ตลาดราคาคาร์บอนเครดิตในไทย น่าจับตา ! แนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับตลาดโลก โอกาสใหม่ของความยั่งยืน

ตลาดราคาคาร์บอนเครดิตในไทย น่าจับตา ! แนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับตลาดโลก โอกาสใหม่ของความยั่งยืน

ประเทศไทย มีการจัดทำโครงการการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคสมัครใจ โดยใช้ชื่อว่า Thailand Voluntary Emission Reduction Program หรือ T-VER ซึ่งมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) โดยเป็นหน่วยงานที่ดูแลการขึ้นทะเบียน และ การรับรองคาร์บอนเครดิต โดยเป็นกลไกคาร์บอนเครดิตในรูปแบบ Governmental Crediting Mechanism

คาร์บอนเครดิตคืออะไร ราคาคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย ความสำคัญที่เราต้องรู้

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงหรือกักเก็บได้จากการทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกเมื่อเทียบกับกรณีการดำเนินธุรกิจตามปกติ มีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) ซึ่งปริมาณที่จะลดลงหรือกักเก็บนั้นต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานต่าง ๆ และสามารถนำไปซื้อขายระหว่างผู้ต้องการชดเชยการปล่อยคาร์บอนและผู้ที่ลดการปล่อยคาร์บอนได้ 

คาร์บอนเครดิต มาจากโครงการหลักๆ ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) และสร้างคาร์บอนเครดิตที่สามารถนำไปซื้อขายได้ โดยทั่วไปแล้ว โครงการเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 

1. โครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Reduction Projects)

  • การลดการปล่อยก๊าซในอุตสาหกรรมหรือกระบวนการผลิต
    มุ่งเน้นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานสะอาด, การใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซ , การกำจัดน้ำเสีย ของเสีย , หรือการปรับปรุงเครื่องจักรให้มีการปล่อยก๊าซต่าง ๆ น้อยลง
  • การเปลี่ยนแปลงในภาคพลังงาน
    โครงการที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทน เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ (solar panels) หรือการใช้พลังงานลม (wind power) เป็นต้น 

2. โครงการดูดซับคาร์บอน (Carbon Sequestration Projects)

  • โครงการปลูกต้นไม้และการฟื้นฟูป่า
    เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการปลูกต้นไม้ มีวัตถุประสงค์เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศ เช่น โครงการการปลูกป่า, การป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า, หรือการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่ไม่เคยมีป่า
  • การฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำและการจัดการดิน
    การปรับปรุงพื้นที่ชุ่มน้ำหรือการจัดการดินเพื่อให้สามารถดูดซับคาร์บอนได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีต หรือการปรับปรุงการใช้ที่ดินในเกษตรกรรมที่สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนมากขึ้น

ทั้งสองประเภทนี้มีบทบาทสำคัญในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและช่วยให้องค์กรต่าง ๆ นั้น บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อกำหนดของข้อตกลงระหว่างประเทศได้รวดเร็วหรือเป็นไปตามเป้าหมายมากขึ้น 

โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินธุรกิจปกติ จะต้องได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียนตามมาตรฐานต่างๆ เป็นคาร์บอนเครดิตก่อน ผู้ดำเนินโครงการลดคาร์บอน (Supply) จึงจะสามารถนำไปขายแก่ผู้ต้องการชดเชยการปล่อยคาร์บอน (Demand) ได้นั่นเอง 

ราคาคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยราคาการซื้อขาย สามารถตรวจสอบและเช็คล่าสุดได้ที่เว็บไซต์ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) คาร์บอนเครดิตเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก 

ทำไมคาร์บอนเครดิตถึงมีความสำคัญต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ?

คาร์บอนเครดิตเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ใช้ในการกระตุ้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่ใช้ในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change). การใช้คาร์บอนเครดิตทำให้การลดการปล่อยก๊าซเป็นสิ่งที่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ธุรกิจและประเทศต่างๆ สามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซในขอบเขตที่กำหนด

เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่สามารถไปขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER เพื่อรับรองคาร์บอนเครดิต จะครอบคลุมการลดหรือหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3 ชนิด ได้แก่ CO2 CH4 และ N2O และต้องเข้าข่าย 7 ประเภทโครงการหลักตามที่ อบก. กำหนดไว้ ดังนี้

1) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน

2) พลังงานทดแทน

3) การจัดการของเสีย

4) การจัดการในภาคขนส่ง

5) ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว

6) การเกษตร

7) อื่นๆ ตามที่ อบก. กำหนด

!! ปรึกษาโครงการติดต่อเรา คลิก !! 

