BCG

脱炭素経営へ!
ファーストステップ ー 二酸化炭素排出量を知る

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คือ ตัวบ่งชี้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือองค์กร เช่น การใช้ไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การคมนาคมขนส่ง กระบวนการในภาคอุตสาหกรรมหรือกสิกรรม เป็นต้น เปรียบเสมือนรอยเท้าคาร์บอนที่เราทิ้งไว้บนโลก คำนวณออกมาเป็นหน่วย ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ทำไม คาร์บอนฟุตพริ้นท์ จึงสำคัญ? ก๊าซเรือนกระจก เป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ การวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้เราเข้าใจปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ คาร์บอนฟุตพริ้นท์มีความสำคัญทั้งต่อตัวบุคคล องค์กร และโลกของเรา ดังนี้ 1. ช่วยให้เข้าใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คาร์บอนฟุตพริ้นท์เปรียบเสมือนเครื่องมือวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ของเรา ช่วยให้เราตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2. กระตุ้นให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อทราบปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์แล้ว เราสามารถหาวิธีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงาน เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนโครงการลดคาร์บอนเครดิต 3. ส่งเสริมความยั่งยืน การลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ช่วยลดภาวะโลกร้อน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ 4. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ปัจจุบัน ผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญกับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม องค์กรที่สามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ดึงดูดลูกค้า และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ มีกี่ประเภท? คาร์บอนฟุตพริ้นท์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้ 1. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Organizational Carbon Footprint) หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย การขนส่ง การใช้น้ำ การใช้กระดาษ ฯลฯ วัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) แบ่งเป็น 3 ประเภท (Scope) ดังนี้ Scope 1 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากแหล่งกำเนิดภายในองค์กร เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงในรถยนต์ของบริษัท การเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงาน การปล่อยก๊าซมีเทนจากบ่อบำบัดน้ำเสีย Scope 2 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานไฟฟ้า ความร้อน ไอเย็น ที่ซื้อมาจากภายนอก Scope 3 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เช่น การขนส่งสินค้า การเดินทางไปติดต่อธุรกิจ […]

