การดำเนินการวางแผนธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่คัญ ซึ่งหนึ่งในขั้นตอนการเปิดบริษัทใหม่ ก็คือการเปิดบัญชีนิติบุคคล และการวางระบบบัญชีที่เหมาะสม โดยแยกบัญชีออกจากบัญชีส่วนตัว โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการวางแผนภาษี และการเงิน Accounting โดยในส่วนนี้ก็จะมีบทบาทที่สำคัญในการทำธุรกิจในแทบทุกมิติ
คู่มือสำหรับเจ้าของธุรกิจมือใหม่ การวางระบบบัญชีบริษัท ก้าวแรกสู่การบริหารการเงินธุรกิจอย่างมืออาชีพ
ทำไมต้องเปิดบัญชีบริษัท ?
การวางแผนทางการเงินและการวางระบบบัญชีในการประกอบธุรกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการทำธุรกิจสิ่งที่พ่วงตามมาด้วยคือการวางแผนภาษี มีการทำบัญชี ให้ทราบการเคลื่อนไหวทางการเงินบริษัท เมื่อทราบถึงการเงินก็จะสามารถวางแผนด้านอื่น ๆ ให้บรรลุเป้าหมายได้โดยง่าย ที่สำคัญการเปิดบัญชีบริษัทจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือมากกว่าบัญชีในนามบุคคล แต่ถึงจะใช้บัญชีนามบุคลก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ไม่ได้สร้างความน่าเชื่อถือนั่นเอง เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ก็จะตอบโจทย์ในเรื่องของการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรอีกด้วย
โดยการเปิดบัญชีบริษัทก็สามารถเปิดได้ด้วยจำนวนเงินขั้นต่ำของแต่ละประเภท สามารถสมัครบริการทางออนไลน์ในแต่ละธนาคารไว้เพื่อให้สามารถทำธุรกรรมทางธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งด้านการชำระเงิน การจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน หรือแม้แต่การกู้ยืมในรูปแบบสินเชื่อที่จะใช้พัฒนาธุรกิจในอนาคต
เริ่มต้นธุรกิจด้วยความมั่นใจ การเปิดบัญชีนิติบุคคลคือก้าวแรกที่สำคัญ
ทำไมการแยกบัญชีจึงสำคัญ? แยกบัญชีส่วนตัวออกจากบัญชีธุรกิจ
การแยกบัญชีส่วนตัวออกจากบัญชีธุรกิจไม่เพียงช่วยในการจัดการการเงินที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงด้านกฎหมาย สร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารธุรกิจ กิจการ
5 เหตุผลข้อดี ที่ทำไมผู้ประกอบการมือใหม่ ต้องเปิดบัญชีแยก !
1.ทำให้การจัดการการเงินมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
- ความชัดเจนในรายรับ-รายจ่าย : ช่วยให้ติดตามรายรับและรายจ่ายของธุรกิจได้ง่ายขึ้น โดยไม่มีการปะปนกับค่าใช้จ่ายส่วนตัว
- การตรวจสอบบัญชีง่าย : การวางระบบบัญชีที่ดีจะช่วยให้หากมีการตรวจสอบบัญชี (audit) หรือการจัดทำรายงานการเงิน จะไม่เกิดความสับสนระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนตัวกับธุรกิจ
2.ช่วยในการคำนวณภาษีที่ถูกต้อง ง่ายมากขึ้น
- การยื่นภาษีที่แม่นยำ: การแยกบัญชีช่วยให้การคำนวณรายได้สุทธิและค่าใช้จ่ายของธุรกิจชัดเจน และลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากร
- การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี: ค่าใช้จ่ายทางธุรกิจสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน
3.สร้างความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ
- ความเป็นมืออาชีพ: การใช้บัญชีธุรกิจแสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการที่มีระบบและมืออาชีพ
- สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าและคู่ค้า: คู่ค้าหรือลูกค้ามักไว้วางใจธุรกิจที่แยกการเงินชัดเจน และสามารถออกใบแจ้งหนี้หรือรับเงินผ่านบัญชีธุรกิจโดยตรง
4. การป้องกันปัญหาทางกฎหมาย
- ลดความเสี่ยงความรับผิดส่วนตัว: การปะปนรายได้ส่วนตัวและธุรกิจอาจทำให้เกิดปัญหาด้านกฎหมาย เช่น หากธุรกิจมีหนี้สิน เจ้าหนี้อาจอ้างสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวได้
- ความชัดเจนด้านกฎหมาย : โดยเฉพาะสำหรับบริษัทจำกัดที่ต้องรักษาความแยกจากทรัพย์สินส่วนตัว
5. การจัดการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ
- การวางแผนงบประมาณที่ดี: ช่วยให้สามารถวางแผนรายจ่ายและการลงทุนในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การขอสินเชื่อธุรกิจ: ธนาคารมักพิจารณาบัญชีธุรกิจเพื่อประเมินศักยภาพและความน่าเชื่อถือของธุรกิจ
ขั้นตอนการเปิดบัญชีบริษัท
การเปิดบัญชีธนาคารสำหรับบริษัทในประเทศไทยต้องเตรียมเอกสารและดำเนินการตามขั้นตอนที่ธนาคารกำหนด ในแต่ละธนาคารจะมีข้อกำหนด เงื่อนไขต่างกันออกไปในบางกรณี โดยแนะนำให้อ่านละเอียดแต่ละธนาคารได้ที่เว็บไซต์ธนาคารที่สนใจ ซึ่งลำดับขั้นตอนการเปิดบัญชีบริษัท จะมีลำดับขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนการเปิดบัญชีบริษัทที่ธนาคารสำหรับบริษัทในประเทศไทย
1. การเตรียมเอกสารของบริษัทและเอกสารเจ้าของกิจการ กรรมการที่มีอำนาจให้พร้อม โดยตรวจสอบและเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนก่อนติดต่อธนาคารเพื่อความเรียบร้อย รวดเร็ว
เอกสารที่ต้องเตรียม
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนธุรกิจ ที่นายทะเบียนรับรอง ไม่เกิน 6 เดือน
- รายงานการประชุม หรือหนังสือแจ้งความประสงค์ขอเปิดบัญชี
- Memorandum
- เอกสาร ที่นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
- แบบ บอจ.3 รายการจดทะเบียนจัดตั้ง
- แบบ บอจ.4 รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมและหรือมติพิเศษ (ถ้ามี)
- แบบ บอจ.5/บมจ.006 สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หรือเอกสารแสดงการถือหุ้น ที่ออกโดยหน่วยราชการ
- เอกสารแสดงตนของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ที่ลงนามเปิดบัญชีและผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย
- บริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดที่ยังไม่หมดอายุ (คนต่างด้าวใช้หนังสือเดินทาง)
- บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทาง)
หากไม่มี ให้ใช้บัตรที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ ที่มีรูปถ่ายพร้อมระบุเลขประจำตัวประชาชน ที่ยังไม่หมดอายุ เช่น บัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานองค์การของรัฐ หนังสือเดินทาง (Passport) ใบอนุญาตขับรถ เป็นตัน
- ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลทุกราย ผู้มีตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงสุด ผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ถือหุ้นในกิจการตั้งแต่ร้อยละ 25 ขึ้นไป หากไม่มี ใช้เอกสารแสดงตนของผู้มีอำนาจควบคุมกิจการ หรือ ผู้มีตำแหน่งบริหารระดับสูงสุดของกิจการ) ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทาง) และรับรองสำเนา
- ผู้ที่ลงนามเปิดบัญชีและผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารกรุงไทย
2. การเลือกธนาคารและสาขา
- เลือกธนาคารที่ตอบโจทย์ความต้องการของบริษัท เช่น มีบริการธุรกรรมออนไลน์ รองรับการออกเช็ค หรือมีบริการพิเศษสำหรับธุรกิจ
- ตรวจสอบเงื่อนไขและค่าธรรมเนียมของธนาคารแต่ละแห่ง
- นัดเข้าจัดทำเอกสารและเปิดบัญชี
3. การตรวจสอบบัญชีและการใช้งาน
- ตรวจสอบข้อมูลบัญชีที่ได้รับ เช่น ชื่อบัญชีและหมายเลขบัญชี
- ทดลองใช้งานบริการต่าง ๆ เช่น การทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร
- จัดเก็บเอกสารและข้อมูลบัญชีเพื่ออ้างอิงในอนาคต
4. คำแนะนำด้านอื่นเพิ่มเติม
- หากบริษัทมีลักษณะเฉพาะ เช่น มีผู้ถือหุ้นต่างชาติหรือธุรกิจข้ามชาติ ควรปรึกษาธนาคารเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม หรือ ปรึกษา FDI ในส่วนของหุ้นต่างชาติหรือธุรกิจข้ามชาติที่ต้องมีการขอใบอนุญาต เรายินดีให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ
- ตรวจสอบนโยบายเกี่ยวกับการรายงานทางการเงินและภาษีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีธนาคารของบริษัท
ข้อดีและข้อเสียของการเปิดบัญชีธนาคารในนามนิติบุคคล
โดยสรุปแล้วการเปิดบัญชีธุรกิจเป็นสิ่งที่แนะนำให้ผู้ประกอบการควรทำ
การเปิดบัญชีบริษัท ก็มีทั้งข้อดี – ข้อเสีย ที่สามารถประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจได้เช่นกัน ดังนี้
Strength
1. ความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ
- เพิ่มความน่าเชื่อถือ : การใช้บัญชีนิติบุคคลสำหรับรับเงินและจ่ายเงิน ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่มืออาชีพในสายตาลูกค้าและคู่ค้า
- ง่ายต่อการทำธุรกรรมการค้า : สามารถออกใบแจ้งหนี้และรับเงินในชื่อบริษัทโดยตรง
2. การจัดการทางการเงิน
