GHG Protocol การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก มาตรฐานสู่ความยั่งยืนขององค์กร

GHG Protocol การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก มาตรฐานสู่ความยั่งยืนขององค์กร

GHG Protocol การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก มาตรฐานสู่ความยั่งยืนขององค์กร

ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายว่า ภายในปี 2030 จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 30-40 จากการดำเนินการตามปกติ สู่การเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065” จากจุดเริ่มต้นจากการตื่นตัวในการสร้างสมดุลให้ชั้นบรรยากาศของโลกของนานาประเทศผ่านพิธีสารโตเกียว (Kyoto Protocol) ในปี 1997 สู่แผนเป้าหมายของไทยที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้องค์กรต่างต้องปรับแผนการดำเนินงาน ตั้งเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability)  ซึ่งต้องดำเนินการลดหรือชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานทั้งทางตรงและทางอ้อม การจะลดการปล่อยได้นั้น องค์กรต้องทำบัญชีคาร์บอน (Carbon Accounting)  ซึ่งมีขั้นตอน ขอบเขตในการจัดการทั้งการจัดเก็บข้อมูลและการคำนวณ การกำหนดขอบเขตของการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope of GHGs Emissions) ถึงจะกำหนดมาตรการการลดหรือชดเชยคาร์บอนได้ ต้องสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ มีความโปร่งใส ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปวิเคราะห์ในการวางแผนงาน บริหารจัดการในการดำเนินกิจการ ซึ่งต้องมีการรายงาน และตรวจสอบรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรอย่างสม่ำเสมออีกด้วย 

GHG Protocol คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ?

GHG Protocol คือ มาตรฐานการทําบัญชีก๊าซเรือนกระจกสําหรับภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย World Resource Institute (WRI) ร่วมกับ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) มีการแบ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็น 3 scope  

โดย climatepartner ได้ให้ข้อมูลในแต่ละ Scope ไว้อย่างน่าสนใจ ในแต่ละ Scope มีรายละเอียดคือ 

Scope 1 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง (Direct Emissions)  

GHG Protocol Scope ที่ 1 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงทั้งหมด จากกิจกรรมขององค์กรหรือภายใต้การควบคุมขององค์กร เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง ของ สารทำความเย็น เตาเผา การปล่อยก๊าซจากยานพาหนะ เช่น รถยนต์ขนส่ง รถบรรทุก รถยนต์ เฮลิคอปเตอร์สำหรับโรงพยาบาล โรงงานครอบคลุมไปจนถึงกระบวนการที่ปล่อยออกมาระหว่างกระบวนการทางอุตสาหกรรม เช่น เครื่องจักร  และการผลิตในสถานที่ เช่น ควันโรงงาน สารเคมีที่เกิดในขั้นตอนการผลิต  

Scope 2 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่ถูกซื้อมา (Indirect Emissions)

GHG Protocol Scope ที่ 2 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพลังงานที่ซื้อหรือได้มาเท่านั้น เช่น ไอน้ำไฟฟ้า ความร้อน หรือการทำความเย็น ซึ่งเกิดขึ้นนอกสถานที่และถูกใช้โดยองค์กร โดยเป็นกระบวนการปล่อยก๊าซ GHG ที่สูงถึง 1 ใน 3 อันดับของโลก จึงเป็นเหตุผลที่การประเมินและการวัดการปล่อยใน Scope 2 นำมาซึ่งโอกาสในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีนัยสำคัญ

Scope 3 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่อยู่เหนือการควบคุม (indirect value chain emissions)

GHG Protocol Scope ที่ 3 คือ การปล่อยมลพิษทางอ้อมอื่น ๆ ทั้งหมดจากกิจกรรมขององค์กร ซึ่งเกิดขึ้นจากแหล่งที่องค์กรไม่ได้เป็นเจ้าของหรือควบคุม สิ่งเหล่านี้มักเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดของ Carbon Footprint  ครอบคลุมถึงการปล่อยก๊าซฯ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเพื่อธุรกิจ การจัดซื้อจัดจ้าง การกำจัดของเสียและน้ำ “เป็นผลมาจากกิจกรรมจากสินทรัพย์ที่องค์กรไม่ได้เป็นเจ้าของหรือควบคุม แต่องค์กรมีผลกระทบทางอ้อมต่อมูลค่าของมัน” แม้ว่าการปล่อยก๊าซเหล่านี้จะอยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัท แต่ก็สามารถแสดงถึงสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

ซึ่งแนวคิดหลักที่อยู่เบื้องหลังการจัดหมวดหมู่ทั้ง 3 Scopes คือ 

  • เพื่อช่วยในการระบุแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม 
  • เพื่อรับรองว่าบริษัทต่างๆที่เข้าร่วมมาตรฐานได้คำนึงถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 1-3 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas หรือเรียกสั้นๆว่า ก๊าซ GHG เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้อบอุ่นคงที่เหมาะแก่การดำรงชีวิตถ้ามีปริมาณก๊าซที่พอเหมาะ แต่หากมีปริมาณก๊าซ GHG มากเกินไปก็จะทำให้อุณภูมิโลกสูงขึ้นนำไปสู่เกิดภาวะโลกร้อน  