FDI 環境セミナーレポート【動画版】 「Turning Carbon Tax Management into Profit」

วิดีโอไฮท์ไลท์ภาพบรรยากาศงานสัมมนา “การบริหารจัดการ ภาษีคาร์บอน ให้เป็นผลกำไร” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย งานสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการ ได้เห็นความสำคัญของการเตรียมพร้อมและรับมือในการวางแผน “ภาษีคาร์บอน” ไฮท์ไลท์สำคัญจากวิทยากร ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ : ภาคอุตสากรรมชจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันไม่ว่าจะเป็นการรับทราบข้อมูลในเรื่องข้องการบริการจัดการคาร์บอนที่ภาครัฐกำลังจะออกข้องกำหนดมา หากเราสามารถบริหารจัดการภาษีคาร์บอนได้ต้นทุนในการผลิตสินค้าของภาคอุตสาหกรรมไปจะสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ คุณพวงพันธ์ ศรีทอง : คาร์บอนฟรุตปริ้นท์ถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับโลก หัวใจในการทำคาร์บอนฟรุตปริ้นท์ก็คือ ทำแล้วจะต้องมีการลดลงของคาร์บอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวไปยังเป้าหมายของประเทศที่ได้กำหนดไว้ในปรชี 2065 อย่งไรก็ตามอยากฝากทุกท่านเรื่องของคาร์บอนฟุตปริ้นท์ไว้ด้วย ดร.วันวิศา ฐานังขะโน : อยากเชิญชวนให้ภาคอุตสาหกรรม ร่วมกันจัดทำและผลักดันเรื่องภาษีคาร์บอน เพื่อที่จะได้ส่งออกและขยายฐานลูกค้าไปยังประเทศต่างๆ ให้ตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม ดร. ชานนท์ วินิจชีวิต : อยากเชิญชวนผู้ประกอบการทุกท่านให้ศึกษาการคำนวนคาร์บอนเครดิตและสิทธิประโยชน์ต่างๆที่ผู้ประกอบการจะได้รับ และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาความยั่งยืน คุณ ปฤณวัชร ปานสิงห์ : คาร์บอนเครดิต และ คาร์บอนฟรุตปริ้นท์นั้นมีผลกระทบกับทุกคนในแง่การค้าขายและธุรกิจ ในมุมมองของ  Mitsubishi เทคโนโลยีถือเป็นหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจมีความยั่งยืนได้ คุณภัทร ภัทรประสิทธิ : ในการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคนมีการปล่อนคาร์บอนออกมาไม่มากก็น้อย ดังนั้นหากจัดการบริหารหารคาร์บอนให้ดีนั้นสามารถสร้างรายได้กลับเขามาพัฒนาองค์กรได้ คุณ พรพุฒิ สุริยะมงคล : ภาษีคาร์บอนจะเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจในอนาคต ในมุมมองของ Kbank การทำคาร์บอนเครดิตควรที่จะต้องมีแผนรับมือตั้งแต่เนิ่นๆ ต้องวางแผนระยะยาวและเพื่อหาโซลูชั่นในการลดผลกระทบของธุรกิจในมากที่สุด คุณ นันทพัชร ณ สงขลา : FDI Group ที่ปรึกษาธุรกิจอย่างครบวงจรพร้อมดูแลตั้งแต่การจดจัดตั้งธุรกิจ จนถึง การประเมินคาร์บฟรุตปริ้นท์ เราดูแลครบทุกด้านและพร้อมสนับสนุนธุรกิจสู่ความยั่งยืน คุณพัชราภรณ์ เวชวิทยาขลัง : ในมุมมองของ FDI Group เราเห็นว่าการเติบโตทางธุรกิจสามารถทำควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ในปีนี้หลายๆธุรกิจเริ่มหันมาสนใจกับความยั่งยืนเป็นพิเศษ ที่ช่วยให้มีแนวโน้มในการดึงดูดั้งลูกค้าและนักลงทุนได้ด้วยค่ะ FDI Group ที่เป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจมาช่วยดูแลลูกค้าในการเป็นที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ครอบในทุกมิติของธุรกิจมากขึ้น โดนบริการของเราไม่ได้จบในเรื่องให้คำปรึกษาแต่ยังให้คำแนะนำต่อยอดการขึ้นทะเบียนโครงการและสิทธิประโยชน์ของธุรกิจของท่านด้วยค่ะ ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาต่างแสดงความคิดเห็นว่า “งานสัมมนาครั้งนี้ให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก ช่วยให้เข้าใจกลไกภาษีคาร์บอน และแนวทางการบริหารจัดการเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ” “วิทยากรมีความรู้และประสบการณ์จริง ทำให้เนื้อหาน่าสนใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้” “งานสัมมนาครั้งนี้ เป็นเวทีที่ดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีคาร์บอน” งานสัมมนาครั้งนี้ได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการอย่างดีเยี่ยม สะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวและให้ความสำคัญกับเรื่อง ภาษีคาร์บอน ทาง กลุ่มบริษัท FDI ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ และมุ่งมั่นที่จะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ พร้อมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวและดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน […]

”環境コンサルタント”とは?
~サステナブル経営を目指して~

ในยุคปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนไม่ใช่แค่เทรนด์ แต่เป็นสิ่งจำเป็น ธุรกิจต่างๆ ต่างต้องเผชิญกับแรงกดดันจากลูกค้า พนักงาน และนักลงทุน ให้ดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การจ้าง ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ที่เชี่ยวชาญเป็นการช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ค้นหาวิธีลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยประหยัดเงินให้กับองค์กรของคุณได้ 1. การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม จะประเมินกิจกรรมของธุรกิจของคุณและระบุถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ข้อมูลส่วนนี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกวิธีดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ที่ปรึกษาสามารถจะประเมินการใช้น้ำ พลังงาน วัตถุดิบ การปล่อยมลพิษ และการจัดการขยะ วิเคราะห์โครงการที่จะดำเนินการ ว่ามีกิจกรรมใดบ้างที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในระยะสั้นและระยะยาว คาดการณ์ความเสี่ยงและภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น 2. พัฒนากลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมจะช่วยคุณพัฒนากลยุทธ์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยกลยุทธ์ควรครอบคลุมเป้าหมายที่ชัดเจน แผนปฏิบัติงาน และวิธีการวัดผล เช่น การกำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ลดการใช้น้ำ 10% ภายใน 1 ปี การพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การลงทุนในเทคโนโลยีสีเขียว การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงาน ติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อใช้น้ำน้อยลง รีไซเคิลวัสดุเหลือใช้ 3. นำกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในองค์กร กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมมีความซับซ้อนและค่อนข้างมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้คุณทราบถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ และแนะนำวิธีการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างถูกต้อง เช่น ผู้บริหารสูงสุดต้องกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมในการป้องกันมลพิษ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนที่ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร และสื่อสารให้พนักงานทุกคนทราบ องค์กรควรพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System : EMS) ที่เป็นระบบและกำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม วางแผน ติดตามผล และวัดผลการดำเนินงาน พนักงานทุกคนควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และวิธีปฏิบัติงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม องค์กรควรระบุตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPIs) ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อม 4. แนะนำเทคโนโลยีสีเขียวเพื่อพัฒนองค์กร ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม สามารถแนะนำเทคโนโลยีสีเขียวที่สามารถช่วยคุณลดการใช้วัตถุดิบ น้ำ พลังงาน และลดการปล่อยมลพิษ การลดการใช้พลังงานลัหันมาใช้พลังงานสะอาด เช่น แผงโซลาร์เซลล์ กังหันลม พลังงานน้ำ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการขนส่งที่ยั่งยืน เช่น รถยนต์ไฟฟ้า จักรยาน ระบบขนส่งสาธารณะ อาคารสีเขียว เช่น วัสดุก่อสร้างรีไซเคิล ระบบประหยัดพลังงาน การออกแบบที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการเกษตร เช่น การเกษตรอัจฉริยะ ระบบน้ำหยด เทคโนโลยีชีวภาพ การลดปริมาณขยะ เช่น การคัดแยกขยะ […]

FDI 環境セミナーレポート
「Turning Carbon Tax Management into Profit」

เมื่อวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา กลุ่มบริษัท FDI  ผู้นำด้านการให้คำปรึกษาด้านธุรกิจอย่างครบวงจร ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จัดงานสัมมนา “การบริหารจัดการ ภาษีคาร์บอน ให้เป็นผลกำไร” : Turning Carbon Tax Management into Profit ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย คุณพัชราภรณ์ เวชวิทยาขลัง ประธานกลุ่มบริษัท เอฟ ดี ไอ (FDI)  กล่าวเปิดงานว่า “จากปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) มาตรการที่เกี่ยวกับการรักษาสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเริ่มถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพและความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตในหลายๆประเทศ ด้วยเหตุนี้ ทาง กลุ่มบริษัท FDI ในฐานะที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจ ผู้มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษานักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติมากว่า 28 ปี จึงได้จัดงานสัมมนาครั้งนี้เพื่อตระหนักถึงความสำคัญในการให้ความรู้ แนวทาง และข้อคิดเห็นใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ได้ใช้ในการประกอบการตัดสินใจและเตรียมตัวรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น” ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และรองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวเปิดงาน “ทางสวทช. มีสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) ที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆของทางภาครัฐ อย่างองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกเอง เราจึงเป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมส่วนนี้เป็นอย่างมาก และ มีการสนับสนุนส่งเสริมงานวิจัยด้าน BCG หรือ Bio-Circular-Economy มาโดยตลอด” ภายในงานมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชน อาทิ คุณ ปฐม ชัยพฤกษทล ผู้จัดการอาวุโส สำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริการก๊าซเรือนกระจก (TGO) คุณ พวงพันธ์ ศรีทอง ผู้จัดการ สำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ดร.วันวิศา ฐานังขะโน วิศวกรอาวุโส สถาบันเทคโนโลยี และ สารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) ดร. ชานนท์ วินิจชีวิต ตัวแทนจาก กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณภัทร ภัทรประสิทธิ นักวิชาการภาษีชำนาญการพิเศษ กรมสรรพสามิต คุณ ปฤณวัชร ปานสิงห์ ผู้จัดการอาวุธโสฝ่ายการตลอด […]

FDIセミナー案内 「Turning Carbon Tax Management into Profit」

📣 เชิญร่วมงานสัมมนา “การบริหารจัดการ ภาษีคาร์บอน ให้เป็นผลกำไร“ : Turning Carbon Tax Management into Profit FDI Group ร่วมกับ สวทช. เพื่อให้ผู้ประกอบการ ได้เห็นความสำคัญของการเตรียมพร้อมและรับมือในการวางแผน ” ภาษีคาร์บอน “ วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567 08.30 – 17.00 น. ห้องประชุม Auditorium ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. Ticket Price : 1,800 บาท (ราคานี้รวมอาหารและเครื่องดื่มภายในงาน) พิเศษ! ซื้อ 1 แถม 1 **สำหรับสมาชิกของ NSTDA, TSP , FTI , FDI และเครือข่าย** 🔔 ร่วมฟังบรรยายพิเศษกับผู้เชี่ยวชาญ 🔔 อุปสรรคการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และความท้าทายของผู้ประกอบการ Green Technology and Trend สิทธิประโยชน์ในการจัดการก๊าซเรือนกระจกและแนวทางการวางแผนภาษีที่เกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจก การวางแผน ภาษีคาร์บอน ให้เหมาะสมกับธุรกิจอุตสาหกรรมนำเข้าและส่งออก ข้อกำหนด CBAM และข้อกำหนดอื่นๆในระแวกเพื่อนบ้าน เสวนา 1 Case Study : Success story จากการปรับปรุงการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในไทย เสวนา 2 Case Study : Technology Success คาร์บอนฟุตพริ้นท์ในไทย กิจกรรม Special Consulting ( ฟรี สำหรับผู้ลงทะเบียนล่วงหน้า 10 ท่านแรก ! )ร่วมยกระดับและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการคาร์บอนให้เกิดผลกำไรที่ยั่งยืน พร้อมโอกาสในการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ฟรี! ภายในงาน “การบริหารจัดการ ภาษีคาร์บอน ให้เป็นผลกำไร“ : Turning Carbon Tax Management into Profit!.จำนวนที่นั่งจำกัด! สำรองที่นั่งได้ที่ https://forms.gle/K8oDGJYjUgzDBAc79 สามารถดูรายละเอียดของงานเพิ่มเติมได้ที่ […]

炭素クレジット(Carbon Credit)とは?

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บไว้ ไม่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการและได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่ให้การรับรอง มีหน่วยเป็น “ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq)” สำหรับในประเทศไทย คาร์บอนเครดิตจะได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการเกี่ยวกับการทำคาร์บอนเครดิต จึงเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการลดหรือกักเก็บปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยโครงการเหล่านี้สามารถดำเนินการได้หลากหลายรูปแบบ เช่น โครงการปลูกต้นไม้ โครงการพลังงานหมุนเวียน โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เป็นต้น ประเภทของโครงการเกี่ยวกับการทำคาร์บอนเครดิต โครงการลดก๊าซเรือนกระจก (GHG Reduction Project) เป็นโครงการที่ดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงจากระดับเดิม เช่น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด โครงการลดการใช้สารเคมี โครงการจัดการขยะมูลฝอย โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชน โครงการใช้วัสดุรีไซเคิล การนำก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์ การจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรม การลด ดูดซับ และการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และการเกษตร โครงการดูดซับก๊าซเรือนกระจก (Carbon Sequestration Project) เป็นโครงการที่ดำเนินการเพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากชั้นบรรยากาศ เช่น โครงการปลูกป่า โครงการฟื้นฟูป่า โครงการปรับปรุงดิน โครงการปลูกพืชคลุมดิน ประโยชน์ของการทำคาร์บอนเครดิต การจัดทำคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย จะต้องดำเนินการผ่านโครงการ Thailand Voluntary Emissions Reduction (T-VER) ซึ่งผู้ที่ต้องการจัดทำคาร์บอนเครดิตจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนโครงการต่อ อบก. โดยระบุรายละเอียดของโครงการ เช่น ประเภทของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ พื้นที่ดำเนินการ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดหรือกักเก็บได้ เป็นต้น ดำเนินการตามแผนงานของโครงการและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ยื่นคำขอรับรองคาร์บอนเครดิตต่อ อบก. โดยแนบรายงานผลการดำเนินงานและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง อบก. พิจารณารับรองคาร์บอนเครดิตและออกใบรับรองคาร์บอนเครดิต ประโยชน์ของการทำคาร์บอนเครดิต การทำคาร์บอนเครดิตมีประโยชน์ทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและต่อเศรษฐกิจ โดยประโยชน์ของการทำคาร์บอนเครดิต ดังนี้ ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม การทำคาร์บอนเครดิตช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ การทำคาร์บอนเครดิตสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการและชุมชน จากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตให้กับองค์กรหรือบุคคลที่ต้องการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตัวอย่างโครงการเกี่ยวกับการทำคาร์บอนเครดิต โครงการ BAAC Carbon Credit โครงการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ภายใต้แนวคิด “สร้างรายได้ให้ชุมชน คืนสู่ธรรมชาติ” โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้ชุมชนธนาคารต้นไม้สามารถขายคาร์บอนเครดิตเพื่อนำรายได้มาพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปลูกต้นไม้ต่อไป โครงการปลูกป่าล้านไร่ โครงการของภาครัฐและภาคเอกชน ภายใต้แนวคิด “ปลูกป่า ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม” โดยมุ่งเน้นการปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ โครงการของภาครัฐและเอกชน ภายใต้แนวคิด “พลังงานสะอาด ทางเลือกใหม่” โดยมุ่งเน้นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนผิวน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า แนวโน้มของโครงการเกี่ยวกับการทำคาร์บอนเครดิต โครงการเกี่ยวกับการทำคาร์บอนเครดิตมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในอนาคต […]

