บทความ BCG

รู้จัก ESG Rating โอกาสในการลงทุนในองค์กร สู่ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและสังคม

ESG Rating คือ อะไร? ทำไมต้องรู้จัก  ESG Rating คือ ผลการประเมินความยั่งยืนขององค์กรโดยพิจารณาจากเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental), สังคม (Social), และธรรมาภิบาล (Governance) โดยคะแนน ESG นี้มักใช้เป็นตัวชี้วัดที่ช่วยให้นักลงทุนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถประเมินความเสี่ยงและโอกาสขององค์กรในเชิงความยั่งยืน  องค์ประกอบของ ESG Rating Environmental (สิ่งแวดล้อม)พิจารณาถึงผลกระทบขององค์กรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Emissions) การใช้ทรัพยากร (Resource Use) การจัดการของเสียและมลพิษ (Waste Management) การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม Social (สังคม)พิจารณาจากด้านความสัมพันธ์ขององค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น การดูแลพนักงาน (Employee Relations) ความเท่าเทียมในที่ทำงาน (Diversity and Inclusion) การเคารพสิทธิมนุษยชน (Human Rights) การมีส่วนร่วมในชุมชน (Community Engagement) Governance (ธรรมาภิบาล)ประเมินความโปร่งใสและการบริหารจัดการขององค์กร เช่น โครงสร้างคณะกรรมการและการกำกับดูแล (Board Structure) […]

โอกาสใหม่ที่สำคัญ โดยการทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร กุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจ และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

กุญแจสู่ความยั่งยืนในธุรกิจยุคใหม่ ต้องทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร เปลี่ยนองค์กรสู่ความยั่งยืน ในยุคที่ความยั่งยืนกลายเป็นประเด็นสำคัญระดับโลก ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความคาดหวังของสังคมที่มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจการภายใต้ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ทำธุรกิจที่ส่งผลดีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงข้อกำหนด นโยบาย กฏหมายจากภาครัฐ ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กร สามารถก้าวสู่ความยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม นั่นก็คือ การทำ คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization) ซึ่งไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นโอกาสใหม่ที่ดีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ “การทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นความจำเป็นในธุรกิจยุคใหม่ องค์กรที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนจะได้รับผลประโยชน์ทั้งด้านการเงินและภาพลักษณ์ พร้อมก้าวสู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกับโลกใบนี้”  คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรคืออะไร? คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร หมายถึง การวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas – GHG) จากกิจกรรมทั้งหมดขององค์กรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยครอบคลุมกิจกรรมหลัก เช่น การใช้พลังงาน การจัดการของเสีย และการขนส่ง การทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ช่วยให้องค์กรทราบถึงแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซและสามารถกำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ่านต่อ บริการด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก    ทำไมองค์กรต้องทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องทำ ?  ถ้าในสถานการณ์ปัจจุบันก็ต้องบอกว่ามีความจำเป็นที่ธุรกิจต้องทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ส่งออกสินค้าไปสหภาพยุโรป ในกลุ่ม ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย […]

รวมเทรนด์ Climate Tech นวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net Zero ตัวช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม

จับตา”เทรนด์ Climate Tech” ที่มีช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร อย่างที่เราทราบกันดีว่าในปัจจุบันภาวะโลกร้อนนั้น เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมทั่วโลก สาเหตุหลักมาจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเพิ่มความร้อนในระบบโลกและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกต่างต้องร่วมมือกัน การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Tech มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ นำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษ และมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ตามที่ประเทศไทยตั้งเป้าไว้  จากงานวิจัยที่น่าสนใจจาก McKinsey เกี่ยวกับในเรื่องของ “Climate Tech” ที่มีส่วนช่วยในการควบคุมภูมิอากาศด้วยเทคโนโลยี เป็นนวัตกรรมการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษ ซึ่งคาดว่าหากได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ก็จะสามารถช่วยลดการปล่อยมลพิษได้ประมาณ 60% เพื่อรักษาเสถียรภาพของสภาพอากาศภายในปี ค.ศ. 2050 ด้วย 5 กลุ่ม Climate Tech ที่สามารถดึงดูดเงินลงทุนกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2025 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% ภายในปี ค.ศ. 2050 ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า […]

ตลาดราคาคาร์บอนเครดิตในไทย น่าจับตา ! แนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับตลาดโลก โอกาสใหม่ของความยั่งยืน

ประเทศไทย มีการจัดทำโครงการการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคสมัครใจ โดยใช้ชื่อว่า Thailand Voluntary Emission Reduction Program หรือ T-VER ซึ่งมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) โดยเป็นหน่วยงานที่ดูแลการขึ้นทะเบียน และ การรับรองคาร์บอนเครดิต โดยเป็นกลไกคาร์บอนเครดิตในรูปแบบ Governmental Crediting Mechanism คาร์บอนเครดิตคืออะไร ราคาคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย ความสำคัญที่เราต้องรู้ คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงหรือกักเก็บได้จากการทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกเมื่อเทียบกับกรณีการดำเนินธุรกิจตามปกติ มีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) ซึ่งปริมาณที่จะลดลงหรือกักเก็บนั้นต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานต่าง ๆ และสามารถนำไปซื้อขายระหว่างผู้ต้องการชดเชยการปล่อยคาร์บอนและผู้ที่ลดการปล่อยคาร์บอนได้  คาร์บอนเครดิต มาจากโครงการหลักๆ ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) และสร้างคาร์บอนเครดิตที่สามารถนำไปซื้อขายได้ โดยทั่วไปแล้ว โครงการเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ  1. โครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Reduction Projects) การลดการปล่อยก๊าซในอุตสาหกรรมหรือกระบวนการผลิตมุ่งเน้นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานสะอาด, การใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซ , การกำจัดน้ำเสีย […]

[อัพเดต 2025] ภาษีคาร์บอน คืออะไร – สำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

ภาษีคาร์บอน ราคาที่ต้องจ่ายเพื่อโลกที่ดีขึ้น  ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียน ที่จะมีการจัดเก็บภาษีคาร์บอน ถัดจากสิงคโปร์ ในปัจจุบันทุกท่านคงทราบดีว่า สภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น มาจากผลกระทบของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศที่มีมากขึ้น ซึ่งมีปัจจัยทั้งจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลกในทุกพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง รุนแรงมากขึ้น อย่างที่ทุกท่านเห็นในปัจจุบัน ซึ่งหนึ่งในการแก้ไขเเละร่วมกันหาทางออกในการลดก๊าซเรือนกระจกก็คือ การจัดเก็บภาษีคาร์บอน เเละในบทความนี้ จะช่วยให้ทุกท่านได้เข้าใจในเรื่องของภาษีคาร์บอน การจัดเก็บภาษี ผลดีและโอกาสที่จะเกิดขึ้นต่อตัวท่านเองเเละสังคมส่วนรวมในระยะยาว ทำความรู้จัก ภาษีคาร์บอน คืออะไร? ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เป็นหลักการที่กำหนดให้ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะต้องจ่ายค่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ชนิด ได้แก่ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) , ไนตรัสออกไซด์(N2O) , มีเทน (CH4), ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs), ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน(PFC), ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6), ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) เป็นต้น ที่เกิดจากกระบวนการผลิต การขนส่ง กิจกรรมต่างๆที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยยึดตามหลักการของ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pay […]

คู่มือ! การขึ้นทะเบียน โครงการคาร์บอนเครดิต อัพเดต 2025

ในยุคที่ปัญหาภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญของทุกภาคส่วนทั่วโลก หนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ “คาร์บอนเครดิต” ซึ่งเป็นหลักประกันที่แสดงถึงปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากโครงการต่างๆ การขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิตจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้โครงการเหล่านั้นได้รับการยอมรับในระดับสากลและสามารถนำคาร์บอนเครดิตไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม มาตรฐานที่สำคัญในการขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิต มาตรฐานสากล: CDM (Clean Development Mechanism): กลไกที่กำหนดขึ้นภายใต้พิธีสารเกียวโต เพื่อให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถลงทุนในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา และได้รับคาร์บอนเครดิตมาชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ VCS (Verified Carbon Standard): มาตรฐานภาคเอกชนที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคสมัครใจ Gold Standard: มาตรฐานที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมนอกเหนือจากการลดก๊าซเรือนกระจก มาตรฐานในประเทศไทย: T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program): โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย ดำเนินการโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือองค์การอบก. เหตุผลที่ต้องขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิต การรับรองความน่าเชื่อถือ: การขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิตเป็นการยืนยันว่าโครงการนั้นได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ ทำให้โครงการได้รับความน่าเชื่อถือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้บริโภค การสร้างความโปร่งใส: กระบวนการขึ้นทะเบียนจะต้องมีการตรวจสอบและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด ทำให้สาธารณชนสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและความสำเร็จของโครงการได้ การสร้างตลาดคาร์บอนเครดิต: การมีโครงการคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจำนวนมากจะช่วยสร้างตลาดคาร์บอนเครดิตที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่เป็นธรรมและโปร่งใส การดึงดูดนักลงทุน: โครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตจะมีโอกาสดึงดูดนักลงทุนที่สนใจในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การสร้างแรงจูงใจในการลดก๊าซเรือนกระจก: การขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนและชุมชนต่างๆ พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน: การมีส่วนร่วมในโครงการคาร์บอนเครดิตเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนขององค์กรและประเทศชาติ […]