บทความบริการด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

รู้จัก ESG Rating โอกาสในการลงทุนในองค์กร สู่ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและสังคม

ESG Rating คือ อะไร? ทำไมต้องรู้จัก  ESG Rating คือ ผลการประเมินความยั่งยืนขององค์กรโดยพิจารณาจากเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental), สังคม (Social), และธรรมาภิบาล (Governance) โดยคะแนน ESG นี้มักใช้เป็นตัวชี้วัดที่ช่วยให้นักลงทุนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถประเมินความเสี่ยงและโอกาสขององค์กรในเชิงความยั่งยืน  องค์ประกอบของ ESG Rating Environmental (สิ่งแวดล้อม)พิจารณาถึงผลกระทบขององค์กรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Emissions) การใช้ทรัพยากร (Resource Use) การจัดการของเสียและมลพิษ (Waste Management) การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม Social (สังคม)พิจารณาจากด้านความสัมพันธ์ขององค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น การดูแลพนักงาน (Employee Relations) ความเท่าเทียมในที่ทำงาน (Diversity and Inclusion) การเคารพสิทธิมนุษยชน (Human Rights) การมีส่วนร่วมในชุมชน (Community Engagement) Governance (ธรรมาภิบาล)ประเมินความโปร่งใสและการบริหารจัดการขององค์กร เช่น โครงสร้างคณะกรรมการและการกำกับดูแล (Board Structure) […]

โอกาสใหม่ที่สำคัญ โดยการทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร กุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจ และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

กุญแจสู่ความยั่งยืนในธุรกิจยุคใหม่ ต้องทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร เปลี่ยนองค์กรสู่ความยั่งยืน ในยุคที่ความยั่งยืนกลายเป็นประเด็นสำคัญระดับโลก ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความคาดหวังของสังคมที่มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจการภายใต้ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ทำธุรกิจที่ส่งผลดีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงข้อกำหนด นโยบาย กฏหมายจากภาครัฐ ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กร สามารถก้าวสู่ความยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม นั่นก็คือ การทำ คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization) ซึ่งไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นโอกาสใหม่ที่ดีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ “การทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นความจำเป็นในธุรกิจยุคใหม่ องค์กรที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนจะได้รับผลประโยชน์ทั้งด้านการเงินและภาพลักษณ์ พร้อมก้าวสู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกับโลกใบนี้”  คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรคืออะไร? คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร หมายถึง การวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas – GHG) จากกิจกรรมทั้งหมดขององค์กรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยครอบคลุมกิจกรรมหลัก เช่น การใช้พลังงาน การจัดการของเสีย และการขนส่ง การทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ช่วยให้องค์กรทราบถึงแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซและสามารถกำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ่านต่อ บริการด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก    ทำไมองค์กรต้องทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องทำ ?  ถ้าในสถานการณ์ปัจจุบันก็ต้องบอกว่ามีความจำเป็นที่ธุรกิจต้องทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ส่งออกสินค้าไปสหภาพยุโรป ในกลุ่ม ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย […]

รวมเทรนด์ Climate Tech นวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net Zero ตัวช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม

จับตา”เทรนด์ Climate Tech” ที่มีช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร อย่างที่เราทราบกันดีว่าในปัจจุบันภาวะโลกร้อนนั้น เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมทั่วโลก สาเหตุหลักมาจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเพิ่มความร้อนในระบบโลกและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกต่างต้องร่วมมือกัน การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Tech มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ นำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษ และมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ตามที่ประเทศไทยตั้งเป้าไว้  จากงานวิจัยที่น่าสนใจจาก McKinsey เกี่ยวกับในเรื่องของ “Climate Tech” ที่มีส่วนช่วยในการควบคุมภูมิอากาศด้วยเทคโนโลยี เป็นนวัตกรรมการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษ ซึ่งคาดว่าหากได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ก็จะสามารถช่วยลดการปล่อยมลพิษได้ประมาณ 60% เพื่อรักษาเสถียรภาพของสภาพอากาศภายในปี ค.ศ. 2050 ด้วย 5 กลุ่ม Climate Tech ที่สามารถดึงดูดเงินลงทุนกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2025 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% ภายในปี ค.ศ. 2050 ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า […]