- แยกการเงินส่วนตัวออกจากธุรกิจ : ลดความสับสนและช่วยบริหารจัดการการเงินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวางระบบบัญชีที่ดีจะช่วยให้การบริหารเงินเป็นระบบมากขึ้น
- ช่วยในการตรวจสอบบัญชี : การจัดการรายรับ-รายจ่ายที่แยกชัดเจนช่วยให้การตรวจสอบบัญชีและการยื่นภาษีเป็นไปได้อย่างราบรื่น
3. สิทธิประโยชน์ทางภาษี
- การลดหย่อนภาษี : ค่าใช้จ่ายที่จ่ายผ่านบัญชีนิติบุคคลสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ หากเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
- การยื่นแบบภาษีที่ถูกต้อง : บัญชีนิติบุคคลช่วยจัดการเอกสารภาษี เช่น ภ.พ.30 และ ภ.ง.ด.50 ได้ง่ายขึ้น
4. โอกาสในการขยายธุรกิจ
- การขอสินเชื่อธุรกิจ : การมีบัญชีนิติบุคคลที่มีประวัติการเงินดีช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับสินเชื่อเพื่อขยายธุรกิจ
- เข้าถึงบริการพิเศษ : ธนาคารมักมีผลิตภัณฑ์และบริการที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับนิติบุคคล เช่น การเปิด L/C (Letter of Credit)
ข้อเสีย
1. ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- ค่าธรรมเนียมบัญชี : บัญชีนิติบุคคลมักมีค่าธรรมเนียมในการดูแลบัญชีสูงกว่าบัญชีส่วนบุคคล
- ค่าดำเนินการเริ่มต้น : เช่น ค่าประทับตราและค่าเอกสารต่าง ๆ
2. กระบวนการซับซ้อน
- การเปิดบัญชีที่ยุ่งยาก : ต้องใช้เอกสารจำนวนมาก เช่น หนังสือรับรองบริษัท บัญชีผู้ถือหุ้น และตราประทับบริษัท
- การทำธุรกรรมต้องมีการอนุมัติ : โดยเฉพาะหากมีกรรมการหลายคน อาจต้องใช้มติที่ประชุมหรือเอกสารเพิ่มเติม
3. ความยืดหยุ่นน้อยกว่า
- การเข้าถึงเงินทุน: การถอนเงินจากบัญชีนิติบุคคลมักต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อนกว่าบัญชีส่วนบุคคล
- ข้อกำหนดทางกฎหมาย: ต้องดำเนินการตามข้อกำหนด เช่น การรายงานบัญชีและยื่นภาษีตามระยะเวลาที่กำหนด
4. การดูแลบัญชี
- ความยุ่งยากในการบริหาร : ต้องเก็บบันทึกรายการทั้งหมดเพื่อการตรวจสอบและการยื่นภาษี
- ข้อผิดพลาดทางกฎหมาย : หากไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์บัญชีและภาษี อาจถูกปรับหรือตรวจสอบจากหน่วยงานรัฐ
การลดข้อเสียในการเปิดบัญชีนิติบุคคลสามารถทำได้ด้วยการวางแผนล่วงหน้า เลือกธนาคารที่เหมาะสม และใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพียงเท่านี้ปัญหาข้อเสียที่เกิดขึ้นก็จะมีทางออก พร้อมวิธีป้องกันรับมือแล้ว
ข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการวางแผนบัญชีและภาษี
จากประสบการณ์ในการดูแล การวางระบบบัญชีบริษัท บัญชีนิติบุคคลให้กับองค์กร บริษัทต่าง ๆ FDI ขอแนะนำให้ผู้ประกอบการวางแผนการเงิน วางแผนภาษีตั้งแต่เริ่มต้นกิจการ เพื่อให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวทางการเงิน สามารถตรวจสอบ พิสูจน์ได้ เพื่อความโปร่งใส รวมถึงมีข้อมูลให้สามารถใช้ในการวางแผนเพื่อต่อยอดพัฒนาธุรกิจ ที่อาจจะเกิดขึ้นในโอกาสอันใกล้นี้ของผู้ประกอบการทุกท่าน
หากต้องการที่ปรึกษาการวางระบบบัญชี การทำบัญชี การวางแผนภาษีสำหรับนิติบุคคล FDI ยินดีให้คำปรึกษาพร้อมให้บริการการทำบัญชีรายเดือน-รายปี จากประสบการณ์กว่าหลายพันบริษัทที่ให้ความไว้วางใจให้เราได้ดูแล เราเชื่อว่าจะสามารถทำให้บัญชีบริษัทคุณเป็นไปอย่างง่ายดาย ตรงตามหลักทางบัญชีและกฏหมาย
FDI Accounting & Advisory
ที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างครบวงจร !
🌐Website : www.fdi.co.th
📞 Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895
E-mail : reception@fdi.co.th
Facebook : FDI Group – Business Consulting
Line Official : @fdigroup
Blogที่น่าสนใจ
5 Checklist! Important for doing taxes
ช่วงปลายปีใกล้เข้ามาแล้ว หลายคนคงเริ่มวุ่นวายกับการเตรียมตัวสำหรับการ ทำภาษี...
Read More5 investments to save on taxes!
Planning for taxes is an important part of good financial management...
Read MoreThe Certificate of Value Added Tax VS Value Added Tax How are they different?
For entrepreneurs operating in Thailand You are probably familiar with the word “Value added tax (VAT)”...
Read More