Read Moreจดทะเบียนภพ 20 กับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่างกันอย่างไร ?
สำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการในประเทศไทย คงจะคุ้นเคยกับคำว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)”...
Read More