ETS คืออะไร ? เกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจกอย่างไร

ETS ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ETS คืออะไร ? เกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจกอย่างไร

ทำความรู้จักกับ ETS คืออะไร ? 

ในปัจจุบัน กระบวนการผลิตในทุกอุตสาหกรรม ผลกระทบที่ตามมานั่นก็คือ เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน (Climate Change) ในบทความนี้จะพาทุกท่านทำความรู้จักกับ ETS โดยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ การสร้างกลไกราคาให้กับสิ่งที่ไม่มีราคาอย่างก๊าซเรือนกระจกหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Pricing) ก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่ง ที่ช่วยบังคับผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต้องรับผิดชอบต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา เมื่อต้นทุนสูงขึ้น ก็อาจส่งผลให้ตัดสินใจปรับลดปริมาณการผลิตลง​ กลไกราคานี้ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลายเป็นสิ่งที่มีต้นทุนต้องจ่าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ 

1.ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) 

เป็นไปตามหลักการผู้ปล่อยมลพิษเป็นผู้จ่าย (polluter pays principle) กำหนดให้ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องจ่ายค่าปล่อย โดยรัฐบาลสามารถกำหนดเป็นอัตราภาษีต่อปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เกิดขึ้น

2. ETS (Emission Trading Scheme)

ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติม เราจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจในหัวข้อถัดไป

 

ความหมายของ ETS 

ETS ย่อมาจาก Emission Trading Scheme หรือ ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ภายใต้กลไกตลาดคาร์บอน โดยภาครัฐเป็นผู้กำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมขององค์กรที่ถูกควบคุม (Cap setting) และภาครัฐจะออกสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Allowance) ตามจำนวนเพดานที่กำหนดไว้ โดย 1 สิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีค่าเท่ากับ 1 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า โดยองค์กรต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบจะได้รับการจัดสรรสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบให้เปล่า (Free allowance) หรือ ประมูลสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Auction) ตามรอบประมูลที่จัดขึ้น

ความแตกต่างของ ภาษีคาร์บอนและระบบ ETS

ความแตกต่างที่สำคัญเลยก็คือ ภาษีคาร์บอนจะไม่สามารถควบคุมปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้เต็มที่ เพราะถ้าหากผู้ผลิตเต็มใจที่จะจ่ายภาษีคาร์บอนมากเท่าใด ก็จะสามารถผลิตได้ตามที่ต้องการเท่านั้น ในขณะที่ระบบ ETS รัฐเป็นผู้กำหนดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมที่อนุญาตให้ปล่อยได้ จึงสามารถควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างชัดเจนมากกว่า

ในด้านของราคา ภาษีคาร์บอนเป็นการควบคุมด้านราคา (Price Based) จึงไม่ส่งผลต่อความผันผวนของราคาคาร์บอนและราคาสินค้า แต่ขณะที่ระบบ ETS อาจมีความผันผวนของราคาตามความต้องการใช้ใบอนุญาต หากความต้องการสูง ราคาใบอนุญาตก็จะสูงขึ้นและอาจส่งผลต่อต้นทุนและราคาสินค้าได้

 

EU Emission Trading System (EU ETS)

 ในส่วนของ EU ETS เป็นกลไกสำคัญที่สหภาพยุโรป (EU27) ได้นำมาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการใน EU เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ผู้ผลิตนำเข้าสินค้า หรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมน้อยในการปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ (ปัญหา Carbon leakage) 

ETS ในส่วนความเกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจก เพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Cap Setting) คืออะไร ? 

กลุ่มอุตสาหกรรมที่ถูกควบคุม จะมีปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่สามารถปล่อยได้ในแต่ละกลุ่ม สามารถกำหนดได้ 2 รูปแบบ ได้แก่
1. กำหนดในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (Absolute cap) กำหนดปริมาณไว้ล่วงหน้าจากนั้นค่อยปรับลดลงตามระยะเวลา
2. กำหนดในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าต่อหน่วยผลผลิต (Intensity-based cap)  

การจัดสรรสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การจัดสรรถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะส่งผลต่อทิศทางการดำเนินกิจการขององค์กรที่ถูกควบคุมในระบบ ซึ่งสะท้อนผ่านปริมาณการผลิต การตัดสินใจลงทุน หรือการผลักดันต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ผู้ผลิตผลักดันไปสู่ผู้บริโภค โดยภาครัฐมีวิธีการพิจารณาจัดสรรสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับองค์กรที่อยู่ในระบบได้ 2 วิธีการ คือ

1. จัดสรรแบบให้เปล่า (Free allocation)
2. จัดสรรโดยการประมูล (Auction)

โดยสรุป การกำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องคำนึงถึงเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาพรวมขององค์กรที่ถูกควบคุมทั้งหมดด้วย เพื่อช่วยให้องค์กรนั้น สามารถวางแผนการลงทุนในระยะยาวได้อย่างเหมาะสม

โดยผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน อย่าง FDI ขอแนะนำว่าข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากสำหรับการดำเนินการภายใต้ระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต้องมีการตรวจวัด การรายงาน และการทวนสอบ โดยองค์กรที่อยู่ในระบบ จะต้องติดตามและรายงานผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยรายงานดังกล่าวจะต้องได้รับการทวนสอบจากผู้ประเมินภายนอกเพื่อยืนยันความถูกต้อง ซึ่งการดำเนินการอย่างรัดกุมตามแผนการดำเนินงานจะทำให้มั่นใจได้ว่าระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

บริการที่ปรึกษาธุรกิจสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

  • บริการฝึกอบรมในด้านที่เกี่ยวกับ Carbon Management
  • ให้คำปรึกษา BCG (Bio-circular-Green Economy Business Model) และ ESG ในระยะยาว
  • บริการจัดทำและประเมิน Carbon Footprint and Carbon Credit
  • บริการจัดทำและให้คำปรึกษา Carbon Net Zero Event
  • บริการ Energy Dashboard Platform ครอบคลุม Scope 1 , 2 และ 3

 

FDI Accounting and Advisory มุ่งมั่นสนับสนุนธุรกิจของคุณสู่อนาคตที่ยั่งยืนด้วยบริการที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมครบวงจร ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามีประสบการณ์และความรู้เชิงลึกพร้อมช่วยคุณเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน

FDI พร้อมที่จะให้คำปรึกษาธุรกิจของคุณ พันธมิตรเคียงข้างทุกธุรกิจอย่างยั่งยืน 

🌐Website : www.fdi.co.th

📞 Phone : 02-642-6866, 02-642-6869, 02-642-6895

 E-mail : reception@fdi.co.th

 Facebook : FDI Group – Business Consulting

Line Official : @fdigroup

บทความที่น่าสนใจ