บทความอื่นๆ

รายได้เท่าไหร่ถึงเสียภาษี ปรึกษาภาษี พึ่งเริ่มทำงานต้องรู้ ฉบับเข้าใจง่าย 2025

รวมข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับภาษี ปรึกษาภาษีกับ FDI ฟรี! รายละเอียดข้อมูลที่ FDI พาไปทำความเข้าใจในบทความนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีความน่าสนใจอย่างไรนั้นไปติตตามกันได้ในบทความนี้ ภาษีคืออะไร  ภาษีคือ การเก็บเงินจากประชาชนหรือองค์กรโดยภาครัฐเป็นผู้จัดเก็บ ซึ่งภาษีเป็นรายได้ที่สำคัญของภาครัฐแทบทุกประเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศและให้บริการสาธารณะ เช่น การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ในสังคมในประเทศไทย  ซึ่งการจ่ายภาษีอากรเป็นหน้าที่ของบุคคลที่ต้องจ่ายหรือชำระให้แก่รัฐ เพื่อที่จะเป็นรายได้ให้รัฐได้นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์โอกาสให้แก่ผู้ด้อยโอกาสและบุคคลอื่นๆ ในสังคม การตั้งใจไม่ชำระภาษี หลบเลี่ยงการชำระ ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญมีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา  ภาษีแบ่งเป็นกี่ประเภท มีอะไรบ้าง สำหรับการจัดเก็บภาษีนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม  ภาษีทางตรง (Direct Tax) คือภาษีที่เรียกเก็บจากรายได้หรือทรัพย์สินของบุคคลหรือองค์กร โดยที่ผู้เสียภาษีจะต้องชำระภาษีตามจำนวนรายได้หรือมูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริง ภาษีทางตรงจะมีลักษณะการเก็บที่ชัดเจน มีความแน่นอน และสามารถคำนวณได้ง่ายจากข้อมูลทางการเงินที่มีอยู่  ตัวอย่างของภาษีทางตรง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: เก็บจากรายได้ของบุคคล เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าลิขสิทธิ์ และรายได้อื่น ๆ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: เก็บจากรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ภาษีมรดก: เรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ตกทอดจากผู้เสียชีวิต ภาษีทรัพย์สิน: เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเรียกเก็บจากเจ้าของทรัพย์สิน ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการ โดยไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรายได้ของผู้เสียภาษี ผู้บริโภคจะต้องชำระภาษีนี้ เมื่อซื้อสินค้าหรือใช้บริการ และผู้ประกอบการจะเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งภาษีไปยังรัฐบาล ซึ่งภาษีทางอ้อมนี้สามารถจัดเก็บได้ง่าย รวดเร็ว เนื่องจากอยู่ในกระบวนการซื้อขาย ถูกรวมไว้ในราคาสินค้าและบริการอยู่แล้ว  ตัวอย่างของภาษีทางอ้อม ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): เรียกเก็บจากการขายสินค้าและบริการ โดยทั่วไปอยู่ที่ 7% ภาษีสรรพสามิต: เก็บจากสินค้าบางประเภท เช่น เหล้า บุหรี่ น้ำมัน  ภาษีการค้า: เช่น ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำเข้าสินค้าหรือการส่งออก เงินเดือนเท่าไหร่ ต้องจ่ายภาษีอย่างไรบ้าง ? เงินเดือนเท่าไหร่ ต้องเสียภาษีอย่างไร? โดยกรมสรรพากรได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ตามระเบียบของสรรพากรได้ระบุว่า ผู้ที่มีรายได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินปันผลจากการดำเนินกิจการ เงินค่าเช่าบ้าน รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ […]

5 เทคนิค การทำบัญชีนิติบุคคลให้มีประสิทธิภาพ จดทะเบียนบริษัทใหม่ทำบัญชีเองดีไหม?