ตลาดราคาคาร์บอนเครดิตในไทย น่าจับตา ! แนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับตลาดโลก โอกาสใหม่ของความยั่งยืน

ประเทศไทย มีการจัดทำโครงการการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคสมัครใจ โดยใช้ชื่อว่า Thailand Voluntary Emission Reduction Program หรือ T-VER ซึ่งมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) โดยเป็นหน่วยงานที่ดูแลการขึ้นทะเบียน และ การรับรองคาร์บอนเครดิต โดยเป็นกลไกคาร์บอนเครดิตในรูปแบบ Governmental Crediting Mechanism คาร์บอนเครดิตคืออะไร ราคาคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย ความสำคัญที่เราต้องรู้ คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงหรือกักเก็บได้จากการทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกเมื่อเทียบกับกรณีการดำเนินธุรกิจตามปกติ มีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) ซึ่งปริมาณที่จะลดลงหรือกักเก็บนั้นต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานต่าง ๆ และสามารถนำไปซื้อขายระหว่างผู้ต้องการชดเชยการปล่อยคาร์บอนและผู้ที่ลดการปล่อยคาร์บอนได้  คาร์บอนเครดิต มาจากโครงการหลักๆ ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) และสร้างคาร์บอนเครดิตที่สามารถนำไปซื้อขายได้ โดยทั่วไปแล้ว โครงการเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ  1. โครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Reduction Projects) การลดการปล่อยก๊าซในอุตสาหกรรมหรือกระบวนการผลิตมุ่งเน้นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานสะอาด, การใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซ , การกำจัดน้ำเสีย […]

Thailand ESG ลงทุนแบบใหม่ กองทุน ESG กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน พร้อมลดหย่อนภาษี !

ความสำคัญของการลงทุนในกองทุน ESG  การลงทุนในกองทุน ESG กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากนักลงทุนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุนที่ยั่งยืน การสนับสนุนธุรกิจที่ยั่งยืน: การลงทุนในกองทุน ESG ช่วยสนับสนุนธุรกิจที่มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีความรับผิดชอบ โอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืน: บริษัทที่มีการดำเนินงานด้าน ESG มักจะมีการบริหารจัดการที่ดีในระยะยาว ซึ่งสามารถช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุน การตอบสนองต่อแนวโน้มโลก: แนวโน้มการลงทุนตามหลัก ESG กำลังเติบโตในระดับโลก เนื่องจากนักลงทุนและบริษัทต่างให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลงทุน กองทุน ESG ในประเทศไทยมีการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ลงทุนโดยพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลอย่างเข้มงวด การลงทุนในกองทุน Thailand ESG จึงถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในตลาดหุ้นไทยและในขณะเดียวกันยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน   การมุ่งเน้นลงทุนในบริษัทหรือสินทรัพย์ที่มีการดำเนินการตามหลัก ESG คือ ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental), สังคม (Social), และธรรมาภิบาล (Governance อันนำไปสู่ความยั่งยืนในหลากหลายมิติ ซึ่งมีข้อดีจากการดำเนินการดังกล่าวทั้งการดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงในระยะยาว รวมถึงความมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   ในแต่ละด้านมุ่งเน้นให้ความสำคัญดังนี้ Environmental (สิ่งแวดล้อม): บริษัทที่มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พลังงานทดแทน หรือการรีไซเคิล Social (สังคม): บริษัทที่ใส่ใจในความเป็นอยู่ของพนักงาน ชุมชน […]

ESG ทำไมแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนถึงได้รับความนิยม บทบาทใหม่ขององค์กรสะท้อนความรับผิดชอบต่อสังคม