Greenhouse Gas (GHG) มีทั้งหมด 7 ชนิด ดังนี้

  1. Carbon dioxide(CO2) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  2. Methane(CH4) ก๊าซมีเทน 
  3. Nitrous oxide(N2O) ก๊าซไนตรัสออกไซด์  
  4. Perfluorocarbons(PFCs) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน 
  5. HydroFluoroCarbons(HFCs) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน 
  6. Nitrogen Trifluoride(NF3) ก๊าซไนโตรเจนไตร-ฟลูออไรด์
  7. Sulfur hexafluoride(SF6)  ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์

 

การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)

การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์

การประเมินหรือการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก

ได้แก่ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ มีความแตกต่างกันทั้งหลักการในการประเมินและมาตรฐานที่ใช้เป็นข้อกำหนดในแต่ละประเภท โดยคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะถูกรายงานในหน่วย ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ton CO2 equivalent)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คือ ปริมาณของก๊าซเรือนกระจก (CO2, CH4, HFCs, SF6, N2O, NF3, PFCs) ที่ปล่อยออกมาจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนดำเนินชีวิต การการผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของสภาพวะเรือนกระจกของโลกในชั้นบรรยากาศและเป็นปัจจัยในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะถูกวัดออกมาเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วย (Carbon dioxide equivalent per unit) หรือ CO₂eq/unit โดยคาร์บอนฟุตพริ้นท์สามารถแบ่งได้ดังนี้ 

  • คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร เป็นการประเมินกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามขอบเขตของพื้นที่ของนิติบุคคล เป็นการประเมินตามหลักการ ISO 14064-1
  • คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ เป็นการประเมินกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดช่วงวัฏจักชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นการประเมินตามหลักการ LCA (Life Cycle Assessment) และ ISO 14067

 

บทบาทของที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

FDI ให้บริการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ บริการประเมินคาร์บอนเครดิต พร้อมจัดทำรายงานเพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการทำงาน ให้คำปรึกษาองค์กรธุรกิจต่าง ๆ  ในการวิเคราะห์และบริหารจัดการการปลดปล่อยคาร์บอนในธุรกิจให้ลดลง ขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Net Zero อย่างมีประสิทธิภาพ

ในฐานะที่บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เรามุ่งมั่นให้คำปรึกษาที่ครอบคลุมทุกบริบทของการดำเนินธุรกิจ สิ่งสำคัญคือความคุ้มค่าในการลงทุนอย่างเหมาะสม แนะนำการเริ่มดำเนินการด้วยการแยกขาดกันระหว่างการประเมินการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) และการจัดทำโครงการคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Project) แนวทางการนำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Net Zero) แท้จริงแล้วควรได้มาจากการที่ผู้ประกอบการทราบแน่ชัด ว่าปริมาณการปล่อยก๊าซนั้น ปล่อยออกมาจากแหล่งไหน มากน้อยเพียงใดก่อนการวางแผนบริหารจัดการในลำดับถัดไป ซึ่งทำให้มองเห็นว่าทั้งสองส่วนนั้นยังคงมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างกัน ขึ้นอยู่กับการวางแผนการจัดลำดับการดำเนินงานที่ถูกต้อง โดยดำเนินภายใต้การควบคุมอย่างรัดกุมเป็นสำคัญ

 คำแนะนำเบื้องต้น 

  • การวัดผลและติดตาม: การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถทราบปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรและติดตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรเพื่อวางแผนการจัดการต่อไปได้
  • การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก: วิธีลดเริ่มจากขึ้นตอนก่อนหน้าที่ได้ทราบปริมาณที่ปล่อยแล้ว จึงวางแผนจัดการด้วยโครงการ Decarbonization หรือการจัดทำโครงการคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้อย่างเหมาะสม
  • การสนับสนุนโครงการที่ยั่งยืน: ณ จุดหนึ่งการลดปริมาณ Carbon Footprint ด้วยตัวเราเองนั้นก็อาจมีข้อจำกัดหลายประการ อาทิ สถานที่ เม็ดเงินลงทุน หรือ อื่นๆ ซึ่งการซื้อคาร์บอนเครดิต ก็สามารถเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถไปสู่จุดเป้าหมายของ Carbon Net Zero ได้เช่นกัน

หากคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญและบริการครบวงจรเพื่อช่วยนำพาธุรกิจของคุณไปสู่ความสำเร็จ ทีมงานของเรา พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความเติบโตของธุรกิจคุณ

FDI Accounting & Advisory ที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างครบวงจร !

🌐Website : www.fdi.co.th

📞 Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895

 E-mail : reception@fdi.co.th

 Facebook : FDI Group – Business Consulting

Line Official : @fdigroup

บทความที่น่าสนใจ

จากภาวะโลกร้อน สู่ภาวะโลกเดือด ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นวิกฤตของคนทั้งโลกต้องจับตา!

ภาวะโลกเดือดไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความร้อน” แต่เป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับปัจเจกและระดับโลก...

Read More

การไปทำงานต่างประเทศแบบถูกกฏหมาย ต้องทำได้อย่างไร รู้ไว้ไม่โดนหลอก อะไรบ้างที่ต้องรู้ 2025 !

การไปทำงานต่างประเทศแบบถูกกฏหมาย สามารถไปได้โดยวิธีใดบ้าง สำหรับการที่คนไทยเลือกไปทำงานต่างประเทศมีหลายเหตุผลที่แตกต่างกันไป...

Read More