เริ่มแล้วขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยการเริ่มจัดเก็บภาษีคาร์บอน การจัดเก็บภาษีคาร์บอนเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่รัฐบาลไทยนำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่เป้าหมาย ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งเป็นพันธสัญญาต่อเวทีโลกว่าประเทศไทยจะช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง รวมถึงการร่างกฏหมายอื่นๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ที่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาและคาดว่าจะประกาศใช้ในลำดับถัดมา
รัฐบาลผลักดัน ครม.เห็นชอบหลักการออกกฎกระทรวง “เก็บภาษีคาร์บอน” 200 บาท/ตัน หนุนประเทศไทยสู่ Net Zero รมช.คลัง ยืนยันไม่กระทบราคาน้ำมัน-ต้นทุนผู้ประกอบการ
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ หลักการร่างกฎกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) ซึ่งจัดเก็บจากสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดยร่างกฎกระทรวงนี้เป็นข้อเสนอจาก กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ที่มุ่งหมายให้การจัดเก็บภาษีเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้ ผู้ประกอบการและประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emissions) และส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดของฉบับร่างภาษีคาร์บอน
- กลุ่มสินค้าที่เข้าข่ายการจัดเก็บภาษีคาร์บอน
สินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ถูกกำหนดให้มีภาษีคาร์บอน ได้แก่:
- น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ทุกประเภท (E10, E20, E85)
- น้ำมันก๊าดและน้ำมันสำหรับให้แสงสว่าง
- น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น
- น้ำมันดีเซลและน้ำมันดีเซลผสมไบโอดีเซล (B5, B7, B10)
- ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และก๊าซโพรเพน
- น้ำมันเตาและน้ำมันที่คล้ายกัน
- อัตราภาษีคาร์บอน
ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ จัดเก็บภาษีคาร์บอนที่อัตรา 200 บาทต่อตันคาร์บอนเทียบเท่า โดยมีหลักเกณฑ์การคำนวณที่พิจารณาจาก ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) ของเชื้อเพลิงแต่ละประเภท
ผลกระทบและข้อได้เปรียบของมาตรการ
- ไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนราคาน้ำมันและภาคอุตสาหกรรม
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่ามาตรการภาษีคาร์บอนนี้ จะไม่กระทบราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ หรือภาระต้นทุนของผู้ประกอบการ เนื่องจากโครงสร้างภาษีถูกออกแบบให้สอดคล้องกับกลไกทางเศรษฐกิจและนโยบายของภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการสร้างแรงจูงใจเชิงบวกให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าการเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย - ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มาตรการนี้มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้อุตสาหกรรมปรับตัวสู่แนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และพลังงานที่ถือเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลักของประเทศ (คิดเป็น 70% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในประเทศไทย) การกำหนดกลไกราคาคาร์บอนในโครงสร้างภาษีจะช่วยให้ ประเทศไทยสามารถแข่งขันในเวทีการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและการลดการปล่อยคาร์บอน เช่น สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา - สร้างความตระหนักและส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของภาคประชาชน
นอกจากผู้ประกอบการแล้ว นโยบายภาษีคาร์บอนยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เกิดการตระหนักมากขึ้นถึงผลกระทบจากชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกใช้น้ำมันที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งจะนำไปสู่การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว
แนวโน้มและทิศทางของประเทศไทยต่อเป้าหมาย Net Zero
มาตรการภาษีคาร์บอนถือเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการก้าวสู่ เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy) ซึ่งเป็นแนวโน้มที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ การใช้ภาษีเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจจะช่วยให้เกิดการปรับตัวของอุตสาหกรรมในประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว
ทั้งนี้ รัฐบาลยังมีแผนสนับสนุน อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และการใช้พลังงานสะอาดควบคู่ไปกับมาตรการภาษี เช่น การให้สิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ EV Charging Station และการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
FDI ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
ผู้เชี่ยวชาญอย่าง FDI มีความคิดเห็นว่า ในการกำหนด ภาษีคาร์บอน 200 บาทต่อตัน เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่รัฐบาลไทยใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริม เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยมาตรการนี้จะไม่กระทบต่อราคาน้ำมันขายปลีกและต้นทุนของผู้ประกอบการ แต่จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ทุกภาคส่วนปรับตัวไปสู่แนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเร็วขึ้น โดยจะส่งผลที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ทั้งนี้ยังกระตุ้นการสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ที่สำคัญยังเป็นการสร้างมาตรฐานให้ผู้ประกอบการในกลุ่มสินค้า 6 กลุ่มหลักที่จะส่งสินค้าไปยังสหภาพยุโรป รวมถึงประเทศที่มีการบังคับใช้มาตรการการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) อ่านต่อ CBAM คืออะไร ? ที่สามารถใช้ราคาคาร์บอนนี้ เป็นข้อมูลในกรณีที่จะมีการจัดเก็บมูลค่าส่วนต่างราคาคาร์บอนจากสินค้า เป็นการสร้างโอกาสใหม่ในการเติบโตของภาคเศรษฐกิจต่อไปในอนาคตอีกด้วย
จะเห็นได้ว่ามาตรการภาษีคาร์บอนที่ภาครัฐได้ประกาศออกมา ณ ปัจจุบันนี้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินธุรกิจไปสู่แนวทางสังคมคาร์บอนต่ำ ตามนโยบายการรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนในประเทศร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ประเทศไทยนั้นบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้โดยเร็วในปี 2065 และกลุ่มภาษีคาร์บอนนี้จะหยุดอยู่เพียงกลุ่มเชื้อเพลิง หรือ จะลามไปสู่กลุ่มผลิตภัณฑ์ตัวอื่นอีกหรือไม่เป็นสิ่งที่เราในภาคประชาชนและธุรกิจ ยังไงต้องจับตามองกันต่อไป
見逃せないタイの役立つ情報ที่น่าสนใจ
FDI Group ร่วมเป็นพันธมิตรให้การสนับสนุน สวทช. จัดงานใหญ่แห่งปี “NAC2025” ผนึกพลังวิจัย ‘ขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย AI’
FDI Group ร่วมเป็นพันธมิตรให้การสนับสนุน...
Read MoreASEANでの給与ランキングTOP5 タイはシンガポールに次いで2位 勤労者必読!各国のワークパーミット手続き
เปิดอันดับ 5 ประเทศที่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูง...
Read MoreFDI ร่วมออกงาน 𝗦𝗠𝗖 𝗢𝗽𝗲𝗻 𝗛𝗼𝘂𝘀𝗲 𝟮𝟬𝟮𝟰 ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย สู่อนาคตที่ยั่งยืน
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม...
Read More