ความสำคัญของการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนในประเทศไทย
“ประเทศไทยตั้งเป้าหมาย Carbon Neutality ภายในปี 2050 และจะพัฒนาสู่ Carbon Net Zero ภายในปี 2065 จากกรอบนโยบายที่ตั้งเป้าหมายไว้ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง หากขาดความร่วมมือของทุกภาคส่วนภายในประเทศ “
การประกาศเป้าหมาย Net Zero ของประเทศไทยเป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยต้องการบรรลุเป้าหมายนี้ภายในปี 2050 ผ่านการใช้พลังงานสะอาด เทคโนโลยีที่ยั่งยืน และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน แม้ว่าจะมีความท้าทาย แต่การดำเนินการเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนี้
ความสำคัญในการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
ในการปรับตัวนั้นเป็นเรื่องสำคัญในการทำธุรกิจ แต่ละองค์กรให้ความสำคัญในการทำธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมากขึ้น การขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนกับ อบก. ก็เป็นอีกกระบวนการที่สำคัญ ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้บริษัทหรือองค์กรที่มีการผลิตสินค้าและบริการ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนนั้นมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่
1.การกีดกันทางการค้าในตลาดต่างประเทศ และการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศอย่างยั่งยืน : หลายประเทศในยุโรปและภูมิภาคต่างๆ มีความเข้มงวดในการตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่นำเข้าหรือการผลิตสินค้า ในบางกรณี การมีฉลากคาร์บอนอาจช่วยให้องค์กรหรือบริษัทสามารถเข้าถึงตลาดเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนกับ อบก. ไม่เพียงแต่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่ยั่งยืน สอดคล้องไปกับนโยบายของทางรัฐบาลที่จะพัฒนาสู่ Carbon Net Zero ภายในปี 2065 และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
2.การแสดงความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วน : แต่ละองค์กรธุรกิจมีความมุ่งมั่นและแสดงเจตนารมย์อย่างชัดเจนในการให้ความสำคัญ ขับเคลื่อนเป้าหมายที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศในด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน หรือในบางประเภทธุรกิจได้มีการจัดส่งสินค้า ผลิตภัณฑ์ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ (อ่านต่อมาตรการ CBAM) ที่มีมาตรการรับซื้อสินค้าเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนแล้วเท่านั้น การขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนกับ อบก. ก็เป็นอีกการรับรองที่ได้มาตรฐาน รวมถึงความน่าเชื่อถือในระดับสากล
3.การแสดงความมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน : การขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนช่วยกระตุ้นให้บริษัทดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ควบคุม ปรับเปลี่ยนปรับปรุงกระบวนการผลิต การบริหารจัดการในภาพรวมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4.การสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค : ผู้บริโภคในปัจจุบันมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น การมีฉลากคาร์บอนช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าและบริการว่าเป็นสินค้าที่มีการผลิตโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นที่ดี รวมถึงภาพลักษณ์ที่สำคัญให้กับองค์กรธุรกิจอีกด้วย
5.แรงจูงใจและสิทธิประโยชน์ การได้รับการสนับสนุนอื่นๆที่สำคัญจากภาครัฐ : การได้รับฉลากคาร์บอนทั้งในส่วนขององค์กรหรือผลิตภัณฑ์ จะสามารถเพิ่มโอกาสที่สำคัญจากการสนับสนุนหรือส่งเสริมจากทางภาครัฐ ทั้งในส่วนของนโยบายทางภาษีที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือโอกาสในการส่งเสริมการลงทุน
การทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับองค์กรและผลิตภัณฑ์ เพื่อเป้าหมายที่สำคัญด้านสิ่งแวดล้อม
การทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นการลงทุนระยะยาวที่ช่วยเพิ่มมูลค่าและความยั่งยืนให้กับองค์กรและผลิตภัณฑ์ในยุคที่ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Products หรือ CFP)
คือ การวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หนึ่งหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิต ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน จนถึงการกำจัด โดยคำนวณออกมาเป็นหน่วยกรัม กิโลกรัม หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e)
ทำไมต้องคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ?
- เพื่อวัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : ทราบปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น เข้าใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด และระบุจุดที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
- เพื่อส่งเสริมการผลิตที่ยั่งยืน : กระตุ้นให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อได้อย่างชาญฉลาด ส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
- เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน : หลายประเทศเริ่มมีกฎหมายและมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ธุรกิจที่คำนวณและลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะอยู่ในสถานะที่ดีกว่า ในการแข่งขันในตลาดโลก
- เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค : ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- เพื่อแสดงภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร : การคำนวณและเปิดเผยข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อผู้บริโภค นักลงทุน และพันธมิตรทางธุรกิจ
- เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนกลยุทธ์ : ข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ช่วยให้องค์กรระบุจุดที่สามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน นำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แนวทาง การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์
มาตรฐานสากลที่ใช้สำหรับการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์คือ ISO 14064 แนวทางนี้กำหนดกรอบการทำงานสำหรับการระบุขอบเขต การรวบรวมข้อมูล การคำนวณ และการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
อ่านต่อ : การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์คือ ISO 14064
การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะช่วยองค์กรอย่างไร ?