การทำบัญชีนิติบุคคล สำหรับบริษัทที่พึ่งเริ่มต้นธุรกิจ  เมื่อจดทะเบียนบริษัทในรูปแบบของนิติบุคคลแล้ว การทำบัญชีบริษัท จะมีความยากและซับซ้อนในด้านเอกสาร การดำเนินงานมากขึ้น เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลต้องมีผู้จัดทำบัญชีตามหลักการบัญชี เพื่อส่งข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร ฯลฯ    สิ่งที่ต้องดำเนินการหลังจากกิจการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล  1.ดำเนินการแยกบัญชี  โดยเปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัท โดยแยกออกจากบัญชีส่วนบุคคลให้ชัดเจน  2.จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  สำหรับกิจการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท หรือจดภาษีมูลค่าเพิ่มหลังจากจดบริษัทนิติบุคคลได้เลยเช่นกัน  3.ขึ้นทะเบียนลูกจ้างในระบบประกันสังคม  ถ้าหากมีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยมีการจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือน กิจการต้องไปขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างงาน ที่สำนักงานประกันสังคม และนำส่ง ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก ในกรณีที่กิจการมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้สำหรับเงินเดือนของพนักงานที่ถึงเกณฑ์กำหนด  4.เอกสารค่าใช้จ่ายของกิจการหรือบริษัท  การซื้อของหรือเอกสารค่าใช้จ่ายของกิจการทุกอย่าง ต้องซื้อในนามบริษัทเท่านั้น ต้องออกเป็นใบเสร็จรับเงิน/ ใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดต้องมีชื่อ ที่อยู่ของผู้ขาย และต้องระบุชื่อบริษัทของเรา 5.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องมีการหัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในฐานะที่กิจการเป็นผู้จ่ายเงิน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ส่วนหนึ่ง ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ตามอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย  0-5 % แตกต่างกันตามประเภทเงินที่จ่าย 6.การนำส่งภาษี  จัดเตรียมเอกสารทางบัญชี ภาษี รวบรวมเอกสารทั้งรายรับและรายจ่ายของกิจการทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพื่อสรุปข้อมูลและนำส่งภาษี ในปีแรกๆหากมีความพร้อมสามารถรวบรวมเอกสาร จากนั้นค่อยส่งให้สำนักงานบัญชีสรุปบัญชี เพื่อตรวจสอบงบการเงิน และยื่นภาษีที่เกี่ยวข้องของกิจการ หลังจากสิ้นปีแทนกิจการ (ทำบัญชีและปิดงบรายปี) หรืออาจจะเลือกจ้างสำนักงานบัญชีเพื่อบันทึกบัญชีและนำส่งภาษีให้กิจการเป็นรายเดือน (บริการบัญชีรายเดือน) ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน  7.ข้อมูลสวัสดิการพนักงาน  หากเป็นคนไทยนายจ้างต้องปฏิบัติตามกฏหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเคร่งครัด เช่น การกำหนดเวลาในการทำงาน ไม่เกิน 8 ชม/วัน หรือตามที่นายจ้าง ลูกจ้างตกลงกัน และไม่เกิน 48 ชม./สัปดาห์ มีวันลาต่าง ๆ ชัดเจน มีค่าตอบแทน ค่าล่วงเวลาตามเหมาะสม รวมถึงการปฏิบัติต่อกันและกัน โดยยึดถือข้อปฏิบัติตามที่กฏหมายได้ระบุเอาไว้ เพื่อไม่ให้เกิดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง อ่านต่อเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง : กฏหมายคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กรณีที่มีแรงงานต่างด้าวทำงานในบริษัท การจ้างแรงงานต่างด้าวในไทย โดยส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ต้องใช้แรงงาน ซึ่งจะทำการจ้างงานภายใต้ข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ (MOU) สำหรับต่างด้าวจาก […]

Visa Non B เส้นทางสำคัญสู่การทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย ชาวต่างชาติมาทำงานไทยต้องรู้!! อัพเดต 2025