ESG คืออะไร ค่านิยมใหม่ ! ทำไมแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนถึงได้รับความนิยม ความน่าสนใจในการลงทุน  ESG เป็นแนวคิดในเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ย่อมาจาก Environmental, Social, and Governance เป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการประเมินและพิจารณาผลกระทบขององค์กรในสามด้านหลัก ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environmental), สังคม (Social), และ การกำกับดูแล (Governance) ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในการตัดสินใจลงทุนและการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนในระยะยาว โดยแต่ละด้านมีรายละเอียด ได้แก่  1. Environmental (สิ่งแวดล้อม) ในด้านสิ่งแวดล้อมจะเกี่ยวข้องกับวิธีที่องค์กรรับมือกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น  การจัดการพลังงาน : ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนนำมาใช้ให้มากขึ้น  การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก : มีมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ  การจัดการของเสีย : การรีไซเคิล การจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดขยะในกระบวนการผลิต  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน : ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีความรับผิดชอบ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม องค์กรที่คำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อมจะมีการวางกลยุทธ์ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถสร้างความยั่งยืนทั้งในเชิงธุรกิจและในเชิงสิ่งแวดล้อมได้ 2. Social (สังคม) ในด้านสังคมมุ่งเน้นไปที่การปฏิสัมพันธ์และผลกระทบที่องค์กรมีต่อสังคม โดยเฉพาะกับ แรงงานและสิทธิของมนุษย์: […]

CBAM คืออะไร? สิ่งที่ผู้ส่งออกไทยควรรู้ [อัพเดต 2025]

ทำความรู้จักกับ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) หรือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน สหภาพยุโรป (EU) ถือเป็นผู้นำในระดับโลกในด้านการจัดการกับ Climate Change โดยได้ตั้งเป้าหมายการเข้าสู่ Net Zero Emission ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) ดังนั้น การกำหนดมาตรการ CBAM ขึ้น ถือเป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วมากขึ้น “ CBAM ” ย่อมาจาก “Carbon Border Adjustment Mechanism” หรือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน เป็นมาตรการที่สหภาพยุโรป (EU) กำหนดขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือนการเก็บภาษีสินค้านำเข้าตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  มาตรการ CBAM มีเพื่อมุ่งสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแก่ประเทศคู่ค้านอกสหภาพยุโรป  จึงเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้มั่นใจว่าสินค้าที่นำเข้ามาในสหภาพยุโรปได้คิดต้นทุนในการปล่อยคาร์บอนเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องซื้อใบรับรอง CBAM (CBAM Certificate) ตามปริมาณการนำเข้าและปริมาณการปล่อยคาร์บอนของสินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตในสหภาพยุโรป โดย FDI มีความเห็นว่า มาตรการนี้จะช่วยผลักดันเร่งรัด ให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน […]

GHG Protocol: Greenhouse Gas Accounting and Reporting Standard for Organizational Sustainability

GHG Protocol การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก มาตรฐานสู่ความยั่งยืนขององค์กร “ ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายว่า ภายในปี 2030 จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 30-40 จากการดำเนินการตามปกติ สู่การเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065” จากจุดเริ่มต้นจากการตื่นตัวในการสร้างสมดุลให้ชั้นบรรยากาศของโลกของนานาประเทศผ่านพิธีสารโตเกียว (Kyoto Protocol) ในปี 1997 สู่แผนเป้าหมายของไทยที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้องค์กรต่างต้องปรับแผนการดำเนินงาน ตั้งเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability)  ซึ่งต้องดำเนินการลดหรือชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานทั้งทางตรงและทางอ้อม การจะลดการปล่อยได้นั้น องค์กรต้องทำบัญชีคาร์บอน (Carbon Accounting)  ซึ่งมีขั้นตอน ขอบเขตในการจัดการทั้งการจัดเก็บข้อมูลและการคำนวณ การกำหนดขอบเขตของการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope of GHGs Emissions) ถึงจะกำหนดมาตรการการลดหรือชดเชยคาร์บอนได้ ต้องสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ มีความโปร่งใส ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปวิเคราะห์ในการวางแผนงาน บริหารจัดการในการดำเนินกิจการ ซึ่งต้องมีการรายงาน และตรวจสอบรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรอย่างสม่ำเสมออีกด้วย  GHG Protocol คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ? GHG Protocol […]

What is ETS? How is it Related to Greenhouse Gases?

