What is ETS?
Today, production processes in all industries result in the release of carbon dioxide—a major greenhouse gas—into the atmosphere, contributing significantly to global warming (Climate Change). This article will introduce you to ETS. From an economic perspective, the idea of creating a pricing mechanism for something previously without a price—such as greenhouse gases or carbon dioxide (Carbon Pricing)—is another concept that helps hold emitters accountable for the emissions they produce. When the cost rises, it may lead to decisions to reduce production levels. This pricing mechanism essentially turns greenhouse gas emissions into a cost that must be paid, which can be divided into two approaches:
1. Carbon Tax
เป็นไปตามหลักการผู้ปล่อยมลพิษเป็นผู้จ่าย (polluter pays principle) กำหนดให้ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องจ่ายค่าปล่อย โดยรัฐบาลสามารถกำหนดเป็นอัตราภาษีต่อปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เกิดขึ้น
2. ETS (Emission Trading Scheme)
The Emissions Trading System (ETS), which we will explore in more detail in the following section.
Meaning of ETS
ETS ย่อมาจาก Emission Trading Scheme หรือ ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ภายใต้กลไกตลาดคาร์บอน โดยภาครัฐเป็นผู้กำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมขององค์กรที่ถูกควบคุม (Cap setting) และภาครัฐจะออกสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Allowance) ตามจำนวนเพดานที่กำหนดไว้ โดย 1 สิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีค่าเท่ากับ 1 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า โดยองค์กรต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบจะได้รับการจัดสรรสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบให้เปล่า (Free allowance) หรือ ประมูลสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Auction) ตามรอบประมูลที่จัดขึ้น
ความแตกต่างของ ภาษีคาร์บอนและระบบ ETS
ความแตกต่างที่สำคัญเลยก็คือ ภาษีคาร์บอนจะไม่สามารถควบคุมปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้เต็มที่ เพราะถ้าหากผู้ผลิตเต็มใจที่จะจ่ายภาษีคาร์บอนมากเท่าใด ก็จะสามารถผลิตได้ตามที่ต้องการเท่านั้น ในขณะที่ระบบ ETS รัฐเป็นผู้กำหนดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมที่อนุญาตให้ปล่อยได้ จึงสามารถควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างชัดเจนมากกว่า
ในด้านของราคา ภาษีคาร์บอนเป็นการควบคุมด้านราคา (Price Based) จึงไม่ส่งผลต่อความผันผวนของราคาคาร์บอนและราคาสินค้า แต่ขณะที่ระบบ ETS อาจมีความผันผวนของราคาตามความต้องการใช้ใบอนุญาต หากความต้องการสูง ราคาใบอนุญาตก็จะสูงขึ้นและอาจส่งผลต่อต้นทุนและราคาสินค้าได้
EU Emission Trading System (EU ETS)
ในส่วนของ EU ETS เป็นกลไกสำคัญที่สหภาพยุโรป (EU27) ได้นำมาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการใน EU เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ผู้ผลิตนำเข้าสินค้า หรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมน้อยในการปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ (ปัญหา Carbon leakage)
ETS ในส่วนความเกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจก เพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Cap Setting) คืออะไร ?
กลุ่มอุตสาหกรรมที่ถูกควบคุม จะมีปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่สามารถปล่อยได้ในแต่ละกลุ่ม สามารถกำหนดได้ 2 รูปแบบ ได้แก่
1. กำหนดในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (Absolute cap) กำหนดปริมาณไว้ล่วงหน้าจากนั้นค่อยปรับลดลงตามระยะเวลา
2. กำหนดในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าต่อหน่วยผลผลิต (Intensity-based cap)
การจัดสรรสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การจัดสรรถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะส่งผลต่อทิศทางการดำเนินกิจการขององค์กรที่ถูกควบคุมในระบบ ซึ่งสะท้อนผ่านปริมาณการผลิต การตัดสินใจลงทุน หรือการผลักดันต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ผู้ผลิตผลักดันไปสู่ผู้บริโภค โดยภาครัฐมีวิธีการพิจารณาจัดสรรสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับองค์กรที่อยู่ในระบบได้ 2 วิธีการ คือ
1. จัดสรรแบบให้เปล่า (Free allocation)
2. จัดสรรโดยการประมูล (Auction)
โดยสรุป การกำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องคำนึงถึงเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาพรวมขององค์กรที่ถูกควบคุมทั้งหมดด้วย เพื่อช่วยให้องค์กรนั้น สามารถวางแผนการลงทุนในระยะยาวได้อย่างเหมาะสม
โดยผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน อย่าง FDI ขอแนะนำว่าข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากสำหรับการดำเนินการภายใต้ระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต้องมีการตรวจวัด การรายงาน และการทวนสอบ โดยองค์กรที่อยู่ในระบบ จะต้องติดตามและรายงานผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยรายงานดังกล่าวจะต้องได้รับการทวนสอบจากผู้ประเมินภายนอกเพื่อยืนยันความถูกต้อง ซึ่งการดำเนินการอย่างรัดกุมตามแผนการดำเนินงานจะทำให้มั่นใจได้ว่าระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
บริการที่ปรึกษาธุรกิจสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
- บริการฝึกอบรมในด้านที่เกี่ยวกับ Carbon Management
- ให้คำปรึกษา BCG (Bio-circular-Green Economy Business Model) และ ESG ในระยะยาว
- บริการจัดทำและประเมิน Carbon Footprint and Carbon Credit
- บริการจัดทำและให้คำปรึกษา Carbon Net Zero Event
- We provide an Energy Dashboard Platform service that covers Scope 1, 2, and 3 emissions.
FDI Accounting and Advisory มุ่งมั่นสนับสนุนธุรกิจของคุณสู่อนาคตที่ยั่งยืนด้วยบริการที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมครบวงจร ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามีประสบการณ์และความรู้เชิงลึกพร้อมช่วยคุณเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน
FDI พร้อมที่จะให้คำปรึกษาธุรกิจของคุณ พันธมิตรเคียงข้างทุกธุรกิจอย่างยั่งยืน
🌐Website : www.fdi.co.th
📞 Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895
E-mail : reception@fdi.co.th
Facebook : FDI Group – Business Consulting
Line Official : @fdigroup
Blogที่น่าสนใจ
จากภาวะโลกร้อน สู่ภาวะโลกเดือด ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นวิกฤตของคนทั้งโลกต้องจับตา!
ภาวะโลกเดือดไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความร้อน” แต่เป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับปัจเจกและระดับโลก...
Read Moreที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และจัดทำรายงาน CFO CFP
FDI Group ที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์...
Read Moreบริการที่ปรึกษาการจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยทีมวิศวกร FDI Group ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ที่ปรึกษาการจัดการก๊าซเรือนกระจกและการจัดการคาร์บอน ช่วยพัฒนากลยุทธ์อย่างยั่งยืน ให้คำปรึกษาพัฒนาธุรกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร ...
Read More