 Visa Non B  ความสำคัญต่อต่างชาติที่มาทำงานในประเทศไทย  สำหรับวีซ่า Non-B หรือ Non-Immigrant B คือ วีซ่าที่ออกให้แก่บุคคลที่ต้องการเดินทางเข้ามาพำนักในประเทศไทยเป็นเวลาชั่วคราว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำงาน ประชุม หรือการติดต่อธุรกิจโดยเฉพาะ เป็นวีซ่าสำหรับชาวต่างชาติ ที่จำเป็นสำหรับผู้ที่มีแผนที่จะทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือทำธุรกิจในฐานะผู้ลงทุน หรือผู้ประกอบการ ซึ่งวีซ่านี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “วีซ่าธุรกิจ” ที่เป็นหนึ่งในประเภทของวีซ่าคนอยู่ชั่วคราว หรือ Non-Immigrant Visa ประเภทของวีซ่า Non-Immigrant ในประเทศไทย  โดยแบ่งแยกตามวัตถุประสงค์ของผู้ยื่นในการเข้ามาในประเทศไทยได้ ดังนี้ 1.ประเภท B (วีซ่า Non B) หรือ วีซ่าธุรกิจ : สำหรับผู้ต้องการทำงาน หรือ ติดต่อธุรกิจในไทย วัตถุประสงค์วีซ่า : สำหรับการทำงานและประกอบธุรกิจ รายละเอียด: Non-B for Work : สำหรับผู้ที่มีนายจ้างในประเทศไทยและต้องการทำงาน Non-B for Business : สำหรับนักธุรกิจ ผู้ลงทุน หรือผู้ประกอบการที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย 2.ประเภท B-A (วีซ่า Non B – A) : สำหรับผู้ต้องการลงทุนกับบริษัทในไทย รายละเอียด : เป็นประเภทของวีซ่าที่ออกให้สำหรับ ชาวต่างชาติที่มีแผนการมาทำงานในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ ผู้ที่ทำงานในบริษัทที่มีการร่วมทุนกับรัฐไทย หรือในองค์กรที่มีการจัดการภาครัฐ หรือ บุคคลที่ต้องทำงานเกี่ยวกับภาครัฐ วีซ่าประเภทนี้มีจุดประสงค์ในการอำนวยความสะดวกในการทำงานในองค์กรที่มีการสนับสนุนจากภาครัฐ และโดยทั่วไปจะออกให้แก่บุคคลที่ต้องการทำงานกับองค์กรในภาครัฐ เช่น การร่วมทุนหรือทำงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของรัฐบาล 3.ประเภท D : สำหรับผู้ทำงานในสถานทูตของประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ของประเทศไทย รายละเอียด : เป็นวีซ่าที่ออกให้แก่ บุคคลที่ทำงานในสถานทูตหรือองค์กรระหว่างประเทศ ของประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แต่มีสถานทูตหรือคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ทำงานในสถานทูตของประเทศต่าง ๆ ในประเทศไทย หรือผู้ที่ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ หรือองค์กรอื่น ๆ ที่ดำเนินงานในประเทศไทย 4.ประเภท ED : สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในไทย วัตถุประสงค์วีซ่า : สำหรับการศึกษา รายละเอียด […]

ต่างชาติสามารถถือหุ้น 100 % ได้หรือไม่ การขอรับในอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ข้อมูลที่ต้องรู้ ขั้นตอนการขอเอกสาร FBL และ FBC

การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว FBL FBC คืออะไร  ความแตกต่าง ? FDI พาทำความรู้จัก ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว FBL , FBC ความหมายคืออะไร รวมถึงขั้นตอนการขอ และเอกสารที่ต้องรู้ การเข้ามาประกอบธุรกิจหรือทำงานในประเทศไทยนั้น สำหรับชาวต่างชาติหรือต่างด้าวจะมีข้อกำหนดทางด้านกฏหมาย รวมถึงขั้นตอนที่กหนดไว้โดยเฉพาะ สำหรับการขอใบอนุญาตหรือใบประกอบกิจการสำหรับธุรกิจที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติในประเทศไทยจะเกี่ยวข้องกับสองประเภทหลักๆ คือ Foreign Business Certificate (FBC) และ Foreign Business License (FBL) ซึ่งนี้มีความแตกต่างกันในแง่ของการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจและประเภทของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต เจาะรายละเอียดข้อมูลของ FBL และ FBC  ใบอนุญาตที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทย หรือ  Foreign Business License (FBL)  คือใบอนุญาตที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทยในลักษณะที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งใบนี้เป็นการอนุมัติที่ออกให้แก่บริษัทต่างชาติที่มีการยื่นขออนุญาตและได้รับการอนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์ ขั้นตอนการขอ FBL  กระบวนการขอ FBL จะต้องมีการตรวจสอบตามเกณฑ์ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด เช่น การมีหุ้นส่วนไทยที่มีสัดส่วนอย่างน้อย 51% หรือการมีธุรกิจในประเภทที่ได้รับอนุญาต ปรึกษาเรา ให้คำปรึกษาการยื่นขอฟรี !  ใบรับรองที่ออกให้กับบริษัทต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย หรือ Foreign Business Certificate (FBC) เป็นใบรับรองที่ออกให้กับบริษัทต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งการขอใบอนุญาตนี้จะมีข้อจำกัดในเรื่องประเภทของธุรกิจที่สามารถทำได้ตามที่กำหนดใน พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยเฉพาะตาม บัญชี 3 ซึ่งเป็นรายการธุรกิจที่คนต่างด้าวไม่สามารถทำได้เอง หรือสามารถทำได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาล ขั้นตอนการขอ FBC   บริษัทต้องสมัครเพื่อขอ FBC โดยมักจะต้องยื่นเอกสารและข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทต่างชาติจะประกอบธุรกิจในไทยตามประเภทที่อนุญาต การขอ FBC มักเกี่ยวข้องกับการมีผู้ถือหุ้นไทยอย่างน้อย 51% ในกรณีที่กิจการนั้นอยู่ในหมวดหมู่ที่มีข้อจำกัดตามพระราชบัญญัติ ปรึกษาเรา ให้คำปรึกษาการยื่นขอฟรี !  การขอ Foreign Business Certificate (FBC) และ Foreign Business License (FBL) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งธุรกิจของต่างชาติในประเทศไทย โดย FBC เป็นใบรับรองที่อนุญาตให้เริ่มต้นการดำเนินธุรกิจ ส่วน FBL เป็นใบอนุญาตที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้จริงตามประเภทที่กฎหมายกำหนด ทั้งสองใบอนุญาตนี้มีความสำคัญและต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด  รูปแบบธุรกิจที่ต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว บริษัทที่มีการจดจัดตั้งใหม่ โดยมีผู้ถือหุ้นข้างมากเป็นชาวต่างชาติ สาขาของบริษัทต่างชาติ (Branch […]