ทำความรู้จักกับ ETS คืออะไร ?  ในปัจจุบัน กระบวนการผลิตในทุกอุตสาหกรรม ผลกระทบที่ตามมานั่นก็คือ เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน (Climate Change) ในบทความนี้จะพาทุกท่านทำความรู้จักกับ ETS โดยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ การสร้างกลไกราคาให้กับสิ่งที่ไม่มีราคาอย่างก๊าซเรือนกระจกหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Pricing) ก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่ง ที่ช่วยบังคับผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต้องรับผิดชอบต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา เมื่อต้นทุนสูงขึ้น ก็อาจส่งผลให้ตัดสินใจปรับลดปริมาณการผลิตลง​ กลไกราคานี้ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลายเป็นสิ่งที่มีต้นทุนต้องจ่าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ  1.ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax)  เป็นไปตามหลักการผู้ปล่อยมลพิษเป็นผู้จ่าย (polluter pays principle) กำหนดให้ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องจ่ายค่าปล่อย โดยรัฐบาลสามารถกำหนดเป็นอัตราภาษีต่อปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เกิดขึ้น 2. ETS (Emission Trading Scheme) ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติม เราจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจในหัวข้อถัดไป   ความหมายของ ETS  ETS ย่อมาจาก Emission Trading Scheme หรือ ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ภายใต้กลไกตลาดคาร์บอน โดยภาครัฐเป็นผู้กำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมขององค์กรที่ถูกควบคุม […]

คู่มือ! การขึ้นทะเบียน โครงการคาร์บอนเครดิต อัพเดต 2025

ในยุคที่ปัญหาภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญของทุกภาคส่วนทั่วโลก หนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ “คาร์บอนเครดิต” ซึ่งเป็นหลักประกันที่แสดงถึงปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากโครงการต่างๆ การขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิตจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้โครงการเหล่านั้นได้รับการยอมรับในระดับสากลและสามารถนำคาร์บอนเครดิตไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม มาตรฐานที่สำคัญในการขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิต มาตรฐานสากล: CDM (Clean Development Mechanism): กลไกที่กำหนดขึ้นภายใต้พิธีสารเกียวโต เพื่อให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถลงทุนในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา และได้รับคาร์บอนเครดิตมาชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ VCS (Verified Carbon Standard): มาตรฐานภาคเอกชนที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคสมัครใจ Gold Standard: มาตรฐานที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมนอกเหนือจากการลดก๊าซเรือนกระจก มาตรฐานในประเทศไทย: T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program): โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย ดำเนินการโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือองค์การอบก. เหตุผลที่ต้องขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิต การรับรองความน่าเชื่อถือ: การขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิตเป็นการยืนยันว่าโครงการนั้นได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ ทำให้โครงการได้รับความน่าเชื่อถือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้บริโภค การสร้างความโปร่งใส: กระบวนการขึ้นทะเบียนจะต้องมีการตรวจสอบและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด ทำให้สาธารณชนสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและความสำเร็จของโครงการได้ การสร้างตลาดคาร์บอนเครดิต: การมีโครงการคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจำนวนมากจะช่วยสร้างตลาดคาร์บอนเครดิตที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่เป็นธรรมและโปร่งใส การดึงดูดนักลงทุน: โครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตจะมีโอกาสดึงดูดนักลงทุนที่สนใจในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การสร้างแรงจูงใจในการลดก๊าซเรือนกระจก: การขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนและชุมชนต่างๆ พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน: การมีส่วนร่วมในโครงการคาร์บอนเครดิตเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนขององค์กรและประเทศชาติ […]