- เข้าใจภาพรวมของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ระบุแหล่งที่มาของการปล่อยมลพิษที่สำคัญ
- ตั้งเป้าหมายและกลยุทธ์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ติดตามความคืบหน้าและวัดผลลัพธ์
- สื่อสารความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้เสีย
- ส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- Increase competitiveness
- เตรียมพร้อมรับมือกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น
ข้อดีและโอกาสที่จะเกิดขึ้นสำหรับธุรกิจที่มีฉลากคาร์บอนรองรับ
การมีฉลากคาร์บอนรองรับไม่เพียงช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจ แต่ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในตลาดที่มุ่งเน้นความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นสำคัญ ช่วยในการลดต้นทุนและเสริมสร้างความได้เปรียบในแง่ของการแข่งขันทางธุรกิจ พร้อมสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและเตรียมองค์กรให้พร้อมรับมือกับเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำในอนาคตได้ โดยสรุปในแต่ละมิติได้ดังนี้
ข้อดีของธุรกิจที่มีฉลากคาร์บอน
1.มิติด้านภาพลักษณ์ที่ดีและความน่าเชื่อถือขององค์กรสำหรับพันธมิตรคู่ค้าและลูกค้า
แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมสังคม ความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศให้ลดน้อยลง และยังเป็นการเพิ่มความไว้วางใจจากผู้บริโภค นักลงทุน และคู่ค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกด้วย
2.การช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาด
สร้างโอกาสดึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่ในตลาดที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำรวมถึงการขยายโอกาสส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สหภาพยุโรปที่ใช้มาตรการ CBAM เป็นต้น
3.ส่งเสริมการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากขึ้น
การทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะช่วยให้เกิดกระบวนการวิเคราะห์และลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานในกระบวนการผลิตให้ลดน้อยลง ใช้พลังงานสะอาดในการดำเนินงานมากขึ้น และส่งเสริมการจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ
4.สอดคล้องกับข้อกำหนดและนโยบายสิ่งแวดล้อม
เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับข้อบังคับด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตที่ในปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนการร่าง พ.ร.บ. และอยู่ในการพิจารณาของภาครัฐ วึ่งคาดว่าจะมีการประกาศใช้ในเร็ว ๆ นี้ รวมถึงการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ อย่างที่ทราบกันดีว่าในกลุ่มเทศคู่ค้ามีมาตรการกีดกันสินค้าโดยใช้อัตราภาษีที่สูงสำหรับกลุ่มสินค้าที่ไม่มีฉลากคาร์บอน
- สนับสนุนนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาครัฐ
- สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- สนับสนุนเป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs)
โอกาสที่เกิดขึ้น
- เพิ่มความได้เปรียบทางธุรกิจ
- เป็นที่ต้องการของตลาดในกลุ่มผู้บริโภคและคู่ค้าที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ
- ช่วยสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า
- สร้างพันธมิตรและโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศ
- เป็นที่ยอมรับในตลาดสากล โดยเฉพาะประเทศที่มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด
- ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
- กระตุ้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ลดการปล่อยคาร์บอน
- ช่วยผลักดันให้องค์กรพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว
- เข้าถึงแหล่งเงินทุนและการสนับสนุน
- ดึงดูดโครงการลงทุนที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
- มีโอกาสได้รับเงินทุนหรือสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานที่สนับสนุนการลดโลกร้อน
- เตรียมพร้อมสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
- รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจที่ลดการพึ่งพาคาร์บอนในอนาคต
- ลดความเสี่ยงทางธุรกิจที่อาจเกิดจากข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม
FDI ให้บริการปรึกษาการการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์และองค์กร ครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม
สำหรับองค์กรธุรกิจใด ที่มีเป้าหมายเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สามารถขอรับคำปรึกษาในการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนได้ และบริการที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอื่น ๆ อย่างครบวงจร
FDI มุ่งมั่นให้บริการที่ปรึกษาด้วยเป้าหมายที่ขับเคลื่อนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นับว่าเป็นความท้าทายในทุกห่วงโซ่ ตั้งแต่ซัพพลายเออร์ต้นน้ำไปจนถึง
ผู้ใช้ปลายทาง ที่ต่างต้องร่วมมือกันเพื่อให้ประเทศไทยและโลก ขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ได้เร็วมากขึ้นหรือเป็นไปตามเป้าหมายตามระยะ
BCG/Environmental & Sustainability Consulting Service
FDI Accounting & Advisory ในฐานะที่ปรึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เราพร้อมให้การสนับสนุนทุกองค์กรธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเช่นเดียวกับเรา ในการเป็นที่ปรึกษาการทำธุรกิจ ภายใต้เงื่อนไขที่ขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย ที่ครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อให้ตอบโจทย์นโยบายของภาครัฐ รวมถึงเป้าหมายขององค์กร ในการปรับเปลี่ยนระบบการทำธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม สู่ความยั่งยืนโดยแท้จริง
ช่องทางติดต่อ
- Facebook : FDI Group – Business Consulting
- Line : @fdigroup
- Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895
- E-mail : reception@fdi.co.th
- Website : www.fdi.co.th
Blogที่น่าสนใจ
จากภาวะโลกร้อน สู่ภาวะโลกเดือด ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นวิกฤตของคนทั้งโลกต้องจับตา!
ภาวะโลกเดือดไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความร้อน” แต่เป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับปัจเจกและระดับโลก...
Read Moreที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และจัดทำรายงาน CFO CFP
FDI Group ที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์...
Read Moreบริการที่ปรึกษาการจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยทีมวิศวกร FDI Group ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ที่ปรึกษาการจัดการก๊าซเรือนกระจกและการจัดการคาร์บอน ช่วยพัฒนากลยุทธ์อย่างยั่งยืน ให้คำปรึกษาพัฒนาธุรกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร ...
Read More