การขายคาร์บอนเครดิต ในตลาด Carbon Credit 

ตลาด Carbon Credit หรือตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตนั้น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้ให้คำนิยามไว้ว่า เป็นสื่อกลางในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน Carbon Credit โดยราคาคาร์บอนเครดิตจะถูกกำหนดตามกลไกตลาด ซึ่งใช้เป็นแรงจูงใจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิลดลง และยังทำให้ผู้ที่ก่อมลพิษ หรือปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือมีต้นทุนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต้องบรรเทา หรือชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโลก และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกแปรปรวนด้วย

ตลาดคาร์บอนภาคบังคับจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory carbon market)

ถูกจัดตั้งขึ้นมาจากผลบังคับในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกฎหมาย ซึ่งมีกฎหมายและกฎระเบียบที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อขายกำกับอย่างชัดเจน โดยมีภาครัฐหรือหน่วยงานกำกับเป็นผู้ดูแลและบังคับด้วยกฎหมาย เพื่อไม่ให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (Legally Binding Target) หากผู้ใดสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ก็สามารถนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกในส่วนที่ปล่อยต่ำกว่าเกณฑ์ไปขายให้กับองค์กรอื่น ๆ ได้หรือที่รู้จักกันในนาม Emission Trading Scheme (ETS) และระบบ Cap and Trade นั่นเอง 

 2. ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market)

ถูกสร้างขึ้นโดยไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมก๊าซเรือนกระจกมาบังคับ การจัดตั้งตลาดเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของผู้ประกอบการหรือองค์กรเพื่อเข้าร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดด้วยความสมัครใจ คาร์บอนเครดิตที่ได้จากโครงการดังกล่าวสามารถนำมาขายในตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจได้และองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมเกินกว่าปริมาณที่กำหนด สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตดังกล่าวเพื่อทำให้ตนเองได้รับสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมอีกครั้งในปริมาณที่ไม่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด

การซื้อขาย คาร์บอนเครดิต ขายยังไง ต้องทำอย่างไร ? 

การซื้อขาย Carbon Credit ก็สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. ซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มตลาดซื้อขาย (Trading Platform) หรือ ศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
  2. ซื้อขายในระบบทวิภาค (Over-the-counter: OTC) เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยตรง โดยไม่ผ่านตลาด

 

โดยสรุปราคาคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย

นับตั้งแต่มีการเริ่มดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองจาก อบก. มีทิศทางการขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิต ที่ให้การรับรองโดย อบก. เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี 

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจว่า เมื่อพิจารณาข้อมูลการซื้อขายและราคาคาร์บอนเครดิตพบว่า ประเภทโครงการที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุดเป็นโครงการประเภทชีวมวล (41% ของปริมาณการซื้อขายรวม) เนื่องจากสามารถดำเนินการได้ง่าย แต่ก็จะได้รับผลตอบแทนที่ต่ำกว่าโครงการประเภทอื่นที่ 36 บาทต่อตัน แต่ที่น่าสนใจคือราคาคาร์บอนเครดิตในโครงการประเภทป่าไม้มีราคาเฉลี่ยสูงถึง 290 บาทต่อตัน (และเฉลี่ย 510 บาทต่อตัน ในปี 2567) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมโดยเป็น 23% ของ เครดิตทั้งหมด ในปี 2657 ทำให้การเลือกประเภทโครงการคาร์บอนเครดิตเป็นอีกปัจจัยที่ต้องพิจารณา เพราะราคาที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อกระแสเงินสดที่จะได้รับจากโครงการ

FDI ผู้เชี่ยวชาญในด้านที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมองว่า ตลาดและราคาคาร์บอนเครดิตในไทย มีศักยภาพในการเติบโตอีกมากไปพร้อมกับตลาดโลก เพราะไทยเองก็มีเป้าหมายของ Net – Zero Emission ในปี 2065 ที่สอดคล้องกับนานาประเทศ ซึ่งปัจจัยหลักต่าง ๆ มาจากการชดเชยคาร์บอนขององค์กรต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นภาคพลังงาน การท่องเที่ยว การเงิน การจัดการประชุม อื่นๆ ที่ต่างก็มุ่งไปสู่เป้าหมายของความยั่งยืนเช่นเดียวกัน 

หากคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน FDI พร้อมให้บริการ ให้คำแนะนำโดยผู้มีประสบการณ์เชิงลึก เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมสีเขียว ส่งต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและสังคม มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ไปด้วยกัน 

!! ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อเรา คลิ๊ก !!

FDI Accounting & Advisory ที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างครบวงจร ง่าย ครบ จบ ในที่เดียว

ช่องทางติดต่อ 

  • Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895
  • E-mail : reception@fdi.co.th
  • Website : www.fdi.co.th

บทความที่น่าสนใจ

คู่มือ! การขึ้นทะเบียน โครงการคาร์บอนเครดิต

คู่มือ! การขึ้นทะเบียน โครงการคาร์บอนเครดิต อัพเดต 2025

ในยุคที่ปัญหาภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญของทุกภาคส่วนทั่วโลก หนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ...

Read More
เจาะลึกสถานการณ์ ตลาดคาร์บอนเครดิต ในปัจจุบัน

เจาะลึกสถานการณ์ ตลาดคาร์บอนเครดิต ในปัจจุบัน

ตลาดคาร์บอนเครดิต ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญในการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยเป็นกลไกที่อนุญาตให้ภาคธุรกิจและองค์กรต่างๆ...

Read More