จากภาวะโลกร้อน สู่ภาวะโลกเดือด ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นวิกฤตของคนทั้งโลกต้องจับตา!
ภาวะโลกเดือดไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความร้อน” แต่เป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับปัจเจกและระดับโลก ความรุนแรงนี้ทำให้การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้อย่างรวดเร็วที่สุด ความรุนแรงจากภาวะโลกร้อนสู่ภาวะโลกเดือด ผลกระทบหนักต่อสิ่งมีชีวิตในหลากหลายมิติ “ภาวะโลกเดือด” เริ่มได้รับความสนใจเมื่อผู้นำหรือองค์กรระดับนานาชาติ เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN) และนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ ใช้คำนี้เพื่อสร้างจุดสนใจให้เห็นถึงความรุนแรงของวิกฤตภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้น และกระตุ้นให้ทุกคนเร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการใช้พลังงานหมุนเวียน คำนี้สะท้อนถึงความรุนแรงที่ไม่ใช่แค่ “ความร้อน” แต่ยังรวมถึงผลกระทบที่ครอบคลุมทุกด้านของชีวิตบนโลกใบนี้ หากไม่มีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ ความรุนแรงที่เห็นได้ชัด จากวิกฤตไฟป่าแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา ข่าวร้ายต้นปี 2025 (7 ม.ค. 2568) คร่าชีวิตมนุษย์และสัตว์ เสียหายทางเศรษฐกิจราว 1.73 ล้านล้านบาท ถือเป็นข่าวเศร้ารับต้นปีเลยทีเดียว กับสถานการณ์ไฟป่าในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา โดย BCC NEW ไทย ได้ให้ข้อมูลว่า มีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 ราย และต้องอพยพประชาชนกว่า 1.37 แสนคน ออกจากพื้นที่ ขณะที่ต้องระดมเจ้าหน้าที่ดับเพลิงมากกว่า 1,400 คน ท่ามกลางอุปสรรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นลมกระโชกแรง ความแห้งแล้งในพื้นที่ และขาดแคลนน้ำเพื่อนำมาช่วยดับเพลิง มีพื้นที่ที่เกิดไฟป่าอย่างน้อย 7 แห่ง สร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน พื้นที่เพราะปลูกอย่างมหาศาล ปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟป่าใหญ่ครั้งนี้เกิดจากอะไร ผลการวิจัยของรัฐบาลสหรัฐฯ ชี้ว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดไฟป่าครั้งนี้ กระแสลมที่พัดแรงและความแห้งแล้งเป็นสาเหตุหลักของไฟป่ากลางฤดูหนาว ทำให้ไม่สามารถควบคุมทิศทางของไฟได้ จนเกิดเหตุไม่คาดฝันที่คร่าชีวิตคน สัตว์พร้อมความเสียหายครั้งใหญ่นี้ ถอดบทเรียนอะไรคือสาเหตุที่แท้จริง ของวิกฤตที่ทวีความรุนแรงของภัยพิบัติธรรมชาติ !! ปัจจัยหลักอะไรบ้าง ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกเดือด สาเหตุที่ทำให้วิกฤตภาวะโลกเดือดรุนแรงขึ้น ? จากปัจจัยด้านพฤติกรรมของมนุษย์ 1. การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emissions) การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) และก๊าซมีเทน (CH₄) ในปริมาณมหาศาล การทำปศุสัตว์ขนาดใหญ่เป็นแหล่งสำคัญของก๊าซมีเทน การตัดไม้ทำลายป่า ลดความสามารถของธรรมชาติในการดูดซับ CO₂ กระบวนการผลิตที่ไม่มีคุณภาพ ไม่สามารถควบคุมและจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1.1 วัฒนธรรมการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน การบริโภคอาหารที่ไม่ยั่งยืนจากพฤติกรรมของมนุษย์ การบริโภคอาหารที่มาจากการผลิตที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การบริโภคเนื้อสัตว์จากฟาร์มที่มีการใช้ทรัพยากรในการผลิตสูง หรือการผลิตที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างสูง การสูญเสียและทิ้งอาหาร (food waste) ทั้งจากอุตสาหกรรมการผลิต และภาคครัวเรือน ซึ่งการทิ้งอาหารที่ยังสามารถบริโภคได้ หรือการบริโภคในปริมาณมากเกินไปโดยไม่คิดถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ การซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยและการบริโภคการใช้แล้วทิ้ง […]