カーボンクレジットとは何ですか?

คาร์บอนเครดิต หรือ Carbon Credit คือ หน่วยวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงหรือกักเก็บได้ 1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) คาร์บอนเครดิตเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ใช้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยอนุญาตให้บุคคลหรือองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าที่กำหนดไว้ Carbon Credit คือสิ่งที่สามารถนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกันในตลาดคาร์บอน (Carbon Market) โดยผู้ที่มีความต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถซื้อคาร์บอนเครดิตจากผู้ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เปรียบเสมือนการซื้อสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพิ่มขึ้น ประเภทของคาร์บอนเครดิต คาร์บอนเครดิตสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ คาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจก (Emission Reduction Projects: ERPs) เป็นโครงการที่ออกแบบมาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น โครงการปลูกป่า โครงการผลิตพลังงานหมุนเวียน โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เป็นต้น คาร์บอนเครดิตจากโครงการเครดิตคาร์บอน (Carbon Credits Program) เป็นโครงการที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมให้บุคคลหรือองค์กรลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคอุตสาหกรรม โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคครัวเรือน เป็นต้น ประโยชน์ของคาร์บอนเครดิต สำหรับประโยชน์ที่ส่งผลต่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขายของ Carbon Credit คือ ประโยชน์สำหรับผู้ซื้อ ช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทหรือองค์กร ช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกปรับค่าธรรมเนียมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มภาพลักษณ์ของบริษัทหรือองค์กรในด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ประโยชน์สำหรับผู้ขาย เป็นแหล่งรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต ช่วยให้บริษัทหรือองค์กรมีแรงจูงใจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ตลาดคาร์บอนเครดิต (Carbon Market) ตลาด Carbon Credit คือ ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต โดยผู้ซื้อและขายคาร์บอนเครดิตสามารถพบปะกันผ่านตลาดคาร์บอนเครดิตหรือผ่านตัวแทนซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งตลาดคาร์บอน แนวโน้มของคาร์บอนเครดิต คาร์บอนเครดิตมีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยคาดว่าตลาดคาร์บอนเครดิตจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต ปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของตลาดคาร์บอนเครดิต ได้แก่ ความมุ่งมั่นของภาครัฐและเอกชนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในทั่วโลกมีประเทศต่างๆ ประกาศเป้าหมายในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2050 หรือเร็วกว่านั้น การพัฒนาเทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งช่วยให้ภาครัฐและเอกชนสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีคาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นในตลาด การยอมรับคาร์บอนเครดิตจากภาคธุรกิจและผู้บริโภค ภาคธุรกิจและผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น และมีความตื่นตัวในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะส่งผลให้มีความต้องการคาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้น จากข้อมูลของ McKinsey & Company คาดการณ์ว่าความต้องการคาร์บอนเครดิตทั่วโลกจะอยู่ที่ 3,000-5,000 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งหมายความว่าตลาดคาร์บอนเครดิตจะมีมูลค่ามหาศาล สำหรับแนวโน้มของตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย คาดว่าจะเติบโตตามแนวโน้มของตลาดโลกเช่นกัน โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคาดว่าจะมีความต้องการคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยอยู่ที่ 182-197 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2030 Carbon Credit คือ เครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนเครดิตมีประโยชน์ต่อทั้งผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผู้ซื้อคาร์บอนเครดิต ตลาดคาร์บอนเครดิตมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส […]

二酸化炭素排出量とは何ですか?