พัฒนาธุรกิจให้ทันเทรนด์ปี 2025 รวมเทรนด์พัฒนาธุรกิจที่น่าสนใจ

เทรนด์ธุรกิจที่น่าจับตาในปี 2025 พัฒนาธุรกิจให้ทันเทรนด์ นับถอยหลังเพียงอีก 1 เดือน ก็จะก้าวเข้าสู่ปี 2025 แต่ละองค์กรต่างเตรียมความพร้อมพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการแข่งขันในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และความท้าทายใหม่ๆ ก็เข้ามาทดสอบธุรกิจทุกประเภท ซึ่งหากท่านใดที่กำลังมองหาโอกาสในการลงทุนหรือสร้างธุรกิจใหม่อยู่นั้น การทำความเข้าใจเทรนด์ธุรกิจที่น่าสนใจในปี 2025 FDI เชื่อว่าในบทความนี้จะสามารถสร้างไอเดียใหม่ ให้ความเข้าใจในโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้สำหรับนักลงทุนหรือคนที่กำลังอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ได้เป็นอย่างดี เทรนด์ที่น่าสนใจและลงทุน   เทรนด์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning  เทคโนโลยี AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกอุตสาหกรรมมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน หรือการสร้างประสบการณ์ลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ AI เช่น พัฒนาซอฟต์แวร์ AI, บริการที่ปรึกษา AI, และแอปพลิเคชันที่ใช้ AI จะมีโอกาสเติบโตอย่างมาก ยกตัวอย่าง บริษัทโทรศัพท์ค่ายสีเขียวได้พัฒนาธุรกิจ ใช้ AI Voice Bot ในการติดต่อลูกค้าเพิ่มมากขึ้น เช่น การโทรแจ้งนัดหมาย การโทรติดตามหนี้ การโทรนัดรับสินค้า ซึ่งการนำ AI มาใช้กับธุรกิจ ช่วยลดต้นทุนเวลาและทรัพยากรบุคคลไปได้อย่างมหาศาลเลยทีเดียว  เทรนด์ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในระยะยาว รับผิดชอบต่อสังคม และมีธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจ จะได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคมากขึ้น สำหรับเทรนด์ธุรกิจสีเขียวนี้ FDI ให้ความเห็นว่าเป็นธุรกิจที่น่าจับตามาเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากการพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับเทรนด์สีเขียวนั้น จะช่วยตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ สร้างความยั่งยืน ลดต้นทุนได้ในระยะยาว อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐอีกด้วย  เทรนด์อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT)   IoT หรืออินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) หมายถึงเครือข่ายรวมของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันและเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับระบบคลาวด์ ตลอดจนระหว่างอุปกรณ์ด้วยกันเอง อุปกรณ์ต่างๆ จะเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้เกิดข้อมูลจำนวนมหาศาลที่สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ IoT ที่สามารถเป็นไอเดียได้ เช่น เซ็นเซอร์, ระบบควบคุมอัตโนมัติ, และแพลตฟอร์ม IoT เป็นต้น จะเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ยกตัวอย่างธุรกิจ เช่น ระบบปลูกพืชด้วยน้ำสามารถใช้เซ็นเซอร์ IoT เพื่อจัดการสวน โดยการเปิดปิดระบบน้ำ ไฟ ด้วยเซ็นเซอร์โดยสามารถระบุเวลา หรือปิดอุปกรณ์ที่ไม่ใช้เเล้วได้  เทรนด์สุขภาพและ Wellness  ยุคของเทรนด์สุขภาพและการดูแลตัวเอง ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งวัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ […]