บทความ ACC

รายได้เท่าไหร่ถึงเสียภาษี ปรึกษาภาษี พึ่งเริ่มทำงานต้องรู้ ฉบับเข้าใจง่าย 2025

รวมข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับภาษี ปรึกษาภาษีกับ FDI ฟรี! รายละเอียดข้อมูลที่ FDI พาไปทำความเข้าใจในบทความนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีความน่าสนใจอย่างไรนั้นไปติตตามกันได้ในบทความนี้ ภาษีคืออะไร  ภาษีคือ การเก็บเงินจากประชาชนหรือองค์กรโดยภาครัฐเป็นผู้จัดเก็บ ซึ่งภาษีเป็นรายได้ที่สำคัญของภาครัฐแทบทุกประเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศและให้บริการสาธารณะ เช่น การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ในสังคมในประเทศไทย  ซึ่งการจ่ายภาษีอากรเป็นหน้าที่ของบุคคลที่ต้องจ่ายหรือชำระให้แก่รัฐ เพื่อที่จะเป็นรายได้ให้รัฐได้นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์โอกาสให้แก่ผู้ด้อยโอกาสและบุคคลอื่นๆ ในสังคม การตั้งใจไม่ชำระภาษี หลบเลี่ยงการชำระ ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญมีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา  ภาษีแบ่งเป็นกี่ประเภท มีอะไรบ้าง สำหรับการจัดเก็บภาษีนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม  ภาษีทางตรง (Direct Tax) คือภาษีที่เรียกเก็บจากรายได้หรือทรัพย์สินของบุคคลหรือองค์กร โดยที่ผู้เสียภาษีจะต้องชำระภาษีตามจำนวนรายได้หรือมูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริง ภาษีทางตรงจะมีลักษณะการเก็บที่ชัดเจน มีความแน่นอน และสามารถคำนวณได้ง่ายจากข้อมูลทางการเงินที่มีอยู่  ตัวอย่างของภาษีทางตรง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: เก็บจากรายได้ของบุคคล เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าลิขสิทธิ์ และรายได้อื่น ๆ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: เก็บจากรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ภาษีมรดก: เรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ตกทอดจากผู้เสียชีวิต ภาษีทรัพย์สิน: เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเรียกเก็บจากเจ้าของทรัพย์สิน ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการ โดยไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรายได้ของผู้เสียภาษี ผู้บริโภคจะต้องชำระภาษีนี้ เมื่อซื้อสินค้าหรือใช้บริการ และผู้ประกอบการจะเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งภาษีไปยังรัฐบาล ซึ่งภาษีทางอ้อมนี้สามารถจัดเก็บได้ง่าย รวดเร็ว เนื่องจากอยู่ในกระบวนการซื้อขาย ถูกรวมไว้ในราคาสินค้าและบริการอยู่แล้ว  ตัวอย่างของภาษีทางอ้อม ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): เรียกเก็บจากการขายสินค้าและบริการ โดยทั่วไปอยู่ที่ 7% ภาษีสรรพสามิต: เก็บจากสินค้าบางประเภท เช่น เหล้า บุหรี่ น้ำมัน  ภาษีการค้า: เช่น ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำเข้าสินค้าหรือการส่งออก เงินเดือนเท่าไหร่ ต้องจ่ายภาษีอย่างไรบ้าง ? เงินเดือนเท่าไหร่ ต้องเสียภาษีอย่างไร? โดยกรมสรรพากรได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ตามระเบียบของสรรพากรได้ระบุว่า ผู้ที่มีรายได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินปันผลจากการดำเนินกิจการ เงินค่าเช่าบ้าน รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ […]

5 เทคนิค การทำบัญชีนิติบุคคลให้มีประสิทธิภาพ จดทะเบียนบริษัทใหม่ทำบัญชีเองดีไหม?

การทำบัญชีนิติบุคคล สำหรับบริษัทที่พึ่งเริ่มต้นธุรกิจ  เมื่อจดทะเบียนบริษัทในรูปแบบของนิติบุคคลแล้ว การทำบัญชีบริษัท จะมีความยากและซับซ้อนในด้านเอกสาร การดำเนินงานมากขึ้น เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลต้องมีผู้จัดทำบัญชีตามหลักการบัญชี เพื่อส่งข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร ฯลฯ    สิ่งที่ต้องดำเนินการหลังจากกิจการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล  1.ดำเนินการแยกบัญชี  โดยเปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัท โดยแยกออกจากบัญชีส่วนบุคคลให้ชัดเจน  2.จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  สำหรับกิจการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท หรือจดภาษีมูลค่าเพิ่มหลังจากจดบริษัทนิติบุคคลได้เลยเช่นกัน  3.ขึ้นทะเบียนลูกจ้างในระบบประกันสังคม  ถ้าหากมีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยมีการจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือน กิจการต้องไปขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างงาน ที่สำนักงานประกันสังคม และนำส่ง ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก ในกรณีที่กิจการมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้สำหรับเงินเดือนของพนักงานที่ถึงเกณฑ์กำหนด  4.เอกสารค่าใช้จ่ายของกิจการหรือบริษัท  การซื้อของหรือเอกสารค่าใช้จ่ายของกิจการทุกอย่าง ต้องซื้อในนามบริษัทเท่านั้น ต้องออกเป็นใบเสร็จรับเงิน/ ใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดต้องมีชื่อ ที่อยู่ของผู้ขาย และต้องระบุชื่อบริษัทของเรา 5.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องมีการหัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในฐานะที่กิจการเป็นผู้จ่ายเงิน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ส่วนหนึ่ง ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ตามอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย  0-5 % แตกต่างกันตามประเภทเงินที่จ่าย 6.การนำส่งภาษี  จัดเตรียมเอกสารทางบัญชี ภาษี รวบรวมเอกสารทั้งรายรับและรายจ่ายของกิจการทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพื่อสรุปข้อมูลและนำส่งภาษี ในปีแรกๆหากมีความพร้อมสามารถรวบรวมเอกสาร จากนั้นค่อยส่งให้สำนักงานบัญชีสรุปบัญชี เพื่อตรวจสอบงบการเงิน และยื่นภาษีที่เกี่ยวข้องของกิจการ หลังจากสิ้นปีแทนกิจการ (ทำบัญชีและปิดงบรายปี) หรืออาจจะเลือกจ้างสำนักงานบัญชีเพื่อบันทึกบัญชีและนำส่งภาษีให้กิจการเป็นรายเดือน (บริการบัญชีรายเดือน) ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน  7.ข้อมูลสวัสดิการพนักงาน  หากเป็นคนไทยนายจ้างต้องปฏิบัติตามกฏหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเคร่งครัด เช่น การกำหนดเวลาในการทำงาน ไม่เกิน 8 ชม/วัน หรือตามที่นายจ้าง ลูกจ้างตกลงกัน และไม่เกิน 48 ชม./สัปดาห์ มีวันลาต่าง ๆ ชัดเจน มีค่าตอบแทน ค่าล่วงเวลาตามเหมาะสม รวมถึงการปฏิบัติต่อกันและกัน โดยยึดถือข้อปฏิบัติตามที่กฏหมายได้ระบุเอาไว้ เพื่อไม่ให้เกิดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง อ่านต่อเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง : กฏหมายคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กรณีที่มีแรงงานต่างด้าวทำงานในบริษัท การจ้างแรงงานต่างด้าวในไทย โดยส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ต้องใช้แรงงาน ซึ่งจะทำการจ้างงานภายใต้ข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ (MOU) สำหรับต่างด้าวจาก […]

การวางระบบบัญชีบริษัท เกี่ยวกับการเปิดบัญชีนิติบุคคล สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ดี สำหรับผู้ประกอบการเริ่มต้นกิจการมือใหม่ !

การดำเนินการวางแผนธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่คัญ ซึ่งหนึ่งในขั้นตอนการเปิดบริษัทใหม่ ก็คือการเปิดบัญชีนิติบุคคล โดยแยกบัญชีออกจากบัญชีส่วนตัว โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการวางแผนภาษี และการเงิน การทำบัญชี โดยในส่วนนี้ก็จะมีบทบาทที่สำคัญในการทำธุรกิจในแทบทุกมิติ คู่มือสำหรับเจ้าของธุรกิจมือใหม่ การวางระบบบัญชีบริษัท ก้าวแรกสู่การบริหารการเงินธุรกิจอย่างมืออาชีพ ทำไมต้องเปิดบัญชีบริษัท ? การวางแผนทางการเงินในการประกอบธุรกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการทำธุรกิจสิ่งที่พ่วงตามมาด้วยคือการวางแผนภาษี มีการทำบัญชี ให้ทราบการเคลื่อนไหวทางการเงินบริษัท เมื่อทราบถึงการเงินก็จะสามารถวางแผนด้านอื่น ๆ ให้บรรลุเป้าหมายได้โดยง่าย ที่สำคัญการเปิดบัญชีบริษัทจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือมากกว่าบัญชีในนามบุคคล แต่ถึงจะใช้บัญชีนามบุคลก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ไม่ได้สร้างความน่าเชื่อถือนั่นเอง เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ก็จะตอบโจทย์ในเรื่องของการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรอีกด้วย  โดยการเปิดบัญชีบริษัทก็สามารถเปิดได้ด้วยจำนวนเงินขั้นต่ำของแต่ละประเภท สามารถสมัครบริการทางออนไลน์ในแต่ละธนาคารไว้เพื่อให้สามารถทำธุรกรรมทางธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งด้านการชำระเงิน การจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน หรือแม้แต่การกู้ยืมในรูปแบบสินเชื่อที่จะใช้พัฒนาธุรกิจในอนาคต   เริ่มต้นธุรกิจด้วยความมั่นใจ การเปิดบัญชีนิติบุคคลคือก้าวแรกที่สำคัญ ทำไมการแยกบัญชีจึงสำคัญ? แยกบัญชีส่วนตัวออกจากบัญชีธุรกิจ การแยกบัญชีส่วนตัวออกจากบัญชีธุรกิจไม่เพียงช่วยในการจัดการการเงินที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงด้านกฎหมาย สร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารธุรกิจ กิจการ    5 เหตุผลข้อดี ที่ทำไมผู้ประกอบการมือใหม่ ต้องเปิดบัญชีแยก !  1.ทำให้การจัดการการเงินมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้  ความชัดเจนในรายรับ-รายจ่าย : ช่วยให้ติดตามรายรับและรายจ่ายของธุรกิจได้ง่ายขึ้น โดยไม่มีการปะปนกับค่าใช้จ่ายส่วนตัว การตรวจสอบบัญชีง่าย : หากมีการตรวจสอบบัญชี (audit) หรือการจัดทำรายงานการเงิน จะช่วยให้ไม่เกิดความสับสนระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนตัวกับธุรกิจ 2.ช่วยในการคำนวณภาษีที่ถูกต้อง ง่ายมากขึ้น การยื่นภาษีที่แม่นยำ: การแยกบัญชีช่วยให้การคำนวณรายได้สุทธิและค่าใช้จ่ายของธุรกิจชัดเจน และลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากร การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี: ค่าใช้จ่ายทางธุรกิจสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน 3.สร้างความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ ความเป็นมืออาชีพ: การใช้บัญชีธุรกิจแสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการที่มีระบบและมืออาชีพ สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าและคู่ค้า: คู่ค้าหรือลูกค้ามักไว้วางใจธุรกิจที่แยกการเงินชัดเจน และสามารถออกใบแจ้งหนี้หรือรับเงินผ่านบัญชีธุรกิจโดยตรง 4. การป้องกันปัญหาทางกฎหมาย ลดความเสี่ยงความรับผิดส่วนตัว: การปะปนรายได้ส่วนตัวและธุรกิจอาจทำให้เกิดปัญหาด้านกฎหมาย เช่น หากธุรกิจมีหนี้สิน เจ้าหนี้อาจอ้างสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวได้ ความชัดเจนด้านกฎหมาย : โดยเฉพาะสำหรับบริษัทจำกัดที่ต้องรักษาความแยกจากทรัพย์สินส่วนตัว 5. การจัดการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ การวางแผนงบประมาณที่ดี: ช่วยให้สามารถวางแผนรายจ่ายและการลงทุนในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การขอสินเชื่อธุรกิจ: ธนาคารมักพิจารณาบัญชีธุรกิจเพื่อประเมินศักยภาพและความน่าเชื่อถือของธุรกิจ   ขั้นตอนการเปิดบัญชีบริษัท การเปิดบัญชีธนาคารสำหรับบริษัทในประเทศไทยต้องเตรียมเอกสารและดำเนินการตามขั้นตอนที่ธนาคารกำหนด ในแต่ละธนาคารจะมีข้อกำหนด เงื่อนไขต่างกันออกไปในบางกรณี โดยแนะนำให้อ่านละเอียดแต่ละธนาคารได้ที่เว็บไซต์ธนาคารที่สนใจ ซึ่งลำดับขั้นตอนการเปิดบัญชีบริษัท จะมีลำดับขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนการเปิดบัญชีบริษัทที่ธนาคารสำหรับบริษัทในประเทศไทย 1. การเตรียมเอกสารของบริษัทและเอกสารเจ้าของกิจการ กรรมการที่มีอำนาจให้พร้อม โดยตรวจสอบและเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนก่อนติดต่อธนาคารเพื่อความเรียบร้อย รวดเร็ว  เอกสารที่ต้องเตรียม  หนังสือรับรองการจดทะเบียนธุรกิจ ที่นายทะเบียนรับรอง ไม่เกิน 6 เดือน รายงานการประชุม หรือหนังสือแจ้งความประสงค์ขอเปิดบัญชี […]

รายได้เท่าไหร่ถึงเสียภาษี ปรึกษาภาษี คนทำงานต้องรู้ ฉบับเข้าใจง่าย 2024

รวมข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับภาษี ภาษีเงินได้ ปรึกษาภาษีฟรี! รายละเอียดข้อมูลที่ FDI พาไปทำความเข้าใจในบทความนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีความน่าสนใจอย่างไรนั้นไปติตตามกันได้ในบทความนี้ ภาษีคืออะไร  ภาษีคือ การเก็บเงินจากประชาชนหรือองค์กรโดยภาครัฐเป็นผู้จัดเก็บ ซึ่งภาษีเป็นรายได้ที่สำคัญของภาครัฐแทบทุกประเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศและให้บริการสาธารณะ เช่น การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ในสังคมในประเทศไทย ซึ่งการจ่ายภาษีอากรเป็นหน้าที่ของบุคคลที่ต้องจ่ายหรือชำระให้แก่รัฐ เพื่อที่จะเป็นรายได้ให้รัฐได้นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์โอกาสให้แก่ผู้ด้อยโอกาสและบุคคลอื่นๆ ในสังคม การตั้งใจไม่ชำระภาษี หลบเลี่ยงการชำระ ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญมีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา  ภาษีแบ่งเป็นกี่ประเภท  สำหรับการจัดเก็บภาษีนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม  ภาษีทางตรง (Direct Tax) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากรายได้หรือทรัพย์สินของบุคคลหรือองค์กร โดยที่ผู้เสียภาษีจะต้องชำระภาษีตามจำนวนรายได้หรือมูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริง ภาษีทางตรงจะมีลักษณะการเก็บที่ชัดเจน มีความแน่นอน และสามารถคำนวณได้ง่ายจากข้อมูลทางการเงินที่มีอยู่  ตัวอย่างของภาษีทางตรง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: เก็บจากรายได้ของบุคคล เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าลิขสิทธิ์ และรายได้อื่น ๆ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: เก็บจากรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ภาษีมรดก: เรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ตกทอดจากผู้เสียชีวิต ภาษีทรัพย์สิน: เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเรียกเก็บจากเจ้าของทรัพย์สิน ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการ โดยไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรายได้ของผู้เสียภาษี ผู้บริโภคจะต้องชำระภาษีนี้ เมื่อซื้อสินค้าหรือใช้บริการ และผู้ประกอบการจะเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งภาษีไปยังรัฐบาล ซึ่งภาษีทางอ้อมนี้สามารถจัดเก็บได้ง่าย รวดเร็ว เนื่องจากอยู่ในกระบวนการซื้อขาย ถูกรวมไว้ในราคาสินค้าและบริการอยู่แล้ว  ตัวอย่างของภาษีทางอ้อม ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): เรียกเก็บจากการขายสินค้าและบริการ โดยทั่วไปอยู่ที่ 7% ภาษีสรรพสามิต: เก็บจากสินค้าบางประเภท เช่น เหล้า บุหรี่ น้ำมัน  ภาษีการค้า: เช่น ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำเข้าสินค้าหรือการส่งออก เงินเดือนเท่าไหร่ ต้องจ่ายภาษีอย่างไรบ้าง ? เงินเดือนเท่าไหร่ ต้องเสียภาษีอย่างไร? โดยกรมสรรพากรได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ตามระเบียบของสรรพากรได้ระบุว่า ผู้ที่มีรายได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินปันผลจากการดำเนินกิจการ เงินค่าเช่าบ้าน รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน หากรวมทั้งหมดไม่เกิน […]