ในโลกปัจจุบันที่มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม แนวคิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ Carbon Footprint ในฐานะพลเมืองโลกการทำความเข้าใจในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถือเป็นวิธีหนึ่งในการช่วยเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์โลกสำหรับคนรุ่นต่อไป ซึ่งในบทความนี้ ทาง FDI A&A จะเจาะลึกแนวคิดเกี่ยวกับ Carbon Footprint และวิธีง่ายๆที่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Footprint คืออะไร? Carbon Footprint คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เช่น ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ (ตามข้อกำหนด ISO 14040) ที่ถูกปล่อยออกมาโดยบุคคล องค์กร หรือผลิตภัณฑ์ทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ประเภทของ Carbon Footprint มีอะไรบ้าง ? Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์ คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product life cycle) กล่าวคือตั้งแต่เป็นวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน จนไปถึงการทำลายเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะเครื่องหมาย Carbon Footprint แสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ Carbon Footprint ของบริการ คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาในการให้บริการนั้นๆ (ผลิตภัณฑ์ + องค์กร) Carbon Footprint ขององค์กร คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร ทำไมองค์กรต้องให้ความสำคัญกับ Carbon Footprint การใช้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสามารถนำไปสู่การประหยัดต้นทุนสำหรับองค์กรได้ การดำเนินงานอย่างประหยัดพลังงาน การลดของเสีย และการขนส่งที่ยั่งยืนอาจส่งผลให้ค่าสาธารณูปโภคลดลง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง และการจัดการทรัพยากรที่ดีขึ้น นอกจากนี้ องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มักจะได้รับชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น ผู้บริโภคในปัจจุบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนธุรกิจที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้น ด้วยการแสดงความมุ่งมั่นต่อความยั่งยืน องค์กรต่างๆ สามารถดึงดูดลูกค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและมีความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด สุดท้ายนี้ รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลกำลังบังคับใช้กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดยิ่งขึ้น และกำหนดบทลงโทษสำหรับการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่มากเกินไป การจัดการกับ Carbon Footprint ในเชิงรุกช่วยให้องค์กรต่างๆ มั่นใจได้ว่าปฏิบัติตามกฎระเบียบและหลีกเลี่ยงผลกระทบทางกฎหมายและทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น การลดปริมาณ Carbon Footprint ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน : เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ใช้ไฟ LED และดูแลให้มีฉนวนที่เหมาะสมในบ้าน ลดการใช้พลังงานโดยปิดไฟและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อไม่ได้ใช้งาน การเดินทาง : เลือกรูปแบบการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม […]

タイ政府、2050年のカーボンニュートラル達成を目標に、温室効果ガス削減を強制する法律の制定を目指す。

“ นายกฯ รัฐบาลเล็งออกกฎหมายลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคบังคับ ชูเป้าปี 50 เป็นกลางทางคาร์บอน ในการประชุมผู้นำเวที UNGA 7 ” วันนี้ (20 ก.ย.2566) เวลา 10.59 น. (เวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ ) ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยการดำเนินการสภาพภูมิอากาศ (Climate Ambition Summit) ในโอกาสเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญครั้งที่ 78 (UNGA78) โดยนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ถือเป็นปัญหาเร่งด่วนและร้ายแรงในปัจจุบัน ซึ่งช่วงเวลาผ่านมาได้มีโอกาสพบปะกับเกษตรกรของประเทศไทย และรับทราบโดยตรงถึงผลกระทบร้ายแรงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของเกษตรกร จึงเป็นสิ่งที่เราต้องลงมือแก้ไขปัญหาทันที ไทยขอชื่นชมวาระเร่งด่วนของเลขาธิการสหประชาชาติที่ได้สนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero) ให้ใกล้เคียงกับปี ค.ศ. 2050 มากที่สุด พร้อมนำเสนอแผนการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน รวมถึงการเลิกใช้ถ่านหินภายในปี ค.ศ. 2040 และเตรียมการสนับสนุนการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดขึ้น ฉบับปรับปรุง (Nationally Determined Contributions : NDCs) สำหรับปี ค.ศ. 2025 ซึ่งจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ทั้งหมด โดยเราได้เพิ่มเป้าหมายการสนับสนุนการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดขึ้น (NDC) จาก 20% เป็น 40% ภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งมีการดำเนินการที่มีผลเป็นรูปธรรม สะท้อนได้จากยุทธศาสตร์การพัฒนาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในระยะยาว โดยประเทศไทยได้ทำงานอย่างหนักเพื่อจะบรรลุภารกิจที่สำคัญยิ่งนี้ รัฐบาลใช้เป้าหมายเหล่านี้ในการร่างแผนพลังงานแห่งชาติขึ้นใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การเปลี่ยนแปลงในภาคการขนส่ง การเพิ่มการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ และการเตรียมการที่จะยุติการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ไทยได้ดำเนินโครงการนำร่องโดยใช้แนวความคิดจากเกษตรกรรมยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประสบความสำเร็จพร้อมต่อยอดโครงการ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและช่วยเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศอีกด้วย รัฐบาลกำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff) สนับสนุนการใช้โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) และการวัดไฟฟ้าแบบสุทธิ (net-metering) เพื่อจูงใจการผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งประเทศไทยตั้งเป้าที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ครอบคลุม 55% ของพื้นที่ทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2037 พร้อมกันนี้ ประเทศไทยยังได้ส่งเสริมกลไกการเงินสีเขียว (Green Finance) อย่างแข็งขันผ่านการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันสามารถระดมเงินได้ในจำนวน 12.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ […]

What is Bio-Circular-Green Economy or BCG?

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกได้เห็นความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียทรัพยากร และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้ แนวคิดของเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green หรือ BCG จึงได้รับความสนใจ โดยนำเสนอแนวทางใหม่ในการพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐกิจของ BCG คือ มีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจเชิงเส้นแบบดั้งเดิมให้เป็นระบบที่ยั่งยืนและสร้างใหม่ได้มากขึ้น บทความนี้สำรวจหลักการพื้นฐานและประโยชน์ของเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green และศักยภาพของเศรษฐกิจในการกำหนดอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น คำจำกัดความของเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green เศรษฐกิจ Bio-Circular-Green หรือ BCG คือ ระบบเศรษฐกิจที่เน้นการบูรณาการหลักการทางเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว เสาหลักเหล่านี้แต่ละเสามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน ลดของเสีย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เรามาเริ่มเจาะลึกแต่ละองค์ประกอบกัน Bio : มุมมองทางชีวภาพของเศรษฐกิจ BCG คือการมุ่งเน้นไปที่ “ผลิตให้คุ้มค่าที่สุด” การควบคุมทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน เช่น ชีวมวล เชื้อเพลิงชีวภาพ และวัสดุจากชีวภาพ แทนที่จะพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีจำกัดอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่แหล่งพลังงานที่สะอาดและยั่งยืนมากขึ้น Circular : มุมมองแบบหมุนเวียนของเศรษฐกิจ BCG คือมีเป้าหมายเพื่อ “การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด” สร้างระบบแบบวงปิด ลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร สนับสนุนการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ และส่วนประกอบกลับมาใช้ใหม่ การรีไซเคิล และการนำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยการส่งเสริมความเป็นหมุนเวียน เศรษฐกิจของ BCG ลดการพึ่งพาทรัพยากรใหม่ ลดมลพิษ และเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากร Green : มุมมองสีเขียวของเศรษฐกิจ BCG คือการมุ่งเน้นไปที่การ “กระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด (Zero-Waste)” ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน โดยครอบคลุมถึงความคิดริเริ่มต่างๆ เช่น การผลิตพลังงานหมุนเวียน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เกษตรกรรมที่ยั่งยืน กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เสาสีเขียวมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แน่ใจว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นพร้อมกับรักษาสมดุลของระบบนิเวศและการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ประโยชน์ของเศรษฐกิจแบบ Bio-Circular-Green ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจของ BCG ให้ความสำคัญกับการปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดการพึ่งพาทรัพยากรที่ไม่หมุนเวียนและนำแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้ จะช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดมลภาวะ และปกป้องระบบนิเวศ แนวทางนี้ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในระยะยาวของทั้งสิ่งแวดล้อมและคนรุ่นต่อๆ ไป การเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงาน เศรษฐกิจของ BCG มอบโอกาสที่สำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงาน การเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน เกษตรกรรมที่ยั่งยืน และหลักปฏิบัติแบบหมุนเวียนสามารถจุดประกายนวัตกรรม ขับเคลื่อนการลงทุน และสร้างโอกาสการจ้างงานใหม่ในอุตสาหกรรมเกิดใหม่ได้ ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ด้วยการใช้หลักการหมุนเวียน เศรษฐกิจของ BCG มีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและลดของเสีย แนวทางนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดความเครียดของทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากร […]

1 2 3 4 5